ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาคนิพนธ์อลเวง -- ประวัติศาสตร์โลกตะวันตกสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #2 : ยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง

    • อัปเดตล่าสุด 25 ก.ค. 52


    ยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง

    หลังจากยุโรปเกิดสงครามครูเสด ซึ่งเป็นสงครามระหว่างศาสนา อาจจะเป็นศาสนาคริสต์ด้วยกันแต่ต่างนิกาย หรือสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม ซึ่งกินเวลาสงครามยืดเยื้อและยาวนาน ได้ส่งผลกระทบในหลายๆด้านของทวีปยุโรปขึ้นมากมาย แต่มักส่งผลกระทบไปในทางดีเพราะสงครามได้กวาดทำลายสิ่งที่ไม่ดีออกไป เข้ากับสำนวนไทยว่า “ฟ้าหลังฝน”

    เพราะสมัยยุคกลางของยุโรปปกครองด้วยระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ ทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนจะขึ้นต่อกับชนชั้นขุนนาง ในขณะที่กษัตริย์ไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จนัก แต่เมื่อเกิดสงครามครูเสด ชนชั้นขุนนางส่วนมากมักเป็นอัศวินต้องออกไปรบในสงครามและได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ดินแดนที่ขุนนางได้ครอบครองกลายเป็นดินแดนว่าง และถูกเวนคืนเป็นของพระมหากษัตริย์เสียทั้งหมด ส่วนนี้นี่เองทำให้พระองค์มีพระราชอำนาจมากขึ้นและนำไปสู่การปกครองระบอบสมบูรณษญาสิทธิราช

    ส่วนประชาชนจากที่เคยเป็นชาวไร่ชาวนาที่หาเลี้ยงกินตามดินแดนของขุนนาง หรือเป็นทาสที่ดินของขุนนางก็มีความหวังในการดำรงชีวิตใหม่มากขึ้น จึงเกิดอพยพไปดินแดนใหม่โดยเฉพาะฝั่งยุโรปตะวันออก ส่งผลให้ประชาชนได้ค้นพบนวัตกรรมการประดิษฐ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย จนนำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการในเวลาต่อมา

    ต่อไปนี้คือการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของยุโรปก่อนเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

    การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง

                    การเกิดสงครามครูเสดพร่าชีวิตชนชั้นขุนนางและเหล่าอัศวินไปเป็นจำนวนมาก บรรดาทรัพย์สินที่ดินของขุนนางก็ถูกเวนคืนให้เป็นของกษัตริย์ ซึ่งทำให้พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้าขึ้นมา ซึ่งต้องการรับการสนับสนุนทางทรัพย์สินและกำลังใจจากพระองค์ และเป็นอีกประการที่เพิ่มพูนอำนาจบารมีของพระองค์อีกด้วย

    การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ

                    ขณะที่เกิดสงครามครูเสดกินเวลายาวนานยืดเยื้อ และต้องออกเดินทางในระยะทางที่ยาวไกล ดังนั้นจึงเกิดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าตามจุดแวะพักต่างๆ ทำให้ประชากรได้อาชีพใหม่คืออาชีพค้าขายขึ้นมากมายในยุโรป จากที่เคยดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตัวเองก็เปลี่ยนมาเป็นการดำรงโดยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากัน มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน  พัฒนาระบบธนาคาร มีการใช้เครดิตและเกิดชนชั้นกลางอย่างพ่อค้า นายธนาคาร และ ผู้ประกอบการธุรกิจอีกด้วย ณ จุดนี้ ขุนนางไม่เป็นผู้ผลิตปัจจัยสำคัญจากที่ดินของตนอีกต่อไปแล้ว

     

     

    การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม          

                            จากการที่มีศูนย์การค้าและการพัฒนาการด้านการค้า ทำให้ประชาชนมีความหวังใหม่ และตื่นตัวแสวงหาโชคลาภจากการประกอบอาชีพใหม่ที่คาดว่าจะทำรายได้ได้ดีกว่าอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีความไม่แน่นอน เหนื่อยยากตรากตรำ และคอยพึ่งบุญดินแดนฟ้าอากาศตลอดเวลา มิหนำซ้ำยังมีการถูกเอารัดเอาเปรียบจากขุนนางเจ้าของที่ดินอีกเสียด้วย เกษตรกรจึงปลดแอกตนเองออกจากสถานะทาสที่ดินอพยพโยกย้ายไปยังย่านชุมชนการค้า เมื่อมีการอพยพเข้ามามากๆเข้าก็พัฒนาเป็นสังคมแบบเมืองมากขึ้น

