คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : ปวดประจำเดือน
วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปถือกันจากเริ่มแตกเนื้อหนุ่มแตกเนื้อสาว วัยรุ่นจัดเป็นช่วงที่เริ่มเข้าวัยเจริญพันธุ์ แม้ว่ายังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ้างว่าเมื่อใดที่เริ่มเป็นวัยรุ่น และเมื่อใดที่เลิกเป็นวัยรุ่นก็ตาม แต่โดยทั่วไปถือว่าจุดที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเด็กมาสู่วัยรุ่น โดยมีผลมาจากมีการเปลี่ยนแปลงในระดับของฮอร์โมน ในผู้หญิงจะเริ่มต้นเมื่ออายุ 10-11 ขวบ ในผู้ชายจะช้ากว่าเล็กน้อย กล่าวคือ เมื่อเด็กชายอายุ 12-13 ขวบ และจะสิ้นสุดเมื่ออายุราว 17-18 ปี ทั้งสองเพศ ในระหว่างช่วงวัยรุ่นนี่เอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนในเด็กหญิงก่อนที่จะเริ่มเป็นสาว เช่น สูงขึ้นเร็ว หน้าอกโตขึ้น มีขนบริเวณอวัยวะเพศ และรักแร้ เป็นผลจากการทำงานของฮอร์โมนเพศที่มีมากขึ้นในระยะนี้ ฮอร์โมนเพศนี้เองจะมามีผลควบคุมให้มดลูกมีการเปลี่ยนแปลง โดยผนังภายในมดลูกจะค่อยๆ เพิ่มความหนาขึ้น เซลล์เยื่อบุผนังมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยที่ความหนานี้จะเต็มไปด้วยเส้นเลือดที่มาเลี้ยง เมื่อหนาเต็มที่แล้วระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ทำให้มีการหลุดลอกของชั้นผนังภายในมดลูกที่หนาตัวขึ้นนี้ ซึ่งมีเลือดมาก จึงกลายมาเป็นประจำเดือนไหลออกมาทางช่องคลอด
การเปลี่ยนแปลงของผนังภายในมดลูกเกิดขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ เพราะในแต่ละเดือน รังไข่ของผู้หญิงทุกคนจะมีไข่ตก และจะเคลื่อนออกจากรังไข่มาทางท่อที่เรียกว่าท่อรังไข่เพื่อไปยังมดลูก ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ช่วงนี้ สเปอร์มที่อยู่ในน้ำอสุจิของเพศชาย จะมีโอกาสที่จะไปผสมกับไข่บริเวณท่อรังไข่ ถ้าหากไข่ที่ถูกผสมแล้ว เคลื่อนลงมาในมดลูก และฝังตัวกับผนังมดลูกที่หนาตัวขึ้นนั้น แล้วเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกในครรภ์ การหลุดลอกของผนังมดลูกที่จะออกมาเป็นเลือดประจำเดือนก็จะไม่เกิดขึ้น
ในปีแรกๆ เด็กผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนมักจะมาไม่ตรงเวลา ซึ่งเป็นปกติ แต่บางครั้งทำให้เกิดความกังวลขึ้นได้ ประจำเดือนมีวงรอบคือ 28 วัน คลาดเคลื่อนได้ 1-2 วัน ส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนอยู่ 2-5 วัน ปัญหาที่เกี่ยวกับการมีประจำเดือนในเด็กผู้หญิงได้แก่ ปวดขณะมีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนไม่มาเลย ประจำเดือนมีมากหรือมีนานหลายๆ วัน ติดต่อกัน
อาการปวดประจำเดือนในบางรายอาจรุนแรงมาก ถึงขนาดรับประทานยาแก้ปวดและยาลดการบีบตัวของมดลูก ก็ยังไม่สามารถบรรเทาอาการได้ อาการปวดรุนแรงพบได้ประมาณร้อยละสิบของการปวดประจำเดือนทั่วไป ทำให้ไม่สามารถประกอบภารกิจหน้าที่ตามปกติได้ ไม่สามารถไปทำงานได้ และต้องพักรักษาตัวที่บ้านราว 1-2 วัน ส่วนใหญ่มักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย มากบ้างน้อยบ้างไม่มากก็น้อย อาการดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในระยะก่อนหรือกำลังมีประจำเดือน ได้แก่ เหนื่อยง่าย ซึมเศร้า หงุดหงิด ปวดศีรษะ คัดเต้านม ปวดถ่วงท้องน้อย และคลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้บางครั้งรุนแรงจนต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์
a="" />ที่มา span="" /> : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพที่มา span="" /> : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ความคิดเห็น