ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~สายใยของธรรมชาติ คือ สายใยของชีวิต~

    ลำดับตอนที่ #2 : กลวิธีในการนำเสนอ

    • อัปเดตล่าสุด 9 ม.ค. 54


    กลวิธีในการนำเสนอ

    1.              การอธิบาย

    ·       ความหมาย

    การอธิบาย คือ การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริง ความสัมพันธ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ทางสังคม

    ·       กลวิธีในการอธิบาย

    o   ใช้คำจำกัดความ เป็นการบอกความหมายของคำ การอธิบายคำจำกัดความ  จะมีคำว่า คือ เป็น หมายถึงเช่น จากเรื่องนี้ใช้ชื่อเรื่องว่าสายใยธรรมชาติ คือสายใยของชีวิต ก็บอกว่า คำว่าสายใยนั้นหมายความว่าความผูกพันเป็นการอธิบายคำจำกัดความ  จะมีคำว่า คือ เป็น หมายถึง

    o   ยกตัวอย่างประกอบ  เป็นการแสดงหรือนำตัวอย่างประกอบการอธิบายให้เห็นภาพ จะมีคำว่า อาธิ เช่น หรือ ยกตัวอย่างเหตุการณ์  เช่น  สัตว์ที่อยู่ในน้ำจืดมีหลากหลายชนิด เช่น ปลานิล กุ้งแม่น้ำ ปลาบึก เป็นต้น

    o   อธิบายตามลำดับขั้นตอน ใช้กับกิจกรรมหรือการปฏิบัติหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นกระบวนการหรือกรรมวิธี มีขั้นตอนเป็นระยะ เช่น หลังจากที่จบการประชุมแล้ว ขอให้นักเรียนทุกคนอยู่รับประทานอาหารพร้อมกันที่โรงอาหาร

    o   ชี้เหตุชี้ผล การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการใช้เหตุผลจะก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น ถ้าเกิดคนเราไม่เคารพต่อสิทธิเสรีภาพของคนอื่น ก็จะทำให้สังคมของเราวุ่นวายจนถึงขั้นประเทศแตกแยกเลยก็เป็นได้

    o   เปรียบเทียบความเหมือนและต่าง เป็นการอธิบายเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆ เช่น สตร์อมเซิร์จกับสึนามินั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยคลื่นทั้งสองชนิดนนี้เป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่พัดเข้าชายฝั่ง แต่จะแตกต่างกันตรงลักษณะของการเกิด คือ สึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์พีดเข้าชายฝั่ง แต่ Storm surge นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยมีตัวแปรจากพายุ

    o   กล่าวซ้ำย้ำความเดิม การกล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำแปลกออกไป โดยความคิดอย่างเดียวกันนั้นจะมีวิธีแสดงออกได้ด้วยประโยคที่แตกต่างกัน กล่าวคือเป็นการใช้คำหรือการวางลำดับแตกต่างกันออกไป มักจะมีคำว่า"กล่าวคือ"แต่อาจไม่มีเสมอไปก็ได้  เช่น  การมีวัฒนธรรมแสดงให้เห็นถึงความเจริญ กล่าวคือ เมื่อสังคมใดมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองนั้น ประเทศนั้นก็จะสามารถพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้ดีได้ เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป

    2.              การโน้มน้าวใจ

    ·       ความหมาย

    การโน้มน้าวใจ   คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่นด้วยกลวิธีที่เหมาะสม ให้มีผลกระทบต่อจิตใจบุคคลนั้นจนเกิดการยอมรับ และยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ

    ·       กลวิธีการโน้มน้าวใจ

    o   สร้างความหรรษา การโน้มน้าวใจในเรื่องบางเรื่องหากเอาจริงเอาจังเกินไปแล้ว การโน้มน้าวใจจะไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้วิธีการแบบทีเล่นทีจริงหรือใช้อารมณ์ขันบ้างอาจได้ผลดีเพราะเปลี่ยนบรรยากาศที่เคร่งเครียดให้เป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพอารมณ์จากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลางๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโอกาส สถานที่ และอัธยาศัยของบุคคลประกอบกันด้วย จึงจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์  เช่น ไอศกรีมของเรามีรสชาติดีมาก ซื้อวันนี้แถมฟรีไม้ไอศกรีม

    o   สร้างความศรัทธา เป็นการแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ  ประการ  คือ  

    1.             การแสดงว่ามีความรู้จริง อาจทำได้โดยอธิบายเรื่องราวได้ละเอียดลออ ถูกต้อง  แม่นยำ แสดงความรู้ได้ลุ่มลึกชัดเจน

    2.             การแสดงว่ามีคุณธรรม อาจทำได้โดยการเล่าประสบการณ์จริงที่แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมต่างๆ

    3.             การแสดงความปรารถนาดีต่อผู้อื่น อาจทำได้โดยการให้คำมั่นสัญญาที่อยู่ในวิสัยที่ปฏิบัติได้ ซึ่งแสดงความปรารถนาดีของตนหรือชี้ให้เห็นความห่วงใย ชี้ให้เห็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ

    ยกตัวอย่างเช่น ประธานพรรคกรรมการนักเรียนของเราได้รับเกียรติบัติ ผลการเรียนดีเด่น 3 ปีซ้อนและยังเป็นตัวแทนโรงเรียนในการแข่งขันทางด้านกีฬาฟุตบอลและบาสเกตบอล

    o   บอกข้อดีและข้อเสีย เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ตนโน้มน้าวใจได้ใช้วิจารณญาณของเขาเอง โดยชี้ให้ว่าสิ่งนั้น มีด้านที่เป็นโทษ อย่างไร ด้านที่เป็นคุณอย่างไร เปรียบเทียบจนเห็นประจักษ์ว่าทางที่ชี้แนะนั้น ด้านดีมากกว่าด้านเสีย เช่น  ถ้าหากท่านได้ใช้ยาหม่องของเรา จะทำไห้อาการวิงเวียนของท่านหายเป็นปลิดทิ้ง แต่ถ้าหากท่านไม่ซื้อ ท่านอาจจะวิงเวียนศีรษะจนล้มในห้องน้ำทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลก็อาจเป็นได้

    o   ใช้ถ้อยปลุกคำจิตสำนึก เป็นการเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า ไม่ว่าจะเป็นความดีใจ เสียใจ โกรธแค้น กังวล หวาดกลัว ฯลฯ จะทำให้มนุษย์ขาดเหตุผล ขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมคล้อยตามผู้โน้มน้าวใจได้ง่าย  เช่น เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน 

    o   สร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วม การแสดงให้ผู้อ่านประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน ย่อมทำให้เกิดความคล้อยตามกันได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กัน  เช่น โลกจะสวยด้วยมือของเราทุกคน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×