                    สภาพความเป็นอยู่ของคนก็เปลี่ยนแปลงมากขึ้นด้วย มีรายได้ที่แน่นอน ทำงานเป็นระบบ ไม่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำและมีเวลาว่างมากขึ้น ทำให้แลกเปลี่ยนทัศนความคิดเห็นได้มากขึ้น มีเวลาศึกาศิลปวิทยาการมากขึ้น จนเป็นจุดกำเนิดศิลปวิทยาในเวลาต่อมา

     

    สภาพอาณาจักรต่างๆก่อนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา      

    อังกฤษ ภายหลังสงครามครูเสดอังกฤษต้องเผชิญกับสงครามใหญ่อีกครั้ง นั่นคือสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ทำให้อังกฤษทรุดโทรมลงไปมาก ไม่ว่าการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มิเพียงเท่านั้นยังเกิดสงครามภายในอีกด้วย คือศึกช่วงชิงราชสมบัติระหว่างชนชั้นขุนนาง และโดยเฉพาะขุนนางสองตระกูลอย่างสงครามดอกกุหลาบ คือ ระหว่างขุนนางตระกูลยอร์ค(ตระกูลแห่งดอกกุหลาบสีขาว) กับขุนนางตระกูลแลงแคสเตอร์(ตระกูลแห่งดอกกุหลาบสีแดง) สงครามดอกกุหลาบใช้เวลานานถึง 30 ปี ที่ขุนนางทั้งสองตระกูลนำกองทัพตนเข้าต่อสู้กัน สงครามครั้งนี้ไม่ได้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินชีวิตของชาวอังกฤษโดยทั่วไปมากนัก แต่ราชบัลลังก์อังกฤษถูกสับเปลี่ยนผู้ขึ้นครองกันในระหว่างสองตระกูลบ่อยๆ โดยรัฐสภาต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝ่ายชนะตลอดมา พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 นับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ยอร์คที่ขึ้นครองอังกฤษ และพระองค์ทรงถูกฆ่าตายจากการรบที่ทุ่งบอสเวอร์ส ภายใต้การนำของกองทัพ "เจ้าชายเฮนรี่ ทิวเดอร์" ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์มีพระนามว่า "พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7" (Henry VII, ค.ศ.1485-1509)

    ราชบัลลังก์ของอังกฤษมั่นคงขึ้น เมื่อมีการประสานรอยร้าวระหว่างตระกูลแลงคาสเตอร์กับตระกูลยอร์คโดยการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 กับเจ้าหญิงอลิซาเบธแย่งยอร์ค นอกจากนี้พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ทรงจัดระบบการปกครองใหม่ ลดอำนาจและสิทธิของขุนนางชั้นสูง ส่งเสริมระบบข้าราชการและทำให้สถาบันกษัตริย์เป็นที่รวมน้ำใจและสัญลักษณ์ของชาติ

    ทางด้านศาสนา มีการตัดขาดจากสถาบันของพระสันตะปาปา โดยตัดขาดอย่างเด็ดขาดในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (Henry VIII, ค.ศ.1509-1547) เมื่ออังกฤษปฏิรูปศาสนาและจัดตั้งศาสนาแองกลิกัน (Anglican Church) แยกออกจากศาสนาโรมันแคทอลิกที่โรมทำให้อังกฤษเป็นรัฐประชาธิไตยอย่างแท้จริง

    สงครามดอกกุหลาบมีผลให้อังกฤษสามารถดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางได้ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 นอกจากเป็นแม่ทัพที่มีความสามารถแล้ว ยังทรงเป็นผู้ปกครองที่มีความเข้มแข็งด้วย โดยพระองค์ประกาศว่าขุนนางไม่มีสิทธิดำเนินคดีอีกต่อไป การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับอำนาจของรัฐบาลกลางที่มีคณะลูกขุนพิจารณาคดีต่างๆ นั่นคือศาลสตาร์แชมเบอร์หรือศาลห้องดาว นับได้ว่ายุคสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 เป็นการสถาปนาระบบราชาธิปไตยยุคใหม่ในอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น เป็นการฟื้นฟูชื่อเสียงของกษัตริย์และทำให้ชางอังกฤษเกิดความรักชาติมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาชาญทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการค้าและทรงให้สนับสนุนเรื่อยมาตลอด ทำให้มีเงินเต็มท้องพระคลังอยู่เสมอ เป็นรากฐานที่สำคัญของความเจริญยุคหลังๆ

