ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องคุกๆ

    ลำดับตอนที่ #23 : cctv

    • อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 50


    cctv

    เช่นเดียวกันกับระบบเสริมความมั่นคงของเรือนจำทั่วไป กล้องทีวีวงจรปิดจะช่วยลดความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำของเจ้าหน้าที่ลงได้มาก ที่แตกต่างไปจากเรือนจำทั่วไปก็คือ มีเจ้าหน้าที่ถึง 3 ทีมที่ได้ประโยชน์จากการใช้ระบบทีวีวงจรปิดนี้ คือ

     

    1. ทีมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2. ทีมพยาบาล 3. ทีมแพทย์

    ทีมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯจำเป็นต้องรับผู้ต้องขังที่มีโทษสูงจนถึงตลอดชีวิตและประหารชีวิต คนที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ต้องขังเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์) กรมราชทัณฑ์จึงจำเป็นต้องติดตั้งระบบทีวีวงจรปิดด้วยงบประมาณสูงถึง 35 ล้านบาท เพื่อช่วยในการควบคุมผู้ต้องขังโทษสูงและรักษาความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ด้วย (นอกจากผู้ต้องขังโทษสูงแล้ว ยังมีผู้ต้องขังโรคจิต ก้าวร้าว อาละวาด ที่เรือนจำต่างๆส่งมาจำนวนไม่น้อย) กล้องวงจรปิดในทัณฑสถานโรงพยาบาลฯมีอยู่ 155 ตัว ซึ่งนับว่าพอเพียงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ต้องขังซึ่งมีอยู่ไม่เกิน 500 คน เจ้าหน้าที่ในห้องควบคุมสามารถเลือกเฝ้าระวังผู้ต้องขังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ และสามารถเลือกอัดเทปผู้ต้องขังคนไหนก็ได้ ( อัดได้ทั้งระบบ analog ลงในม้วนวิดีโอเทป และ ระบบ digital ลงใน hard disk)

     

    ทีมพยาบาล ทีมพยาบาลสามารถเลือกเฝ้าดูผู้ต้องขังจากห้องทำงานใดๆในทัณฑสถานฯก็ได้ โดยผ่านทางระบบ gigabit LAN ซึ่งติดตั้งไว้กว่า150 จุด (ไม่นับระบบ wireless LAN ซึ่งสามารถดูได้ไม่จำกัดจำนวนจุด โดยไม่ต้องกังวลกับการเดินสาย LAN) เช่นเดียวกับทีมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ทีมพยาบาลสามารถเลือกบังคับกล้องให้ หันไปในทิศทางที่ต้องการรวมทั้งการซูมเข้า-ออก การโฟกัสและปรับขนาดรูม่านรับแสงของกล้องได้ กล้องที่ใช้จึงมีราคาค่อนข้างสูง เพราะการซูมให้เห็นหน้าผู้ต้องขังชัดเจนอาจเพียงพอสำหรับการรักษาความปลอดภัย แต่ไม่เพียงพอในการดูแลผู้ต้องขังป่วย ทีมพยาบาลจำเป็นต้องใช้กล้องที่สามารถซูมให้เห็นการหยดของน้ำเกลือหรือเลือดได้

    ทีมแพทย์ เพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นไปอย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น ภาพที่เกิดจากกล้องทีวีวงจรปิดทุกตัวจึงไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะวง LAN ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯเท่านั้น แต่ได้ถูกส่งออกไปนอก เรือนจำโดยผ่านทางระบบ Internet ความเร็วสูง เพื่อให้ทีมแพทย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯสามารถติดตามอาการของผู้ต้องป่วย เช่น ผู้ต้องขังป่วยในห้อง ไอ ซี ยู ผู้ต้องขังหลังผ่าตัด โดยดูจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านพักของแพทย์ได้ (จริงๆแล้ว จะดูจากที่ไหนในโลกก็ได้ครับ ที่มี Internet ให้ใช้ และมีรหัสผ่านเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×