คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ฟื้นฟูศิลปวิทยา
ฟื้นฟูศิลปวิทยา
คำว่า “ฟื้นฟูศิลปวิทยา” ในภาษาไทยหมายถึงคำว่า RENAISSANCE ในภาษาอังกฤษมีความหมายถึงยุคใหม่ในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกซึ่งเริ่มต้นตรงช่วงสุดท้ายของยุโรปยุคกลาง คำว่า RENAISSANCE เป็นภาษาฝรั่งเศสหมายถึง “การเกิดใหม่” หรืออาจมาจากคำว่า REVIVAL หมายถึง “การฟื้นฟู”
ยุคนี้เกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 16 มีการตื่นตัวของประชาชนชาวยุโรปในการรื้อฟื้นเอาความรู้ศิลปวิทยาการต่างๆที่เคยมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันมาประยุกต์ใช้กันใหม่ ทำให้ทัศนคติสติปัญญาได้รับการพัฒนาขึ้น และเกิดความเจริญรุ่งเรืองมาในยุโรปขึ้นอีกครั้งหลังจากผ่านพ้นจุดอับหรือยุคมืดของยุโรป อันจะนำไปสู่ช่วงยุโรปสมัยใหม่ในที่สุด
การฟื้นฟูศิลปวิทยาถือกำเนิดครั้งแรกที่ประเทศอิตาลี หรือคาบสมุทรอิตาลี ปัจจัยที่ทำให้อิตาลีเป็นจุดกำเนิดยุคศิลปวิทยามีดังต่อไปนี้ คือ
1. ลักษณะภูมิประเทศ อิตาลีเป็นศูนย์กลางของการค้าระหว่างตะวันตกและตะวันออก ดังนั้นนับว่าเป็นแหล่งแรกที่สำคัญสำหรับแลกเปลี่ยนแนวความคิดศิลปวิทยาการด้วย ทำให้ศิลปวิทยาได้รับพัฒนาในแหล่งนี้ก่อนแพร่ไปพัฒนาที่อื่นๆของยุโรป
2. ด้านเศรษฐกิจ บริเวณอิตาลีมีความมั่งคั่งมากกว่าดินแดนอื่นๆ เพราะมีชนชั้นพ่อค้าจำนวนมากและจำนวนผู้มั่งคั่งไม่น้อยที่ให้ความสนใจและสนับสนุนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
3. ปูมอดีตของอิตาลีที่เคยเป็นอาณาจักรโรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองและหลงเหลือซากโบราณสถานแห่งโรมัน เป็นแรงบันดาลคอยกระตุ้นรำลึกถึงความรุ่งเรืองในสมัยก่อนนั่นเอง
หลังจากอิตาลีมีความเจริญรุ่งเรืองแล้วจึงมีการสะพัดความรุ่งเรืองออกไปยังดินแดนอื่นๆ เช่นเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โปรตุเกส และสแกนดิเนเวียตามลำดับ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ต้องอยู่ในเส้นทางการค้าสำคัญด้วย
กระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยา
การฟื้นฟูศิลปวิทยาเริ่มต้นด้วยความสนใจ ตื่นตัวที่จะศึกษาภาษาโบราณต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะรื้อฟื้นความรู้ศิลปวิทยาเก่าๆขึ้นมา ภาษาโบราณดังกล่าวมีดังนี้คือ ภาษาละติน กรีก และฮิบรู บุคคลที่ให้ความสนใจในสิ่งเหล่านี้ยังล้วนแต่เป็นชาวอิตาเลียน และยังมีชาวต่างชาติอีกมากที่ให้ความสนใจ บุคคลเหล่านี้นับว่าเป็นนักมนุษยศาสตร์ เพราะสนใจศึกษาด้านภาษา ตรรกวิทยา และวิชาด้านมนุษยศาสตร์แขนงต่างๆ แต่ในสมัยนั้นมักจะหมายถึงผู้ที่สนใจศึกษาศิลปวิทยาสมัยคลาสสิก (กรีกและโรมัน) นอกจากกระตุ้นให้ชาวยุโรปหันมาสนใจในภาษาเก่าแก่แล้วยังกระตุ้นให้สนใจในภาษาถิ่นของตนเองอีกด้วย โดยแปล เรียบเรียง หรือเขียนเสนอผลงานเป็นภาษาท้องถิ่นของตนเองนั่นเอง
ภายหลังที่มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาขึ้นมาแล้วสิ่งแรกที่สำคัญและเป็นแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆก็คือ การเปลี่ยนแปลงความคิดของประชาชน โดยที่ประชาชนจะไม่งมงาย ปล่อยให้ศาสนจักรเข้าครอบคลุมความคิด จะมีความคิดเป็นของตัวเอง มีเหตุมีผล กล้าวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น ทำให้ค้นพบทฤษฏีต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
และต่อไปนี้ คือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาในแต่ละด้านต่างๆ
1. ด้านภาษา ประชาชนในยุโรปหันมาสนใจในภาษาถิ่นของตนเองมากขึ้น แทนการใช้ภาษาละตินเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียว ภาษาถิ่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างมีระบบเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอิตาเลียน เป็นต้น ขณะที่ภาษาละตินถูกลดบทบาทลง