     

    ฝรั่งเศส ในระยะแรกจะมีสถานะที่ไม่ค่อยต่างไปจากอังกฤษเท่าไรนัก เพราะผ่านสงคราครูเสดและสงครามร้อยปีมาด้วยกัน แต่ฝรั่งเศสอาจจะหนักกว่าตรงที่ฝรั่งเศสยังเป็นสมรภูมิใช้ในสงครามร้อยปีด้วย แต่โชคดีที่มีพระมหากษัตริย์ทรงพระปรีชาชาญ สามารถรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันภายในเวลาไม่นานนัก นั่นคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่เจ็ด ทรงได้ปฏิรูปในหลายๆด้านให้ฝรั่งเศสมีลักษณะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากขึ้น เช่นสร้างกองทัพหลวง เก็บภาษีจากประชากรโดยตรง การมีสิทธิอิสระทางศาสนา ไม่ว่าจะเรื่องการแต่งตั้งพระหรือการเก็บภาษี และพระเจ้าหลุยส์ที่เก้า ทรงสร้างระบบราชการให้เข้มแข็งมากขึ้น ใช้มาตรการเฉียบขาดจัดการขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง พยายามสร้างอาณาจักรให้เข้มแข็งได้เพียงไม่นาน ฝรั่งเสสต้องเข้าสู่ภาวะสงครามอีกครั้งกับอาณาจักรจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในกรณีพิพาทเกี่ยวกับดินแดนตอนเหนือของอิตาลี ทำให้ฝรั่งเศสตกอยู่ในภาวะชะงักงันจนกระทั่งถึงต้นศตวรรษที่สิบเจ็ด จึงกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในราชวงศ์บูร์บอง

     

    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในระยะเริ่มแรกฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยังอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์แฮบสเบิร์ก ยังมีฐานะเป็นสหพันธรัฐน้อยใหญ่เป็นอิสระ โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่กรุงเวียนนา แคว้นออสเตรีย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 
                    ได้มีการพัฒนาการด้านการเมืองอยู่ประการหนึ่ง คือ มีการเลือกผู้นำโดยจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 4 ตามคำประการพระบรมราชโองการที่เรียกว่า โกลเดนบัลล์ ในนี้กล่าวไว้ว่าองค์จักรพรรดิจะต้องได้รับคัดเลือกโดยประมุขของแคว้นต่างๆจำนวนเจ็ดคน ในช่วงสมัยกลางตอนต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มักเผชิญปัญหาความขัดแย้งกับขุนนางเนื่องจากขุนนางมีอำนาจในการครอบครองที่ดินมากขึ้น แต่เมื่อมาถึงช่วงปลายยุคกลาง กลุ่มประมุขเหล่านี้กลับมามีอำนาจมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์จึงต้องเปลี่ยนไปเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยระบบเงินตรา นอกจากนี้มีการใช้ดินปืนขึ้นอย่างแพร่หลายทำให้ขุนนางไม่สามรถแข็งข้ออยู่ต่อไปได้อีก จากการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ราชวงศ์แฮบสเบิร์กได้รับคัดเลือกเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิ มีอำนาจเข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งประมุขของสเปนและเนเธอร์แลนด์ด้วย

    สเปน เป็นชาติที่ถือกำเนิดเป็นปึกแผ่นได้ช้ากว่าบรรดาชาติต่างๆในยุโรป เนื่องจากถูกยึดครองโดยมุสลิมมาตั้งแต่ศตวรรษที่
                    จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 สเปนยังเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยหลายแห่งมีการปกครองอิสระไม่ขึ้นต่อกัน กว่าจะรวมกันเป็นปึกแผ่นเดียวกันก็ปลายศตวรรษที่ 15 เข้าไปแล้ว โดยการรวมตัวแคว้นใหญ่สองแคว้นคือคาสตีลกับอารากอน อันเนื่องมาจากการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายเฟอร์ดินานแห่งอารากอนกับเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งคาสตีล หลังจากนั้นไม่นานสเปนก็ก้าวหน้าขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีการสนับสนุนการเดินเรือ สามารถจับจองดินแดนต่างๆเป็นอาณานิคมมากมาย กลายเป็นประเทศมหาอำนาจของยุโรปได้ภายในช่วงระยะเวลาอันแสนสั้น

