ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้รอบตัว2

    ลำดับตอนที่ #4 : นางกากี

    • อัปเดตล่าสุด 17 เม.ย. 49


    ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้กะสันจะสึกรูปหนึ่งตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดามาตุคาม (แม่บ้าน) ใคร ๆ ก็รักษาไว้ไม่ได้ โบราณบัณฑิตในครั้งก่อน ถึงจะยกมาตุคามขึ้นไปไว้ในวิมานฉิมพลีในท่ามกลางมหาสมุทรก็ไม่อาจรักษาสตรีได้" แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

              กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีมเหสีพระนามว่า กากาติ มีพระรูปโฉมงดงามยิ่ง ใครเห็นใครก็ลุ่มหลงในความงาม ในวันหนึ่งมีพญาครุฑตนหนึ่งแปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง)กับพระราชา ได้พบเห็นพระนางกากาตินั้นแล้วเกิดความรักใคร่ในนาง จึงแอบพานางหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีอันเป็นที่อยู่ พระราชาเมื่อไม่พบเห็นพระเทวีจึงตรัสเรียกคนธรรพ์ชื่อ นฏกุเวรมาเข้าเฝ้า พร้อมมอบหมายให้นำพระเทวีกลับมาให้ได้

              ฝ่ายคนธรรพ์ทราบที่อยู่ของครุฑแล้ว จึงไปนอนแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระลูกหนึ่ง พอครุฑบินไปจากสระก็แอบกระโดดเกาะระหว่างปีกครุฑไปจนถึงวิมานฉิมพลี แอบได้เสียกับพระนางกากาติที่วิมานนั้น แล้วก็อาศัยครุฑนั้นแหละกลับมาเมืองพาราณสีอีก ในวันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกากับพระราชาอยู่ คนธรรพ์ก็ทำทีเป็นถือพิณมาที่สนามสกา ขับร้องเป็นเพลงว่า

              "หญิงรักคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้"

              พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามเป็นนัยว่า "ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร ท่านขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร" นฏกุเวรจึงตอบว่า "เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งได้ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านนั้นแหละ"

              พญาครุฑพอได้ทราบความจริงแล้ว ก็กล่าวติเตียนตนด้วยความเสียใจว่า "ช่างน่าติเตียนเสียนี่กระไร เรามีร่างกายใหญ่โตเสียเปล่าไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมียทั้งไปและกลับ น่าเจ็บใจจริง ๆ" กล่าวจบก็คืนร่างเป็นพญาครุฑไปนำพระนางกากาติมาคืนพระราชาแล้วไม่หวนคืนกลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :  ไม่มีใครจะเก็บรักษาสตรีไว้ได้นอกจากสตรีนั้นจะรักษาตนเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×