ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พระเสวียนจั้ง

    ลำดับตอนที่ #1 : พระที่เสวียนจั้ง คนเก่งที่ถูกลืม

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 364
      1
      10 มี.ค. 48

                  ไซอิ๋วเป็นวรรณคดีเอกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนในอดีต วรรณคดีของจีนที่ถือว่าดีที่สุดมีอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน คือ1. ไซอิ๋ว  2.สามก๊ก 3.วีรบุรุษเขาเหลียงซัน 4. ความฝันในหอแดง โดยแต่ละเรื่องก็มีจุดประสงค์ในการแต่งเรื่องต่างกันออกไป แต่เราขอเล่าแค่เรื่องของไซอิ๋วก่อนก็แล้วกันนะ

                  ไซอิ๋วเป็นนวนิยายพื้นบ้านอิงประวัติศาสตร์ของพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อเสวียนจั้งในราชวงศ์ถังสมัยของถังไท่จง  เท่าที่จำได้ ตอนที่ท่านเป็นเด็ก พ่อแม่ของท่านตายไป ท่านเลยต้องอยู่ในความปกครองของพี่ชายของท่านคนหนึ่ง เนื่องจากพี่ชายของท่าน เห็นท่านใฝ่ในทางธรรม จึงได้ส่งให้ท่านได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ท่านจึงมีโอกาสศึกษาพระธรรมจนแตกฉาน แต่ท่านยังสงสัยในพระวินัยและพระธรรมที่ท่านศึกษาอยู่ เพราะพระธรรมที่ท่านศึกษานั้นมีข้อขัดแย้งในบางเรื่อง ท่านจึงคิดว่าจะสืบค้นโดยจะค้นหาพระไตรปิฎกจากประเทศอินเดียมาแปลเป็นภาษาจีนเพื่อใช้สืบพระพุทธศาสนาต่อไป ท่านเริ่มเตรียมตัวเดินทางไปอินเดีย(ชมพูทวีป) ทั้งที่ท่านไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางอยู่ไกลแค่ไหนท่านรู้แต่ว่าอินเดียอยู่ทางทิศตะวันตกของฉางอันเท่านั้น(ปัจจุบันเรียกว่าฉางอันอยู่ในมณฑลส่านซี เป็นเมืองหลวงในขณะนั้น ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสุสานฉินซีฮ่องเต้ด้วย)  โดยท่านได้รวบรวมพระภิกษุอีกจำนวนหนึ่งเดินทางไปด้วย รวมทั้งยังได้ขอพระบรมราชานุญาติเพื่อเดินทางไปสืบพระพุทธศาสนา แต่ถังไท่จงไม่ทรงอนุญาติ  สาเหตุที่ทรงไม่อนุญาติในครั้งนี้คือ 1. ทรงนับถือลัทธิขงจื้อ 2.เป็นเพราะตอนที่พระเสวียนจั้งขอพระบรมราชานุญาตินั้น เป็นปีแรกที่ถังไท่จงทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงไม่ค่อยสนใจศาสนาเท่าไหร่นัก(ตามที่เขาสันนิฐานกันมา) เพราะพระองค์สนใจเรื่องปากท้องของประชาชนมากกว่า แต่เสวียนจั้งก็ไม่ท้อ ยังคงหาโอกาสที่จะเดินทางไปอินเดียอยู่ตลอด เมื่อเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย พระเสวียนจั้งจึงได้โอกาสหลบหนีเดินทางไปอินเดีย ตอนออกเดินทางนั้นท่านไม่ได้เตรียมสัมภาระอะไรไปมากนัก เพราะท่านกลัวจะถูกจับได้ว่าขัดคำสั่งของถังไท่จงซึ่งมีโทษมีสถานเดียวคือประหารชีวิต ในระหว่างการเดินทางท่านจึงต้องบิณฑบาตไปตลอดทาง พอชาวบ้านรู้ว่าพระเสวียนจั้งจะไปชมพูทวีปเพื่อนำพระไตรปิฎกกลับประเทศจีนจึงเล่าต่อๆกันไปจนรู้ถึงถังไท่จง ถังไท่จงพอทรงทราบว่าเสวียนจั้งได้หลบหนีเดินทางไปยังอินเดีย พระองค์จึงประกาศจับพระเสวียนจั้ง พระเสวียนจั้งนั้น เมื่อรู้ข่าวแล้วจึงระมัดระวังในการเดินทางมากขึ้น ถึงขนาดออกเดินทางตอนกลางคืนและพักผ่อนในตอนกลางวันแทน จนกระทั่งออกนอกอาณาเขตของถังไท่จงอย่างปลอดภัย ท่านได้เดินทางไปทั่งประเทศอินเดียเพื่อค้นหาพระไตรปิฎกเพื่อนำกลับประเทศจีน ท่านใช้เวลาในการค้นหาเกือบ 20 ปีจึงทำสำเร็จ และได้เตรียมตัวกลับฉางอัน เมื่อเดินทางกลับฉางอัน ท่านก็ได้แปลพระไตรปิฎกและเผยแพร่ศาสนาไปทั่วประเทศจีน แต่ตามบันทึกที่เราได้ยินมา มีข้อขัดแย้งกันคือตอนที่เสวียนจั้งเดินทางกลับนั้น ฝ่ายหนึ่งบอกว่าถังไท่จงได้ส่งคนมารับพระเสวียนจั้งกลับฉางอัน แต่อีกบันทึกหนึ่งบอกว่าถังไท่จงไม่ได้ส่งใครมารับเสวียนจั้งกลับ ทั้งยังบอกอีกว่า พระเสวียนจั้งต้องใช้ความพยายามในการเปลี่ยนให้ถังไท่จงและเชื้อพระวงศ์หันมานับถือศาสนาพุทธเกือบ20ปี ยังไงก็ตาม ราชวงศ์ถังก็กลายเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุด และได้เป็นทางผ่านในการเผยแพร่พระพุทธศาสนายังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีอีกด้วย