    อิตาลี ในช่วงปลายยังประกอบไปด้วยนครรัฐต่างๆหลายแห่ง แต่ละนครรัฐต่างก็มีการปกครองตนเองเป็นอิสระ ในบรรดารัฐต่างๆมีความสำคัญในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ได้แก่

                  
                    
    มิลาน ช่วงปลายยุคกลางอยู่ภายใต้การปกครองผลัดเปลี่ยนกันของสองตระกูลที่มีชื่อเสียง คือตระกูลวิสคอนติกับตระกูลสฟอร์ซา ทั้งสองตระกูลนี้แม้จะปกครองมอลานแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ก็ได้สร้างรากฐานความเจริญให้แก่มิลานมิใช่น้อย ทำให้มิลานเป็นดินแดนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาระยะหลังมิใช่น้อย
                   ฟลอเรนซ์ เป็นนครนัฐที่มั่งคั่งที่สุดในบรรดานครรัฐของอิตาลีช่วงยุคกลางตอนปลาย เพราะมีตระกูลพ่อค้าที่ร่ำรวยอาศัยอยู่ในนครรัฐนี้จำนวนมาก พวกเขามีเงินทองเหลือเฟือจนสามารถออกเงินกู้ให้บรรดาผู้นำประเทศต่างๆในสมัยนั้นได้
                   เวเนเซีย รัฐอิตาลีที่มีความยิ่งใหญ่มากรัฐหนึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอิตาลี บริเวณชายฝั่งทะเลแอเดรียติก ก่อนช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยารัฐเวเนเซียมีตำแหน่งประมุขว่า โดจ  เป็นตำแหน่งที่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่ภายหลังเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เท่านั้น ไม่มีอำนาจใดๆ เพราะอำนาจการปกครองที่แท้จริงจะอยู่ที่รัฐสภาซึ่งต่อมาได้เป็นอภิรัฐสภา อภิรัฐสภามีสมาชิกน้อยมากมีเฉพาะผู้ที่มีรายชื่อในทำเนียบพิเศษเท่านั้น
                   อาณาจักรสันตปาปา ดินแดนแห่งนี้มีบทบาทอิทธิพลเหนือจิตใจขงอประชาชนอยู่มากในช่วงระยะก่อนหน้าฟื้นฟูศิลปวิทยา แม้ว่าบทบาทของพระสันตปาปาในยุโรปจะลดลงแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากดินแดนแห่งนี้เคยเป็นกรุงโรมที่มีศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรือง ทำให้อาณาจักรนี้มีปราชญ์แขนงต่างๆเดินทางมาศึกษาต้นแบบศิลปวิทยาการต่างๆ และพระสันตปาปาในช่วงนี้เองก็ยังช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
                   เนเปิล – ซิซิลี รัฐยิ่งใหญ่ทางตอนใต้ของอิตาลีประกอบไปด้วยดินแดนสองส่วนด้วยกัน ส่วนที่อยู่บนคาบสมุทรคือเนเปิล และส่วนที่เป็นเกาะคือเกาะซิซิลี ในอดีตสองแห่งนี้เคยถูกปกครองโดยกษัตริย์ชาวนอร์แมนและจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตามลำดับ ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งสำคัญทำให้วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกมาบรรจบพบกัน ในศตวรรษที่ 15 ดินแดนแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยกษัตริย์เชื้อสายสเปนซึ่งไม่ค่อยมีความสามารถมากนัก ทำให้เนเปิล - ซิซิลีตกต่ำ และไม่เจริญรุ่งเรืองเมื่อเทียบกับแคว้นรัฐอื่นๆ

    หากกล่าวโดยรวมแล้ว ยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 15 ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก บรรดาอาณาจักรต่างๆ ต่างก็มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ อันเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้เกิดการฟื้นฟูสิลปวิทยาการในลำดับกาลต่อมา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×