ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้รอบตัว

    ลำดับตอนที่ #2 : วาฬและโลมา2

    • อัปเดตล่าสุด 8 ก.ค. 48


    วาฬและโลมา2

    การว่ายน้ำ

    วาฬเป็นนักว่ายน้ำที่น่าทึ่ง พวกมันเคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยอาศัยครีบหน้า หาง และลำตัวที่มีผิวหนังเนียนเรียบ พวกมันจำเป็นต้องว่ายน้ำเก่งเพื่อหาอาหารและหลบหนีสัตว์อื่นที่อาจจะทำร้ายมัน



    การพุ่งไปข้างหน้า

    วาฬมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลังอยู่ 2 ชุด เพื่อช่วยให้มันขยับหางขึ้นลง กล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุดถูกใช้เพื่อขยับหางขึ้น การเคลื่อนที่ลักษณะนี้เรียกว่า การพุ่งไปข้างหน้า



    นักว่ายน้ำที่ปราดเปรียว

    การเคลื่อนที่ผ่านน้ำยากกว่าผ่านอากาศ เมื่อน้องๆ ว่ายน้ำ น้ำจะฉุดร่างกายของน้องๆ ไว้ ทำให้น้องๆ ว่ายน้ำได้ช้าลง วาฬมีผิวหนังที่มันซึ่งช่วยให้น้ำไหลผ่านตัวมันง่ายขึ้น ชั้นไขมันยังเคลื่อนที่รอบๆ ใต้ชั้นผิวหนังขณะที่มันว่ายน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำไม่รั้งตัวมันไว้มากเกินไป



    วาฬกระโจน

    วาฬมักกระโจนขึ้นสู่อากาศโดยเอาหัวขึ้นมาก่อน และทิ้งตัวลงทำให้น้ำแตกกระจาย การกระทำเช่นนี้เรียกว่า บริชชิง หรือการทิ้งตัวให้น้ำกระจาย ไม่มีใครทราบแน่ว่าทำไมพวกมันจึงทำเช่นนั้น มันอาจเป็นการส่งสัญญานกัน เป็นการหาอาหารเหนือน้ำ หรือเพื่อความสนุก



    วาฬเพชฌฆาตตัวนี้กระโจนขึ้นสู่อากาศ

    วาฬกระโจนขึ้นมาโดยการว่ายน้ำขึ้นมาที่ผิวน้ำและใช้กล้ามเนื้อที่ทรงพลังของมันดันตัวเองขึ้นมาจากน้ำ



    คอแข็ง

    วาฬส่วนใหญ่มีคอสั้นและแข็งแรง เพื่อว่าพวกมันจะได้ขยับหัวขึ้นและลงได้เท่านั้น ไม่ใช่จากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง สิ่งนี้จะช่วยไม่ให้หัวของพวกมันแกว่งไปมาขณะที่ว่ายน้ำ ซึ่งจะทำให้พวกมันช้าลง ในการมองไปรอบๆ วาฬจะต้องหันไปทั้งตัวโดยใช้ครีบหน้าและแพนหาง



    ประสาทสัมผัสพื้นฐาน

    วาฬมีสัมผัสเบื้องต้น 4 ประเภท ซึ่งเข้ากันได้ดีมากกับชีวิตใต้น้ำของพวกมัน สัมผัสที่ว่าคือ การมองเห็น การสัมผัส การรับรส และการได้ยิน เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แต่ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นตรงที่วาฬส่วนใหญ่ไม่มีประสาทสัมผัสในการรับกลิ่น



    การสัมผัส

    วาฬมีผิวหนังที่ไวต่อความรู้สึก ดังนั้นพวกมันจึงไวต่อการสัมผัส พวกมันใช้การสัมผัสเพื่อการติดต่อสื่อสารกัน โลมามักจะแสดงให้โลมาตัวอื่นเห็นว่าเป็นเพื่อนกัน โดยการเอาท้องไปถูหรือโดยการเอาครีบหน้าไปตีพวกมันเบาๆ





    การได้ยิน

    เมื่อเสียงเดินทางจะก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน วาฬสามารถได้ยินเสียงโดยการรับรู้การสั่นสะเทือนนั้นด้วยหูที่อยู่ข้างในหัวของมัน เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด การสั่นสะเทือนบางอย่างไปถึงหูของพวกมัน โดยผ่านช่องเล็กๆ ที่อยู่ด้านหลังตาแต่ละข้าง แต่เสียงส่วนใหญ่เดินทางไปถึงหูของพวกมันโดยการสั่นสะเทือนไปตามขากรรไกรล่างของพวกมัน



    การรับรส

    ลิ้นของวาฬไวต่อการรับรส พวกมันใช้ประสาทสัมผัสนี้ เพื่อตัดสินว่าอาหารชนิดใดกินได้ นักวิทยาศาสตร์คิดว่าวาฬตัวอื่นได้ด้วย เพื่อบอกว่าวาฬเหล่านั้นเป็นมิตรหรือไม่



    ข้างบนและข้างล่าง

    วาฬส่วนใหญ่มีสายตาดีและบางพันธุ์สามารถปรับสายตาให้มองเห็นได้ดี ทั้งตอนที่อยู่ในอากาศและในน้ำ วาฬมักโผล่หัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำเพื่อมองไปรอบๆ ลักษณะนี้เรียกว่า การโผล่ขึ้นมาสำรวจ



    การมองเห็นในทะเล

    สัตว์ทุกชนิดต้องการแสงเพื่อสามารถมองเห็น แต่วาฬส่วนใหญ่สามารถเห็นได้ดีแม้ในน้ำขุ่นและมืด ที่ด้านหลังของตาของวาฬเป็นชั้นที่สะท้อนแสงเรียกว่า ทาพีทัม ชั้นนี้จะสะท้อนแสงกลับเข้าไปในตาของวาฬ ซึ่งจะช่วยให้มันใช้ประโยชน์จากแสงสลัวๆ ในน้ำได้



    http://www.plawan.com/dophins/content/d2.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×