2. ด้านวรรณกรรม จากที่เคยอิงอยู่แต่ศาสนา หรือเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า นักบุญ และความสำคัญของศาสนา มาเป็นลักษณะการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงออกของอารมณ์ สุนทรียรสมากขึ้น
3. ด้านศิลปกรรม จากเดิมมักเกี่ยวข้องกับศาสนา ทำให้ศิลปินไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของตัวเองได้ สมัยนี้จะมีการแสดงความคิดขิงตนเองมากขึ้น เป็นอิสระ ทำให้ผลงานออกมางดงาม สมจริงเป็นธรรมชาติ หรือแสดงลักษณะอารมณ์ของศิลปินผู้นั้นได้ โดยมีตัวอย่างจากผลงานศิลปกรรมของกรีกและโรมัน
4. ด้านวิทยาศาสตร์ มีนักค้นคิดทฤษฏีแปลกๆและผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมากมาย
5. ด้านดนตรีและนาฏกรรม แม้ว่ายังจะเกี่ยวพันกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เพราะมักจะประพันธ์เพื่อบรรเลงในโบสถ์กัน แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมและมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากศิลปินเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แล้วยังมีความไพเราะมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องดนตรีประเภทสายเช่น ไวโอลีน เปียโน และออร์แกน นาฏกรรมเองก็เปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับการรื้อฟื้นตามรูปแบบคลาสสิก คือมีอุปราการตามกรีกนั่นเอง
6. ด้านภูมิศาสตร์ เกิดจากสาเหตุผลักดันหลายประการ เช่นความรู้สึกท้าทายอยากทำสิ่งแปลกใหม่ ทำให้ได้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อการเดินทางโดยเรือข้ามทะเล ประกอบกับความต้องการสินค้าจากทางตะวันออกและทางเอเชียที่มากขึ้น แต่เดิมต้องผ่านพ่อค้าคนกลางย่านอาหรับที่จะขายต่อในราคาค่างวดที่สูงมาก พวกเขาจึงพยายามหาวิธีการต่างๆที่จะได้สินค้าเหล่านั้นมาในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม ดังนั้นการเดินทางด้วยเรือจึงเป็นคำตอบ เป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้รักการผจญภัยได้สำรวจเส้นทางใหม่ และจากจุดนี้ยังทำให้ได้ค้นพบดินแดนใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสายตาของชาวยุโรปเองด้วยอีกประการ
โดยสรุปทั่วไปแล้วการฟื้นฟูวิทยาการที่เกิดขึ้นในยุโรป ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-18 นั้นส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ที่สำคัญที่สุดทำให้แนวความคิดประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงไปจากความคิดที่งมงาย คร่ำครึ อนุรักษ์นิยม มาเป็นความคิดที่ก้าวหน้าและอิสระ เป็นตัวของตัวเอง กล้สแสดงออก กล้าคิดกล้าทำ ให้เกิดการคิดการประดิษฐ์ และการค้นพบที่สำคัญต่างๆ ทำห้าสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเป็นอันมาก เมื่อเทียบกับระยะเวลาก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีในยุคกลาง
อิตาลีตอนเหนือในยุคกลาง
เมื่อมาถึงปลายสมัยกลางทางตอนกลางและอิตาลีตอนใต้ที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันก็จนลงกว่าทางเหนือ โรมเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยซากสิ่งก่อสร้างโบราณและรัฐของพระสันตะปาปา (Papal States) ก็เป็นบริเวณการปกครองอย่างหลวมๆ ที่แทบจะไม่มีกฎหมายหรือระบบแต่อย่างใดเพราะสำนักพระสันตะปาปาย้ายไปอยู่ที่อาวินยองโดยความกดดันของพระเจ้าฟิลลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทางด้านไต้เนเปิลส์, ซิซิลี และซาร์ดิเนียตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้วโดยอาหรับและต่อมาก็โดยนอร์มัน ซิซิลีมั่งคั่งขึ้นมาเป็นเวลาสองสามร้อยปีระหว่างการปกครองของเอ็มมิเรตแห่งซิซิลี (Emirate of Sicily) และเมื่อต้นสมัยราชอาณาจักรซิซิลีแต่มาเสื่อมโทรมลงเมื่อมาถึงปลายสมัยกลาง
