คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #22 : การเยี่ยมผู้ต้องขัง
1. เยี่ยมปกติ คือการเยี่ยมที่ห้องเยี่ยมญาติจัดไว้สำหรับผู้ต้องขังทั่วไปที่สามารถเดินออกมาพบญาติที่ห้องเยี่ยมได้
2. เยี่ยมใกล้ชิด อนุญาตสำหรับผู้ต้องขังป่วยหนัก, หลังผ่าตัด, หรือไม่สามารถออกมาพบญาติที่ห้องเยี่ยมได้เจ้าหน้าที่จะพาญาติเข้ามาเยี่ยมภายในเรือนนอน
กำหนดการเยี่ยม
คดีทั่วไป วัน จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี ศุกร์
คดียาเสพติด วันพุธ
รอบเช้า ชาย 9.00 - 11.00 น.
หญิง 11.00 - 12.00 น.
รอบบ่าย ชาย 13.00 - 15.00 น.
อาหารการกิน
เมื่อเข้ามาอยู่ในเรือนจำ กรมราชทัณฑ์ก็รับประกันว่าผู้ต้องขังทุกคนจะมีสิทธิได้รับอาหารฟรี วันละ 3 มื้อทุกๆวัน จนกว่าจะพ้นโทษ น่าเสียดายที่เรือนจำได้รับงบประมาณค่าอาหารผู้ต้องขังแค่ 31 บาทต่อคนต่อวันเท่านั้น (เฉลี่ยแล้วประมาณ 10 บาทต่ออาหาร 1 มื้อ ! ! ) ซึ่งนับว่าค่อนข้างน้อย เพราะค่าข้าวสารค่าอาหารดิบ (กับข้าว) และค่าเชื้อเพลิงที่ใช้หุงต้ม มีราคาสูงขึ้น การจัดหาอาหารให้ผู้ต้องขังด้วยงบประมาณเพียง 10 บาท 30 สตางค์ ต่อมื้อต่อคนได้โดยที่ผู้ต้องขังไม่ประท้วงนั้นถือว่าเป็นโชคดีของผู้บริหารเรือนจำทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ มีทีมงานโภชนาการที่ทำหน้าที่ควบคุมการหุงหาอาหารซึ่งประกอบด้วยอาหารธรรมดา อาหารอ่อนและอาหารเหลวสำหรับผู้ต้องขังป่วย รวมทั้งอาหารมุสลิมสำหรับผู้ต้องขังที่นับถือศาสนาอิสลาม
เสื้อผ้าเครื่องนอน
ผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังป่วย ถ้าจะให้ซักเสื้อผ้าเองเหมือนผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำอื่นๆก็คงไม่เหมาะสม ทัณฑสถานฯจึงจำเป็นต้องรับภาระให้บริการ ซัก-อบ-รีด เสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ต้องขังโดยใช้มาตรฐานเดียวกันกับที่ใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป แต่ก็ให้บริการเฉพาะตอนที่เจ็บป่วยเท่านั้น เมื่อหายป่วยถูกส่งตัวกลับเรือนจำเดิมแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบซักเสื้อผ้าของตัวเอง (ฝึกให้เคยชินไว้ไม่เสียหลาย เมื่อพ้นโทษออกจากเรือนจำไปแล้ว จะได้ช่วยแบ่งเบาภาระแม่บ้านบ้างในการซักรีดเสื้อผ้า)ทัณฑสถานฯได้จัดเตรียมเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าขนาดใหญ่จำนวน10เครื่องไว้รองรับงานดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าเสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ต้องขังทุกคน จะได้รับการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคและซักด้วยน้ำร้อนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
การรักษาพยาบาล
