ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องคุกๆ

    ลำดับตอนที่ #58 : บันทึกสุขภาพจิต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 339
      0
      5 ก.พ. 50

    บันทึกสุขภาพจิต

    สวัสดีค่ะ ทุก ๆ คน ฉบับนี้มีข่าวบอกเรื่องสรุปผลการอบรม และผลการสำรวจการทำงานตามแผน กองบริการทางการแพทย์ได้นำเสนออธิบดีพร้อมด้วยข้อพิจารณาในเรื่องเครื่องแบบของนักจิตวิทยา การจัดอบรมเพิ่มเติม การกำหนดกรอบอัตรากำลังนักจิตวิทยาในเรือนจำทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้อธิบดีเห็นชอบ ทั้งนี้ได้ประสานงานไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว สำหรับฉบับนี้ พี่มีข้อมูลเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายในเรือนจำ (Suicide Prevention) จากบทความหลายเล่ม ลองอ่านดูนะจ๊ะ

    ข้อมูลที่น่าสนใจ : ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเรือนจำได้แก่ พวกที่เคยมีประวัติการฆ่าตัวตายขณะอยู่ในชุมชน ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิต ผู้ที่ติดยา สารเสพติดและสุรา ผู้ต้องขังหญิงพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ต้องขังชาย 2 ถึง 3 เท่า แต่ผู้ต้องขังชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้ต้องขังหญิง 4 เท่า การฆ่าตัวตายมักจะสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า (Depression) ในขณะที่โรคซึมเศร้าในผู้หญิงจะเป็นเรื่องปกติ แต่ในผู้ชายจะเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่า ผู้ต้องขังสูงอายุเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงมาก รวมทั้งผู้ต้องขังทำผิดคดีทางเพศ ผู้ต้องขังที่ต้องโทษเป็นระยะเวลานานหรือจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่ได้รับการอภัยโทษ ผู้ต้องขังที่ฝ่าฝืนกฎขณะได้รับการพักโทษและต้องกลับเข้ามาในเรือนจำซึ่งมักจะมีความสัมพันธ์กันกับการติดยาและสารเสพติดก็มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

    งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ต้องขังฆ่าตัวตายคือสภาพแวดล้อมของเรือนจำ และผู้ต้องขังกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต และจากมุมมองของผู้ต้องขังปัจจัยที่ทำให้ผู้ต้องขังคิดฆ่าตัวตายคือ ความกลัวสิ่งที่ไม่รู้ ความไม่ไว้วางใจผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ขาดอำนาจการควบคุมอนาคต ถูกแยกจากครอบครัวและคนที่มีความสำคัญ อับอายที่ถูกคุมขัง สูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นคนเนื่องจากถูกคุมขัง และปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ต้องขังอยู่ในภาวะวิกฤตที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย มีการใช้ยาและสารเสพติดและแอลกอฮอล์มากเกินไป อับอายหรือรู้สึกผิดอย่างแรงต่อการกระทำผิด มีโรคทางจิตเวชหรือเคยมีประวัติฆ่าตัวตาย

    สำหรับการป้องกันการฆ่าตัวตายในเรือนจำที่จะประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการค้นหาผู้ต้องขังที่มีปัญหา มีการให้คำแนะนำที่จำเป็นและเหมาะสม และให้ทางเลือกกับผู้ต้องขังในการเผชิญและจัดการกับปัญหา รวมถึงการลดภาวะบีบคั้นทางอารมณ์ของผู้ต้องขัง

    วารสาร Corrections Today ฉบับเดือนสิงหาคม 2544 ตีพิมพ์งานวิจัยของ Lance Couturier เรื่อง Suicide Prevention ได้กำหนดตัวชี้วัดสำหรับค้นหาผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายดังนี้

    ตัวชี้วัดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (The Suicide Risk Indicators Checklist)

    เจ้าหน้าที่ผู้คุมมีข้อมูลว่าผู้ต้องขังนั้นเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

    ผู้ต้องขังแสดงความคิดว่าต้องการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง

    ผู้ต้องขังแสดงอาการซึมเศร้า ได้แก่ การร้องไห้ การถอนตัวหรือแยกตัว เฉื่อยชา

    ผู้ต้องขังแสดงออกหรือพูดคุยในลักษณะที่แปลกไป เช่น เห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่มีอยู่ ณ ที่นั้น

    ผู้ต้องขังแสดงอาการที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยาหรือแอลกอฮอล์

    ผู้ต้องขังมีการเปลี่ยนแปลงในครอบครัวอย่างกะทันหัน เช่น การเสียชีวิตของลูก คู่สมรส หรือบิดามารดา

    ผู้ต้องขังมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพด้านกฎหมายอย่างกะทันหันเช่นการยกเลิกการอภัยโทษ เพิ่งถูกกักขัง

    ผู้ต้องขังอยู่ในการจำกัดบริเวณ หรือในแผนกการจัดการพิเศษ

    ผู้ต้องขังถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยผู้ต้องขังอื่น

    ผู้ต้องขังแสดงอาการโกรธ อาการเป็นศัตรู และกระทำการคุกคาม

    ผู้ต้องขังแสดงอาการวิตกกังวลหรืออาการกลัว เช่น หน้าซีด มือสั่น

    ผู้ต้องขังแสดงลักษณะของการละเลยตัวเอง หรือทำร้ายตัวเอง เช่น อนามัยส่วนบุคคลไม่ดี หรือมีบาดแผล

