ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหา วิชาอารยธรรมตะวันตก และประวัติศาสตร์ ม.5

    ลำดับตอนที่ #2 : อารยธรรมกรีก(รูปภาพ และคำบรรยาย)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.69K
      7
      20 มี.ค. 60

    อารยธรรมกรีก(รูปภาพ และคำบรรยาย)





    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์นักรบแห่งมาซิโดเนีย



    รูปปั้นทหารของนครรัฐสปาร์ตา



    วิหารพาร์เทนอน บนเนินเขาอะโครโพลิส





    อีสป ผู้แต่งนิทานอีสป



    รูปปั้นเพลโต



    โซเครติส



                           รูปปั้นโฮเมอร์



    รูปปั้นอริสโตเติล


                                     
    มะกอก อาหารหลักอย่างหนึ่งของกรีก




                    ภาพวาดไฮดราบนแจกันกรีกโบราณ


    ประติมากรรมของกรีก


    ประติมากรรมแบบเรขาคณิต ภาพคนผู้ชายกับสัตว์ในเทพนิยายครึ่งคนครึ่งม้าสมัยครึ่งหลังของศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ไม่ปรากฏชื่อประติมากร รูปนี้ดูได้ที่The Metropolitan Museum of Art, New York งานประติมากรรมแบบนี้ของกรีกจะอยู่ในระหว่างศตวรรษที่10-8 ก่อนคริสตกาล มักอยู่ในงานประติมากรรมขนาดเล็ก รูปสัตว์ คน เทพเจ้า สัตว์ในเทพนิยายวัสดุที่ใช้ทำด้วยสัมริด ดินเผา งานมีลักษณะแข็ง ให้ความรู้สึกเกรงขาม เนื่องจากเป็นงานศิลปะที่ใช้ในทางศาสนาพบมากตามวัดต่างๆ ต่อมามีการใช้วัสดุไม้


    รูป Kouros ขนาดเล็ก ทำด้วยสัมริด โดยประติมากรชื่อ Dedale ราว 620 ปีก่อนค.ศ. ปัจจุบันดูได้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง Delphes ประเทศกรีซ

    รูป หญิงแห่ง Auxerre ทำด้วยหินปูน โดย Dedale ราว 640-630 ปีก่อนค.ศ. จะเห็นแบบที่แข็งแต่ท้วมและได้สัดส่วนขึ้น วิกทรงผมถักเป็นเปียทั้งศีรษะ บ่งบอกให้เห็นถึงอิทธิพลของอียิปต์ในศิลปะกรีกปัจจุบันดูได้ที่ พิพิธภัณฑ์ Louvre ประเทศฝรั่งเศส



    รูป คนขี่ม้า Rampin ทำด้วยหินอ่อน เป็นงานของประติมากรชาวเอเธนส์ราว 550 ปีก่อนค.ศ. จะเน้นอิทธิพลของศิลปะไอโอเนียน (แถวริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี)ตรงที่แสดงรายละเอียดของสรีระ ใบหน้ามีรอยยิ้ม บ่งบอกถึงความสุขและความงามในวัยหนุ่มสาวดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ประเทศฝรั่งเศส



    งานประติมากรรมกรีกแบบโบราณ ดูได้จากตามลายประดับรอบวัดหรือที่หน้าบันเป็นงานแกะสลักภาพหมู่ เรื่องราวในเทพนิยาย มีลักษณะเด่นในด้านการจัดภาพได้สวยงามมีจังหวะ ดังเช่นภาพนี้ เป็นงานแกะสลักหินอ่อน ภาพเทพเจ้าของกรีก คือ Ares,Eos, Artemis, Appollo และ Zeus ราว 525 ปีก่อนค.ศ. ไม่ปรากฏชื่อประติมากรปัจจุบันดูได้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง Delphes ประเทศกรีซ



    งานประติมากรรมแบบนูนต่ำ สลักบนหินอ่อน ใช้ประดับตามหลุมศพ รูปนักรบเอเธนส์ชื่อAristion โดยประติมากรชื่อ Aristocles ราว 510 ปีก่อนค.ศ. ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ



    รูป ศีรษะ Aurige แห่ง Delphes ทำด้วยสัมริดนัยตาฝังหินสี ราว 470 ปีก่อนค.ศ. ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองDelphes ประเทศกรีซ



    รูป เทพเจ้า Zeus อุ้ม Ganymedes ราว 470 ปีก่อนค.ศ. แสดงให้เห็นถึงความนิยมในงานประติมากรรมด้วยดินเผาระบายสีด้วยเช่นกันส่วนประติมากรไม่ระบุชื่อไว้ ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ Olympia ประเทศกรีซ



    Doryphore วาดโดย Polyclete ทำด้วยหินอ่อน ราว 440 ปีก่อนค.ศ.แสดงการแบ่งส่วนในการปั้นรูปคน



    Diadumene ปั้นโดย Polyclete ทำด้วยหินอ่อน ราว 430 ปีก่อนค.ศ.ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงทริโปลี ประเทศลิเบีย



    งานประติมากรรมนูนต่ำ สลักบนหินอ่อน ใช้ประดับวิหาร Parthenonในกรุงเอเธนส์นี้เป็นงานของประติมากร Phidias จะเห็นว่าเขาเน้นความเป็นธรรมชาติเน้นจีบของผ้ามาก และเน้นความรู้สึกที่แสดงออกมาทางใบหน้า ในภาพเป็นเทพเจ้า3 องค์ของกรีก คือ จากซ้ายไปขวา Poseidon, Apollon และ Artemis ทำขึ้นราว440 ปีก่อนค.ศ. ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ Acropole เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ



