คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : ลัทธิฟิวเจอริสม์(FUTURISM)
ลัทธิฟิวเจอริสม์(FUTURISM)
เน้นการแสดงภาพที่แสดงถึงความเร็ว วิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหว โดยทั่วไปแนวทางศิลปะแบบฟิวเจอริสม์ได้นำเอาลักษณะของศิลปะแบบคิวบิสม์ผสมผสานกับลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษของศิลปะนี้ลัทธิ"ฟิวเจอริสม์" เป็นลักษณะการเขียนแบบคิวบิสม์ แต่มีจุดประสงค์แสดงความเคลื่อนไหว คือทำให้เกิดลักษณะแอ๊บสแตรค ที่เรียกว่า ความเร็ว และการผันแปรที่มองเห็นได้เป็นศิลปะที่เริ่มที่กรุงปรารีส
ศิลปกรรมลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) เป็นศิลปะที่สะท้อนสภาวะในอนาคต โดยมีแนวคิดว่าการความเคลื่อนไหวและรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism)
.........ลัทธิฟิวเจอริสม์เริ่มเคลื่อนไหวในอิตาลี ดินแดนแห่งศิลปะชั้นสูงของโลกสมัยฟื้นฟู ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญ ท้าทายแบบอย่างศิลปะเดิม และให้อิทธิพลต่อแนวคิดสำหรับศิลปินสมัยใหม่ (Modern Art)มาก เริ่มด้วยศิลปินหนุ่มๆกลุ่มหนึ่ง มีทั้งจิตรกร นักเขียนและผู้ที่มีหัวหน้าร่วมกัน มีความคิดเห็นร่วมกัน แสดงความมุ่งหมาย และหลักการ 3 ข้อ คือ เผาพิพิธภัณฑ์(Burn the Museum) ทดน้ำในคลองเวนิส (Drain thr Cannal of Venice) และทำลายแสงจันทร์ (Let shill the moonlight)นับเป็นวิธีการที่รุนแรงกับสังคมในลักธิการเมือง แบบ ฟาสลิสต์ ของมุสโสลินี
...........ลัทธิการเขียนแบบฟิวเจอริสม์ เป็นลักธิการเขียนแสดงถึงวิธีความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่ไม่อยู่นิ่ง ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นความเร็ว แสงเสียง ศิลปินกลุ่มนี้จึงยึดถือ ความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ความเคลื่อนไหวของจักรกล และความเร็ว
.....1. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความเจริญทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
.....2. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวัตถุที่พวกฟิวเจอริสซึ่ม เลือกเขียนเป็นวัตถุที่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเคลื่อนไหวได้ เช่น วงล้อจักรยาน วงล้อรถยนต์ ทางเดินของแสงชนิดต่างๆ
.....3. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับนคร เมือง
.....4. เนื้อเรื่องเกี่ยวกับคน
Futurism (ฟิวเจอริสม์)
เป็นคำที่พวกหนังสือพิมพ์ขนามนามกัน หมายถึงศิลปะที่ใหม่กว่าปี ค.ศ.1900
เป็นศิลปะที่แสดงความงามแนวใหม่
เช่นแสดงทัศนะของเสียงอันกึกก้องของมอเตอร์ไซค์ ปืนกล
ซึ่งเป็นการร่วมสมัยกับสงคราม และกลมกลืนกับคตินิยมของพวกเผด็จการฟาสซิสม์
ปี1912 ศิลปะฟิวเจอริสม์ออกแสดงในปารีส ได้สร้างความอื้อฉาวอย่างยิ่ง
จากนั้นได้แสดงในลอนดอน และเมืองต่างๆ ทั่วยุโรป
