ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความเป็นไทยและสังคมไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : การใช่ภาษาของคนไทย

    • อัปเดตล่าสุด 7 เม.ย. 50


         สมัยนี้นะคะ มีการติดต่อกันผ่านตัวหนังสือ ทำให้คนที่ติดต่อคนอื่นโดยวิธีนี้ ต้องพิมพ์ การพิมพ์และการเขียนให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่คนสมัยนี้กลับคิดว่าถ้าพิมพ์ถูกมันไม่แนว ไม่เท่ห์ จึงพิมพ์แบบผิดๆ ในกรณีที่พิมพ์ไม่ถูกบางคนก็มีเหตุผลนะคะ อย่างเช่น คำยากๆบางคำเขียนไม่ถูกก็พิมพ์แบบเป็นพยางค์ไป เช่น ทศวรรค บางคนเขียนไม่ถูกอาจจะเขียนไปว่า ทด-สะ-วัด หรือทดสะวัด อันนี้ก็ยังพอให้อภัย
    ส่วนอีกอย่างนึงก็คือเล่นแชตกันแล้วพิมพ์ให้เหมือนภาษาพูดเช่นคำว่า "คนหนึ่ง" ก็พิมพ์เป็น"คนนึง" หรือคำว่า "ได้ไหม" ก็พิมพ์เป็น"ได้ไหม๊/มั้ย" ประมานนี้ แต่ในความเป็นจริงคำเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนแบบภาษาพูดก็ได้ เพราะผู้อ่านก็คงจะเข้าในสำเนียงที่ผู้เขียนต้องการสื่ออยู่แล้ว แต่บางคำที่เป็นภาษาพูดและเขียนอยู่แล้ว อย่างเช่นคำว่า ให้ ได้ ไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนแบบผิดๆ 

            เราคิดว่าในอนาคตประเทศไทยคงต้องมีการเปลี่ยนภาษาเขียนใหม่
    ในพจนาณุกรมคงระบุใหม่

     คำว่า   ให้ จะกลายเป็น หั้ย / ห้าย / ไห้
     คำว่า    ใจ จะกลายเป็น จาย / จัย / ไจ

    และคำอื่นๆอีกมากมาย ที่คงจะเปลี่ยนไป ว่าไหมล่ะคะ ?

          ส่วนการพูดของคนไทยสมัยนี้นะคะ ต้องเป็นไทยคำอังกฤษคำ ก็อย่างที่ว่า ไม่งั้นไม่เท่ห์ไม่แนว เหตุผลแค่ว่าพูดแล้วจะแนว แต่ทำให้ภาษาไทย ที่พ่อขุนรามคำแหง สร้างมาเสื่อมไปเรื่อยๆ ถ้ายังพูดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ประเทศไทยคงจะเปลี่ยนภาษาราชการ เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาเด็กแนว และภาษาไทย ก็จะกลายเป็น ภาษาท้องถิ่น 
          ข้าพเจ้าคิดว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยพูดไทยคำอังกฤษเป็นส่วนมากเพราะ คำบางคำไม่มีคำแปลภาษาไทย จึงต้องทับศัพท์ แต่เด็กไทยเห็นว่าดูดีจึงพูดเกือบทุกคำเป็นภาษาอังกฤษ และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ต้องการฝึกภาษาอังกฤษจึงพูดภาษาอังกฤษไปด้วย แต่ติดเลยพูดไปตลอดโดยไม่รู้กาลเทศะ แบบเราเมื่อไม่นานมานี้แต่พอเราคิดได้ เราก็เลยพยายามเลิกการพูดแบบนั้น จนวันนี้แทบทุกคำพูดที่ข้าพเจ้าพูดออกไปล้วนแล้วแต่เป็นภาษาไทย เพราะข้าพเจ้าไม่อยากให้ประเทศไทยเสื่อมโซมไปมากกว่านี้ค่ะ 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×