                  หลังจากที่พระเสวียนจั้งได้เดินทางกลับฉางอันแล้ว จึงทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน และได้สร้างวัดม้าขาวเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเดินทาง(ในหนังสือเรียนบอกว่าวัดนี้เป็นวัดพุทธศาสนาแห่งแรกในประเทศจีน) เพราะตอนที่พระเสวียนจั้งเดินทางออกจากฉางอันนั้น ได้ใช้ม้าขาวเป็นพาหนะในการเดินทาง แต่ต่อมาได้แลกม้าแก่ๆจากนักเดินทางตัวหนึ่งเพื่อใช้นำทางในทะเลทราย เนื่องจากพระเสวียนจั้งรู้ว่าม้าแก่ๆจากนักเดินทางมักจะจำเส้นทางในทะเลทรายได้เป็นอย่างดี และรู้วิธีในการหลบหลีกพายุทรายได้อีกด้วย นอกจากนี้ได้สร้างเจดีย์ห่านป่าขึ้นในวัดม้าขาวเพื่อใช้เก็บพระไตรปิฎก

                  ในสมัยราชวงศ์ถัง พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนเรื่องของพระเสวียนจั้งเป็นที่รู้จักกันทั่ว จึงมีคนนำไปแต่งเป็นนิทานขึ้นมา การเดินทางไปนำพระไตรปิฎกกลับฉางอัน ได้ถูกเปรียบเสมือนว่าได้ถึงนิพพาน หงอคงเป็นตัวแทนของปัญญาที่สามารถบรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็ว (หงอคงสามารถตีลังกาได้ไกลหลายหมื่นลี้) แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการบรรลุธรรมอย่างแท้จริงถ้าขาดศีล(ตือโป๊ยก่าย) และสมาธิ(ซัวเจ๋ง) ตัวละคนหงอคงนั้นได้เลียนแบบมาจากหนุมานในเรื่องรามาเกียรติ์น่ะเอง

                  ส่วนคำว่าพระถังซำจั๋งนั้นเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว ความจริงไม่ใช่ชื่อของพระเสวียนจั๋ง แต่เป็นฉายานามที่แปลว่าพระไตรปิฎกแห่งราชวงศ์ถัง

                  และนิยายเรื่องนี้เขาบอกว่ากันว่าเป็นการเปรียบเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและลัทธิอีกด้วย คือการที่ฝ่ายลัทธิเต๋า (เง็กเซียนฮ่องเต้ เทพเอ้อหลางเสิน เป็นต้น)ปราบหงอคงไม่ได้แต่พระยูไล (ฝ่ายศาสนาพุทธ)สามารถปราบได้โดยใช้มือเพียงข้างเดียวในนิยายนั้น  หมายถึง ลัทธิเต๋ามีสติปัญญาน้อยกว่า(หงอเป็นตัวแทนของปัญญา ภายหลังพวกที่นับถือลัทธิเต๋าก็แต่งนวนิยายทำนองนี้เพื่อตอบโต้มาด้วยเหมือนกันแต่เราจำชื่อเรื่องไม่ได้

                  น่าเสียดายนะที่คนสมัยนี้มักจะรู้จักแต่หงอคง ตัวละครที่แต่งขึ้นมา มากกว่าพระเสวียนจั้งที่เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในประเทศจีน

    ถ้าเขียนไม่ดีก็ขอโทษด้วยนะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×