โดยทั่วไปแนวทางศิลปะแบบฟิวเจอริส
ได้นำเอาลักษณะของศิลปะแบบคิวบิสม์ผสมผสานกับลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง
อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษของศิลปะนี้
-------
ลัทธิ"ฟิวเจอริสม์" เป็นลักษณะการเขียนแบบคิวบิสม์
แต่มีจุดประสงค์แสดงความเคลื่อนไหว คือทำให้เกิดลักษณะแอ๊บสแตรค ที่เรียกว่า
ความเร็ว และการผันแปรที่มองเห็นได้เป็นศิลปะที่เริ่มที่กรุงปรารีส
แต่ลัทธินี้กลับเป็นที่นิยมของศิลปินชาวอิตาเลี่ยน ดังเช่น มาริเนทตี้
ซึ่งเป็นกวีและเป็นนักละคร กับพรรคพวกซึ่งเขาเหล่านี้เป็นสหายของมุสโสลินี
พวกเขาประกาศว่า
"ความวิจิตรรจนาเอี่ยมอ่อง เสียงแผดกังวาลของรถยนต์ เสียงรัวของปืนกล
ดูจะยิ่งงามมากกว่ารูปจำหลักศิลาของกรีกที่มีชื่อว่า The Wing Victory Of
Samothraec เสียอีก เราชื่นชมต่อภาวะของสงคราม"
ในปี1912
มีการแสดงภาพของฟิวเจอริสท์ในปรารีสซึ่งอื้อฉาวพอสมควรจากนั้นไปแสดงที่ลอนดอน
เบอร์ลินและทั่วไปจนทั่วยุโรป ทำให้เกิดความโกลาหลเป็นอย่างยิ่ง
ศิลปะฟิวเจอริสท์ทำให้สุนทรียภาพของสังคมสมัยเก่าตายสนิท
ในวาระสมัยของสังคมโลกครั้งแรก
ความคิดเหล่านั้นเป็นความคิดที่กระเจิดกระเจิง
ประกอบด้วยภาวะของสงครามอันโหดร้าย
กับลัทธิเผด็จการฟาสซิสท์ได้ก่อต้วอย่างรวดเร็ว ผู้คนสับสนและหลงทาง
ปรัชญาของศิลปะสมัยใหม่ก็คือใครก็ได้มีความคิดแผลงโลกขึ้นมาในช่วงนั้น
ดูเหมือนว่าจะถูกยกย่องเป็นวีรบุรุษและสมองมีความเป็นอัจฉริยะ
ซึ่งกาลเวลาได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าความแปลกใหม่เหล่านั้นมิใช่สิ่งอันมีค่าดีวิเศษเสมอไป
บางทีการสร้างสรรค์อาจมาในรูปของผู้เข่นฆ่านักทำลาย
หรือผู้เป็นนักคิดที่สมองเต็มไปด้วยความวิปริต
ความคิดของผู้คนในช่วงสงครามโลก
เมื่อมนุษย์จับอาวุธร้ายแรงเข้าประหัตประหารกัน การตื่นตัวของเผด็จการ
ความวุ่นวายบ้านแตกสาแหรกขาดเหล่านั้น
ย่อมไม่ก่อให้เกิดปรัชญาของศิลปะสมัยใหม่อันเลอเลิศแต่ประการใด
ศิลปะแบบลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism ประมาณ พ.ศ. 2452 - 2475)
รูปแบบอันเนื่องมาจากความเคลื่อนไหว ฟิวเจอร์ริสม์ เป็นชื่อเรียกศิลปะที่สะท้อนสภาวะในอนาคต โดยมีแนวคิดว่าการเคลื่อนไหว และความรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต
จากสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความเจริญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การคมนาคม การสื่อสาทุกคนต้องแข่งขันกันต้องมีการเคลื่อนไหวในทุกด้านตลอดเวลา ศิลปินจึงสร้างงานศิลปกรรมที่แสดงการเคลื่อนไหว โดยใช้รูปร่าง รูปทรงที่ซ้ำกันทับซ้อนกัน เพื่อแสดงถึงความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และมักจะแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการทำงาน การต่อสู้ดิ้นรน เป็นต้น
ความคิดเห็น