ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหา วิชาอารยธรรมตะวันตก และประวัติศาสตร์ ม.5

    ลำดับตอนที่ #29 : ความร่วมมือระหว่างประเทศ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.44K
      2
      3 มี.ค. 55

    ความร่วมมือระหว่างประเทศ



    ความร่วมมือสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่มีคน 2คนขึ้นไปมาอยู่ด้วยกัน ความร่วมมือของมนุษย์นั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และเพื่อให้เกิดผลประโยชน์

    ความร่วมมือมีด้วยกันหลายระดับสามารถแบ่งระดับของความร่วมมือได้ดังนี้

    - ระดับโลก หลายๆประเทศในโลกมาร่วมมือกันเป็นส่วนใหญ่

    - ระดับภูมิภาค อาทิเช่นการร่วมมือในภูมิภาคยุโรป หรือการร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย เป็นต้น

    - ระดับอนุภูมิภาค คือการร่วมมือของประเทศในภูมิภาคนั้นๆ แต่ไม่ทั้งหมด ร่วมมือกันแค่บางส่วนเท่านั้น

    - ระดับข้ามภูมิภาค อาทิเช่นการร่วมมือระหว่างทวีปยุโรป และทวีปเอเชียเป็นต้น

    - ระดับทวิภาคี / ไตรภาคี (นิยมมากเพราะมันสามารถตกลงกันได้อย่างรวดเร็ว)




    1. ความร่วมมือระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อแต่ละประเทศต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง



    2. ตัวอย่างความร่วมมือระหว่างประเทศ



    - สหประชาชาติ (United Nations: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ  

    ความร่วมมือระดับ: โลก

    วัตถุประสงค์: เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก



    - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF)

    ความร่วมมือระดับ: โลก

    วัตถุประสงค์: จัดการและควบคุมระบบการเงินของโลกและช่วยเหลือประเทศที่เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยจะประสานการทำงานกับกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ 
    1. จัดระบบการเงินโลก
    2. กำกับกติกาทางเศรษฐกิจของโลก เพื่อให้เกิดความมั่นคงมีเสถียรภาพ
    3. สร้างเงินซึ่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินที่เป็นกลาง ไม่ได้เป็นเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง
    WTradeO.png

    - องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)

    ความร่วมมือระดับ: โลก

    วัตถุประสงค์:
    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก

    ทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ
    1. ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้
     
    2. ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS)

    3. ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)



    - การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD)

    ความร่วมมือระดับ: โลก

    วัตถุประสงค์:
    การเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนา และช่วยเหลือประเทศเหล่านั้นในการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ในพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม



    - สหภาพยุโรป (European Union: EU)

    ความร่วมมือระดับ: ภูมิภาค(ยุโรป)

    วัตถุประสงค์:  เป็นการรวมกันในลักษณะตลาดร่วมลดกำแพงภาษีสินค้าระหว่างกันการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปอย่างเสรีโดยใช้อัตราเดียวกันในด้านการขนส่ง  ทุน  บริการ ค่าจ้าง  เงินเดือนเป็นต้น  องค์การนี้มีความร่วมมือกันมากขึ้น
    เรื่อย ๆโดยจะพัฒนาความร่วมมือกันในทางการเมือง  การต่างประเทศ ความมั่นคง และเศรษฐกิจ คล้ายกับเป็นประเทศเดียวกัน  และใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ  เงินยูโร ยกเว้นประเทศอังกฤษที่ใช้เงินปอนด์อยู่ประเทศเดียว เนื่องจากค่าเงินที่แข็งกว่า และดีกว่า



    - องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization) มีชื่อย่อว่า นาโต (NATO)


    ความร่วมมือระดับ: ข้ามภูมิภาค(อเมริกาเหนือ - ยุโรป)

    วัตถุประสงค์: เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์



    - องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ. หรือ ซีโต้) (Southeast Asia Treaty Organization - SEATO)

    ความร่วมมือระดับ: ข้ามภูมิภาค(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย)

    วัตถุประสงค์: เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

    Warsawseal.png

    - องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact)

    ความร่วมมือระดับ: อนุภูมิภาค(สหภาพโซเวียต - ยุโรปตะวันออกบางส่วน)

    วัตถุประสงค์: เพื่อคานอำนาจกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ระหว่างสงครามเย็น



    - ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement) หรือเรียกคำย่อว่า นาฟตา (NAFTA)

    ความร่วมมือระดับ: อนุภูมิภาค

    วัตถุประสงค์: ร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

    สัญลักษณ์เอเปค

    - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)


    ความร่วมมือระดับ: ข้ามภูมิภาค(เอเชีย ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ - ใต้ แปซิฟิก) 

    วัตถุประสงค์:  มุ่งเน้นความเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค และผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่าย รอบอุรุกวัย ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกัน เอเปคก็ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป อีกด้วย



    - กลุ่มโอเปค (Organization of Petroleum Exporting Countries-OPEC)

    ความร่วมมือระดับ: ข้ามภูมิภาค 

    วัตถุประสงค์: รักษาผลประโยชน์ของประเทศที่ส่งออกน้ำมัน



    - จีแปด (G8) เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ที่เพิ่มมาจากกลุ่ม G7 (เพิ่มรัสเซีย) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 8 ประเทศคือ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ถือเป็น 65% ของโลก นอกจากนั้น ยังมีประธานแห่งสหภาพยุโรปร่วมประชุมด้วย

    ความร่วมมือระดับ: ข้ามภูมิภาค 

    วัตถุประสงค์:
    เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม



    - สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน

    ความร่วมมือระดับ: ภูมิภาค

    วัตถุประสงค์: ทำได้ทุกด้านยกเว้นด้านการเมืองภายในประเทศ เนื่องจากประเทศในกลุ่มสมาชิกนั้นมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×