ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ลักธิ-สกุลศิลป์

    ลำดับตอนที่ #8 : ลัทธิเซอร์เรียลลิสซึ่ม (Surrealism)

    • อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 55


    ลัทธิเซอร์เรียลลิสซึ่ม (Surrealism)

          เป็นลัทธิทางศิลปะที่มีความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1924 มีความคิดตามครรลองทฤษฎีของนักจิตวิทยาซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเชื่อในเรื่องการแสดงออกของคนเราจากสัญชาตญาณจิตไร้สำนึกและความฝัน แนวทางในการแสดงออกของ  ชากาล (Marc Chagall)          ดาลี (Salvador Dali) เอินสท์ (Max Ernst)



    ทัศนศิลป์ลัทธิเซอเรียลิสม์ (Surrealism Visual Art) เป็นการแสดงออกอย่างเสรีของจิตไร้สำนึกอย่างแท้จริง ปราศจากสติควบคุมศิลปินกลุ่มนี้พยายามสร้างทัศนศิลป์จากความฝันและความรู้สึกภายในที่แสดงออกภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึก มีความคิดความฝันต่าง ๆ ซึ่งเก็บซ่อนอยู่ภายยใต้จิตโดยมนุษย์ไม่รู้สึกตัว ถ้าแสดงออกมามนุษย์ก็จะรับรู้ได้ทันทีถึงความฝฝันนั้น ๆ ว่าจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง

                    ทัศนศิลป์เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สำรวจสิ่งซ่อนเร้นที่อยู่ภายในตัวมนุษย์ ผู้นำกลุ่มคือ องเดร บรูตอง (Andre Breton) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เชื่อที่มีความว่า จินตนาการเป็นส่วนประกอบสำคัญในการแสดงออกและจินตนาการนี้ก็คือ จิตไร้สำนึก ที่ช่วยนำไปสู่ความสร้างสสค์งานทัศนศิลป์

             สาเหตุการสร้างงานทัศนศิงป์ลัทธิเซอเรียลิสม์ ได้แก่

                  1. ตอบสนองด้านจิตใจ เรื่องความงาม   เส้น   สี  รูปทรง และความรู้สึกของผู้สร้างที่อยู่ภายใต้จิตไร้สำนึกที่แสดงออกมาให้ผู้ชมได้รับรู้

                   2. ความเชื่อ สำนึกของคนเรายังเห็นว่า ความฝัน คือ ความบริสุทธิ์ ความป่าเถื่อนยังหลบอยู่ในจิตใจของมนุษย์ และจิตใต้สำนึกนี้จะระเบิดออกมาได้ทุกขณะ ถ้าปราศจากการควบคุม

             สุนทรียภาพและรูปแบบงานจิตรกรรมลัทธิเซอเรียลิสม์ คือ

                   1. รูปแบบกึ่งนามธรรม คือ มีตัวตน และไม่มีตัวตน

                   2. เป็นเรื่องราวในอดีต เช่น ความผิดหวัง ความรัก ความหยิ่งผยอง ความกลัว

                   3. เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับจินตนาการของศิลปินเอง

                   4. เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบบัน ด้านเวลา อายุ ความเน่าเปื่อย

                   5. แสดงรูปทรง ธรรมชาติ เรขาคณิต อิสระ ที่บิด ๆ เบี้ยว ๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×