ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหา วิชาอารยธรรมตะวันตก และประวัติศาสตร์ ม.5

    ลำดับตอนที่ #23 : ความขัดแย้งและสงคราม

    • อัปเดตล่าสุด 3 มี.ค. 55


    ความขัดแย้งและสงคราม


    ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่มีมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาอยู่ด้วยกัน

    ส่วนมากแล้วความขัดแย้งของมนุษย์สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์มักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัย 3 ประการ



    1. แย่งอาหาร 2. แย่งที่อยู่อาศัย 3. แย่งคู่เพื่อการสืบพันธุ์

    สังคมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน ยิ่งอยู่รวมกันมากๆเข้า โครงสร้างทางสัมคมยิ่งซับซ้อนเข้าไปอีก มีปัญหาเยอะขึ้นอีกด้วย เมื่อเกิดปัญหาขึ้้นมามนุษย์จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ ไม่ใช่ใช้แต่พละกำลังอย่างเดียว



    1. สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ

    - ด้านเศรษฐกิจ (การแย่งชิงทรัพยากร ปัญหาปากท้อง)

    - ด้านการเมือง (ขัดแย้งเกิดสงครามเย็น เกิดอุดมการณ์ทางการเมือง)



    - ด้านสังคมและวัฒนธรรม



    สังคม = รูปแบบของความสัมพันธ์ของคนในสังคม

    วัฒนธรรม = เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

    ความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับกรรมกร = สังคม

    วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลง = วัฒนธรรม

    สังคมเกิดขึ้นโดยไม่มีวัฒนธรรมไม่ได้



    - ด้านความต้องการขยายอำนาจ (ของผู้นำ) เพื่อที่จะบอกว่า " ข้านี่แหละยิ่งใหญ่ " ต้องการขยายอำนาจ

    - การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง (ไล่จากระดับเบาไประดับหนัก)

    - สันติวิธี แบ่งออกเป็น



     1. วิธีการทางการฑูตและการเมือง (การเจรจา)

    สมมุติเหตุการณ์นักเรียนชั้น ม.5/11 ทะเลากับ นักเรียนชั้น ม.5/12

    เจรจาโดยตรงคือ นักเรียน ม.5/11 และม.5/12 ส่งตัวแทนของห้องตัวเองมาเจรจากัน
     
    ผ่านตัวแทนคือ นักเรียน ม.5/11 และม.5/12 มอบหมายให้รุ่นพี่ ม.6/11 และม.6/12 เป็นคนเจรจาให้ โดยม.6/11 รักษาผลประโยชน์ของม.5/11 ส่วนม.6/12ก็รักษาผลประโยชน์ของม.5/12
     
    มีคนกลางคือ มีคนกลางจับม.5/11 ม.5/12 ม.6/11 และม.6/12 มาเจรจาและพูดคุยกันโดยคนกลางจะเป็นคนตัดสินให้เอง ม.6/11 และม.6/12 จะเป็นเพียงผู้ที่มาดูข้อสรุป และเป็นผู้ห้ามหากมีการทะเลาะตบตีกันเกิดขึ้น



    2. วิธีการทางกฎหมาย (ใช้กฎหมายมาช่วยในการตัดสิน)

    - การบีบบังคับ ประเทศที่มีอำนาจมากทำกับประเทศที่มีอำนาจน้อยกว่า

    - Retortion คือการตอบโต้โดยไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ

    - การตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต ลดระดับความช่วยเหลือทางการฑูต

    - การตัดสิทธิพิเศษทางการค้า โดยการลดจำนวนสินค้าที่ส่งไปยังประเทศนั้นๆ

    - Reprisal การตอบโต้โดยผิดกฎหมาย การจะทำนั้นเขาต้องผิดกฎหมายมาก่อนเราจึงตอบโต้ใส่

    - การยึดทรัพย์สิน ยึดทรัพยากร

    - Boycott คือการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ไม่ติดต่อค้าขาย "เขาไม่ดีมาเราก็ไม่ดีตอบ"



    - Embargo ห้ามเข้าเขตแดน

    - Zangtion
    เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งหวังให้ล้มละลายกันไปข้างหนึ่ง

    - การซ้อมรบใกล้พรหมแดนเพื่อข่มขู่ เช่น อินเดียมักซ้อมรบใกล้พรหมแดนของปากีสถาน เพื่อหวังที่จะข่มขู่ว่าหากมายุ่งกับอินเดียจะถล่มให้กระจุยเลย ไม่กี่วันต่อมาปากีสถานเลยซ้อมรบบ้าง เอ็งซ้อมขู่ข้า ข้าก็ซ้อมขู่เอ็งบ้างวะ



    - การทำสงคราม



    - สงครามจำกัดขอบเขต ( Limited War ) ใช้กำลังทหารปฏิบัติหน้าที่ในเวลาและพื้นที่ๆจำกัด เพื่อให้บรรลุขอบเขตที่หวังไว้ พอเสร็จสิ้นภารกิจ ก็จะไม่มีการทำต่อ



    - สงครามเบ็ดเสร็จ (Absolute War) ใช้กำลังทหารยึดอย่างเบ็ดเสร็จแล้วเข้าไปควบคุม



    - สงครามกองโจร (Guerrilla War) เน้นก่อวินาศกรรม



    - สงครามตัวแทน (Proxy War) เช่นเราทะเลาะกับเพื่อน เราจะไม่ตบตีกันเอง ให้คนอื่นมาตบตีแทนเรา



    - สงครามกลางเมือง (Civil War) เกิดขึ้นเพื่อแย่งชิงอำนาจและดินแดน



    - สงครามปฏิวัติ (Revolutionary War) เกิดการแย่งชิง เปลี่ยนแปลงการปกครอง
    เช่นการปฏิวัติฝรั่งเศส


    - สงครามสั่งสอน เช่น จีนรบกับเวียดนาม จีนกรีฑาทัพไปรบกับเวียดนาม รบกันไปรบกันมา จีนสั่งทัพกลับ ทั้งจีนและเวียดนามต่างไม่สูญเสียดินแดนให้แก่กัน จีนบอกก็สั่งสอนเสร็จแล้วก็เลยกลับ



    - สงครามเย็น (Cold War) มีการขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองแบ่งออกเป็น 2ฝ่ายคือ อเมริกา (เสรี) และรัสเซีย (คอมมิวนิสต์)

    รัสเซีย กับ สหภาพโซเวียตเป็นคนละอย่างกันนะ

    รัสเซีย เป็นเพียงแค่ประเทศๆหนึ่งเท่านั้น

    สหภาพโซเวียต ประกอบด้วยหลายๆประเทศมารวมตัวกัน โดยรัสเซียเป็นเพียงแค่ 1ในประเทศของสหภาพโซเวียต


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×