    ผู้ต้องขังอยู่ระหว่างการได้รับยาทางจิตเวช

    นอกจากตัวชี้วัดข้างต้นแล้ว ที่ประเทศนิวซีแลนด์ได้มีแบบฟอร์มสำหรับผู้ต้องขังเข้าใหม่ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย เรียกว่า NEW ARRIVAL “RISK ASSESSMENT” FORM สำหรับให้เจ้าหน้าที่ซักถามผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกราย โดยแต่ละข้อให้ตอบข้อคำถาม ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ และข้อเสนอแนะ ในแต่ละข้อคำถาม ดังนี้

    1. มีข้อมูลตอนแรกรับว่าควรต้องเฝ้าระวังผู้ต้องขังรายนี้

     

    2. จากการสังเกตุของเจ้าหน้าที่พบว่าขณะแรกรับผู้ต้องขังแสดงอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่

    ไม่ยอมพูด

    มีอาการเศร้าเสียใจ

    มีอาการขู่ คุกคาม

    ทำตัวไม่มีเหตุผล

    เจ็บป่วย

    พูดรัว ไม่รู้เรื่อง

    ตาเลื่อนลอย

     

    3. คำถามให้ผู้ต้องขังตอบ

    มีใครในครอบครัวมีปัญหาหรือประสบความยากลำบากขณะนี้หรือไม่

    คุณติดคุกเป็นครั้งแรกใช่หรือไม่

    คุณมีปัญหาเรื่องยาเสพติดขณะนี้หรือไม่

    คุณเคยพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาหรือไม่

    คุณเคยพยายามฆ่าตัวตายหรือไม่

    คุณมีอะไรเป็นพิเศษที่ต้องการให้เรารับรู้เกี่ยวกับคุณเพื่อว่าเราสามารถที่จะช่วยคุณได้หรือไม่

     

    4. สำหรับเจ้าหน้าที่มีสิ่งใดที่ทำให้คุณคิดว่าผู้ต้องขังนั้นอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือไม่ ถ้ามีให้ระบุว่าคืออะไร

    ข้อคำถามทุกข้อถ้าตอบใช่ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปแสดงว่าผู้ต้องขังนั้นอยู่ในภาวะเสี่ยง (AT RISK)

    สำหรับบุคคลทั่วไป

    - รู้แหล่งที่จะได้รับความช่วยเหลือ (Hotline หรือ Helpline) หรือเล่าความรู้สึกให้เพื่อนหรือญาติที่ไว้วางใจฟัง

    - หลีกเลี่ยงการใช้ยา สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    - รับรู้สภาพารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของการฆ่าตัวตาย และรู้วิธีจัดการกับสภาพอารมณ์นั้นอย่างเหมาะสม

    - บรรยายความรู้สึกนึกคิดลงเป็นตัวหนังสือ ไม่ว่าจะเป็น ความหวังสำหรับอนาคต ผู้คนที่มีความสำคัญในชีวิตตน

    สำหรับครอบครัวหรือเพื่อน

    - เป็นผู้ฟังที่ดี เป็นผู้ให้กำลังใจ และให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งการหาผู้ที่มีวิชาชีพที่สามารถช่วยเหลือได้

    - พยายามทำให้ผู้ที่คิดฆ่าตัวตายรับรู้ว่าตัวเขา ชีวิตเขายังมีความสำคัญต่อผู้อื่นอีกมาก

    - ตัองรับรู้ความเจ็บปวดและความสิ้นหวังของบุคคลนั้นเพื่อที่เราจะสามารถช่วยเหลืได้ หากเขาไม่ต้องการพูดกับคุณต้องกระตุ้นให้ไปพบคนอื่นที่เขาสามารถไว้วางใจพอที่จะพูดคุยได้

    - อธิบายพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาเป็นการเริ่มการสนทนา

    - ต้องคุ้นเคยหรือทราบแหล่งที่จะให้การช่วยเหลือผู้ที่ต้องการฆ่าตัวตาย เช่น ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือสายด่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหา (Hotlines)

    สำหรับชุมชน

    - สร้างแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือสำหรับ ครอบครัว ชุมชน และเพื่อนบ้าน

    - แหล่งที่ให้การช่วยเหลือด้านปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และการติดยาและสารเสพติดนั้นมีเพียงพอและสามารถเข้าถึงได้

    - เผยแพร่มาตรการการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาว เน้นในเรื่องการไม่ก่ออาชญากรรม การแก้ไขความขัดแย้ง ไปถึงทักษะการแก้ปัญหา

    - ประชาสัมพันธ์แหล่งช่วยเหลือเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตาย ให้ทุกคนได้รับทราบ

    จากข้อมูลที่พี่ให้ไว้ ลองดูนะจ๊ะว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง ถ้าใครมีข้อสงสัยอยู่ ก็โทรศัพท์มาคุยกับพี่ ๆ ก็แล้วกัน แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าจ้ะ……………..พี่ๆ
    (
    รัตนา ภู่ไพบูลย์ - วารุณี เทียนเครือ )

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×