    รูป นักรบ ทำด้วยสัมริด พบอยู่ใต้ทะเลใกล้เมือง Riace ที่ Calabreเมื่อ ค.ศ. 1972 เป็นหลักฐานให้เราเห็นถึงความชำนาญในการใช้สัมริดในงานประติมากรรมแบบคลาสสิครุ่นแรก ส่วนประติมากรนั้นไม่ปรากฏชื่อไว้ ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ Reggio เมืองCalabre ประเทศกรีซ



    รูปปั้นหินอ่อน ราว 340 ปีก่อนค.ศ. Hermes อุ้มเทพเจ้า Dionysos สมัยเยาว์วัยของประติมากร Praxitele อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Olympia ประเทศกรีซบ่งถึงอิทธิพลของประติมากรรมแบบคลาสสิคยุคแรกที่ต่อเนื่องมาสู่
    ประติมากรรมแบบคลาสสิคยุคหลังต่างกันตรงที่ใช้คนวัยหนุ่มรูปร่างดี (แทนที่จะเป็นผู้ใหญ่แบบยุคแรก) หรือไม่ก็เป็นรูปหญิงสาวที่สวยงามและรูปทรงดีเช่นกัน



    เมื่อไม่มีหินอ่อน Praxitele หันมาใช้สัมริดได้อย่างชำนาญ ดังเช่นรูปMarathon สมัยวัยหนุ่ม ทำขึ้นราว 340 ปีก่อนค.ศ. ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ



    ประมาณ 350 ปีก่อนค.ศ. ประติมากรประจำพระองค์ในพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชชื่อ Lysippe de Sicyone ปรับปรุงกฎการปั้นรูปคนใหม่ จากการแบ่งสัดส่วน 7ส่วน เป็น 8 ส่วน ส่วนศีรษะเป็นส่วนที่ 8



    งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา แบบใช้แม่พิมพ์ สมัยคลาสสิคยุคหลังเป็นงานที่สวยงามมากอย่างหนึ่ง ที่เป็นแบบอย่างต่อมาให้แก่ กรีก-เฮเลนิสติกเช่น ในรูปนี้เป็นเครื่องดินเผาของสำนักศิลปะ Tanagra สมัยปลายศตวรรษที่ 4ก่อนคริสตกาล ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ Staatliche กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน



    ประติมากรรมแบบนูนต่ำ รอบโลงศพหินอ่อน เป็นลาย หญิงร้องไห้ ทำขึ้นราว350 ปีก่อนค.ศ. ที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมือง Istambul สะท้อนให้เห็นงานประติมากรรมแบบเฮเลนิสติกที่เน้นภาพใกล้เคียงความเป็นจริงและการแสดงออกทางใบหน้า



    รูปปั้นเทพเจ้า Apollon ผู้ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นชายหนุ่มรูปงามเป็นโอรสของเทพเจ้า Zeus และพระนาง Leto เป็นเทพเจ้าที่มีบทบาทในหลายด้านหลายลัทธิ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่มีวันแก่ เป็นสัญลักษณ์ของความงามแบบนักกีฬารูปนี้ปั้นโดย Praxitele สมัยกลางศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์Louvre กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส



    ภาพศีรษะผู้ชาย ทำด้วยสัมริด พบที่เกาะ Delos ราว 100 ปีก่อนค.ศ.ให้เห็นลักษณะการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าอย่างชัดเจน รูปนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงเอเธนส์



    ลายนูนต่ำ เล่าเรื่องราวของสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย เป็นงานที่นิยมทำมากเช่นกันภาพนี้เป็นลายบนโลงศพที่เรียกว่า Alexander ทำขึ้นราว 310 ปีก่อนค.ศ.ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง Istambul ไม่ปรากฏชื่อประติมากร



    ประติมากรสมัย เฮเลนิสติกบางคนเน้นลายจีบของเครื่องนุ่งห่มและการวางท่าที่สมดุลย์ ดังเช่น รูปปั้นหินอ่อนของเทพธิดา Aphoride เทพธิดาแห่งความงามหรือที่คนทั่วไปในสมัยปัจจุบันเรียกว่า วีนัส นั่นเอง รูปนี้ไม่ทราบนามประติมากรแต่ทำขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ประเทศฝรั่งเศส



    ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ งานที่เน้นให้เหมือนจริงตามลักษณะธรรมชาติ ไม่ว่าเป็นรูปปั้นคนแก่ คนป่วยเด็ก ฯลฯ ก็จะทำออกมาตามความจริง รูปนี้เป็นศีรษะนักปรัชญากรีก ทำด้วยสัมริดเมื่อราว 225 ปีก่อนค.ศ. ดูได้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ



    จุดเด่นของงานประติมากรรมกรีกแบบเฮเลนิสติค คือ การให้รายละเอียดทำได้อย่างงดงามมาก รูปสลักหินนี้เป็นภาพงานฉลองความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ทำขึ้นเมื่อราว 175 ปีก่อนค.ศ. ไม่ทราบนามประติมากร ชมได้ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีเมืองเนเปิ้ล


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×