ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องคุกๆ

    ลำดับตอนที่ #25 : internet

    • อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 50


    internet

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ติดตั้งคู่สายโทรศัพท์ไว้ 40 คู่สายนอก และ 140 คู่สายใน ซึ่งนอกจากจะอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ในการติดต่อประสานงานทั้งภายในและนอกหน่วยงานแล้ว คู่สายโทรศัพท์เหล่านี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดระบบสื่อสารทาง Internet การสื่อสารข้อมูลผ่านคู่สายโทรศัพท์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2533 โดยใช้ในการอ่านหนังสือ ที่ห้องสมุดคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์ (สมัยนั้น แทบจะไม่มีใครรู้จัก Internet เลย)

     

    ปัจจุบันนี้ ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯต้องจ่ายเงินสูงถึงเดือนละ 14,000 บาท ทุกเดือน เพื่อปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยการสื่อสารข้อมูลผ่าน Internet ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง GFMIS, E-auction,
    E-procurement ,
    การส่งข้อมูลผู้ต้องขังและรายงานต่างๆให้กรมราชทัณฑ์ , การตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ต้องขังในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เพื่อออกบัตรประกันสุขภาพ รวมทั้งการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษา / ผ่าตัดผู้ต้องขัง จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ โดยวิธี E-claim นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ยังใช้ประโยชน์จาก Internet อย่างเต็มที่ในการค้นคว้าหาความรู้ และศึกษาผ่านระบบ E-learning รวมทั้งการดาวน์โหลด ข้อมูล ข่าวสารและหนังสือพิมพ์รายวันจาก เว็บไซต์ต่างๆมาเก็บไว้ในอินตราเน็ตของทัณฑสถานฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้อ่านกันอย่างจุใจ สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯต้องนำInternet ความเร็วสูงมาใช้ทั้งๆที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากก็เพราะข้อมูลที่ส่งออกไปทางInternetนั้นเป็นข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น รูปเอกซ์เรย์ ที่แพทย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯจำเป็นต้องขอดู (จากบ้าน) หรือจำเป็นต้องส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงเรียนแพทย์ ถ้าไม่ใช้ Internetความเร็วสูงระบบ ADSL ก็ต้องรอนานมาก


    การเชื่อมต่อเข้ามาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถาน- โรงพยาบาลฯเพื่อดูผู้ต้องขัง (ดูอาการผู้ต้องขังป่วยสำหรับแพทย์ หรือ เฝ้าระวังเหตุร้ายหรือการหลบหนี สำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุม) จำเป็นต้องอาศัย Internet ความเร็วสูงในการรับ - ส่งข้อมูล มิฉะนั้นจะไม่สามารถรีโมทผ่าน Internet เข้ามาควบคุมกล้องทีวีวงจรปิดจำนวนร้อยกว่าตัวที่ติดตั้งอยู่ในทัณฑสถานฯได้เลย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×