ผู้ต้องขังเมื่อเจ็บป่วย ก็จะมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลเท่าๆกับประชาชนทั่วไป คือ ใช้บัตรทอง "30 บาท รักษาทุกโรค" ได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว เพราะกรมราชทัณฑ์ถือว่าผู้ต้องขังทุกคนเป็นผู้มีรายได้น้อยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีแพทย์สาขาต่างๆ เช่น อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช ด้าน หู คอ จมูก ด้านโรคผิวหนังศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำได้ภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ยกเว้นในบางสาขาเช่น การผ่าตัดสมองการรักษาด้วยรังสีบำบัดที่จำเป็นต้องส่งตัวออกไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอก บัตรทองช่วยให้ผู้ต้องขังทำฟันฟรีรวมทั้งการทำฟันปลอมฐานพลาสติก แต่...ฟันปลอมราคาแพงบางชนิด ผู้ต้องขังต้องขังต้องจ่ายเงินเอง
การฝากของให้ผู้ต้องขัง
ไม่ต้องเสียเวลาฝากของให้ผู้ต้องขัง เพราะ เราอนุญาตให้ผู้ต้องขัง สั่งซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ของห้างสรรพ-สินค้าได้โดยตรง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ :
โดยปกติแล้ว เรือนจำทุกแห่งต้องตรวจค้นอาหารและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ญาตินำมาฝากให้ผู้ต้องขัง เช่น สบู่ แชมพูสระผม ยาสีฟัน ผลไม้ ขนมปัง
มาส่งให้ทุกๆวัน โดยวิธีนี้ ทำให้ทัณฑสถานฯไม่ต้องเสียเวลามายุ่งเรื่องค้าขาย (ตั้งหน้าตั้งตารักษา - ผ่าตัดผู้ต้องขังอย่างเดียวก็ทำกันแทบไม่ทันอยู่แล้ว) และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ต้องขังและญาติก็พอใจเพราะมีสิทธิซื้อของได้ในราคาที่เท่ากันกับประชาชนทั่วไป (ถ้าสินค้าที่ซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตแพงก็ไม่ต้องมาต่อว่าทัณฑสถานฯให้ไปต่อว่าห้างสรรพสินค้าได้เลยครับ)
บะหมี่สำเร็จรูป กาแฟ น้ำหวาน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งของต้องห้าม ซุกซ่อนเข้ามากับของฝาก การตรวจค้นนั้นนอกจากจะเสียเวลาแล้ว บางครั้ง ก็ทำให้ของฝากเสียหายเพราะต้องตรวจกันอย่างละเอียดทุกซอกทุกมุม เรือนจำส่วนใหญ่จึงแก้ปัญหานี้โดยการตั้งร้านสงเคราะห์เ พื่อให้ญาติหรือผู้ต้องขังซื้ออาหารและของใช้ต่างๆจากเรือนจำได้โดยตรง จึงไม่ต้องเสียเวลาตรวจค้น
ส่วนที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลนั้น มีปัญหาเรื่องขาดแคลนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถจัดตั้งร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังได้ ดังนั้น ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ จึงแก้ปัญหานี้ โดยการอนุโลมให้ผู้ต้องขังสั่งซื้ออาหารและของใช้ต่างๆ จาก ซุปเปอร์มาร์เก็ต ของห้างสรรพสินค้าได้โดยตรง โดยทางซุปเปอร์มาร์เก็ตจะส่งรายการสินค้าทั้งหมดพร้อมราคามาให้ผู้ต้องขังเลือก และจะนำสินค้าที่ผู้ต้องขังสั่ง
เงื่อนไขในการซื้อของจาก ซุปเปอร์มาร์เก็ต :
1. ซื้อของได้วันละไม่เกิน 200 บาท (ตามระเบียบที่กรมราชทัณฑ์กำหนดไว้)
2. ไม่อนุญาตให้ซื้อของฟุ่มเฟือย เช่น สบู่ อาหารสำเร็จรูปหรือ ขนมขบเคี้ยวที่นำเข้าจากต่างประเทศ
3. ไม่อนุญาตให้ซื้อสินค้ามาเก็บกักตุนไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ต้องขังนำสินค้ามาใช้แทนเงินสดในการเล่นการพนันกันในเรือนจำ
ความคิดเห็น