ทางตอนเหนือกลายมามั่งคั่งกว่าทางไต้โดยมีอาณาจักรต่างๆ ทางตอนเหนือที่เป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรป สงครามครูเสดสร้างเส้นทางการค้าขายกับบริเวณลว้าน (Levant) และสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ก็ทำลายจักรวรรดิไบแซนไทน์ผู้เป็นคู่แข่งทางการค้าขายชองเวนิสและรัฐอาณาจักรเจนัวเกือบหมดสิ้น เส้นทางการค้าขายหลักจากตะวันออกผ่านทะลุจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือดินแดนอาหรับ และต่อไปยังเมืองท่าเจนัว, ปิซา และเวนิส สินค้าฟุ่มเฟือยที่หาซื้อได้จากบริเวณลว้านก็ถูกนำเช่นเครื่องเทศ, สีย้อมผ้า และไหมก็ถูกนำเข้ามายังอิตาลีและขายต่อไปยังยุโรป นอกจากนั้นนครรัฐ (city-state) ที่ไม่ได้อยู่ติดกับทะเลก็ได้รับผลประโยชน์จากการเกษตรกรรมในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป
จากฝรั่งเศส, เยอรมนี และกลุ่มประเทศต่ำโดยเทศกาลสินค้าแชมเปญ (Champagne fairs), ทางบก และทางเรือ ก็นำสินค้าเช่นขนแกะ, ข้าวสาลี และโลหะมีค่าเข้ามาในอิตาลี บริเวณการค้าขายตั้งแต่อียิปต์ไปจนถึงบริเวณบอลติคทำให้อิตาลีเป็นแหล่งสินค้าที่เกินเลยที่ทำให้สามารถมีอำนาจในการลงทุนในการทำเหมืองและทำการอุตสาหกรรมได้ ฉะนั้นแม้ว่าทางเหนือของอิตาลีจะไม่ร่ำรวยทางทรัพยากรเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของยุโรปแต่การพัฒนาที่เกิดจากการค้าขายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความมั่งคั่ง ฟลอเรนซ์กลายเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดทางตอนเหนือของอิตาลีเพราะการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าภายใต้การควบคุมของสมาคมพ่อค้าผ้า “Arte della Lana” ขนแกะนำเข้าจากทางเหนือของยุโรปและในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จากสเปน โดยใช้สีย้อมผ้าจากตะวันออกที่ทำให้ผลิตผ้าที่
มีคุณภาพสูงได้
นอกจากนั้นเส้นทางการค้าขายของอิตาลีที่รวมบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและไกลไปจากนั้นก็ยังเป็นที่มาของวัฒนธรรมและความรู้ ในสมัยกลางงานที่เป็นการศึกษาคลาสสิคของกรีกเริ่มเข้ามาสู่ยุโรปตะวันตกโดยงานแปลจากภาษาละตินเป็นภาษาอาหรับจากโทเลโดในสเปน และจากพาเลอร์โมในอิตาลีโดยเฉพาะในช่วงที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของคริสต์ศตวรรษที่ 12 หลังจากที่เสปนได้รับชัยชนะต่ออาหรับ (Reconquista) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ทำให้งานแปลจากภาษาอาหรับในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์, ปรัชญา, และคณิตศาสตร์เผยแพร่เข้ามายังทางตอนเหนือของอิตาลี หลังจากการเสียเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Fall of Constantinople) ในปี ค.ศ. 1453 ก็มีผู้คงแก่เรียนกรีกจำนวนมากที่ลี้ภัยเข้ามายังอิตาลีซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความสนใจในการศึกษาทางภาษาศาสตร์ระหว่างยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและช่วยฟื้นฟูสถาบันการศึกษาในฟลอเรนซ์และเวนิส นักมนุษยนิยมเที่ยวค้นหาในห้องสมุดของสำนักสงฆ์เพื่อหาหนังสือโบราณและพบงานของนักประพันธ์ภาษาละตินสำคัญๆ มากมายเช่นแทซิทัส นอกจากนั้นก็ยังพบทฤษฎีพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของวิทรูเวียส สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ความเจริญทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ รุ่งเรืองขึ้น
ความคิดเห็น