ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหา วิชาอารยธรรมตะวันตก และประวัติศาสตร์ ม.5

    ลำดับตอนที่ #16 : การปฏิวัติเกษตร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.12K
      0
      3 มี.ค. 55

    การปฏิวัติเกษตร
    The Agricultural Revolution (C.17)



    1. เกิดขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษ เป็นแกนนำออกมาจากศาสนาก่อนประเทศอื่น (ไม่ถูกครอบงำจากศาสนาอีกแล้ว)



    2. สาเหตุของการปฏิวัติเกษตร

    - ประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการที่จะบริโภคก็เพิ่มตาม

    - แรงงานลดลง

    - เกิดกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน มีการแบ่งแยกและจัดสรรที่ดินอย่างชัดเจนขึ้น

    - ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ

    3. เกิดเทคนิคใหม่ๆในการทำการเกษตร

    - ระบบนาปิด แต่ก่อนคือนาเปิด

    นาเปิด คือการปลูกแบบไม่มีรั้วกั้น (ในสมัยก่อนไม่มีการแบ่งแยกที่ดินว่านี่ของฉัน นี่ของแก) จึงทำให้พวกสัตว์มันเข้ามาทำลายพืชสวนที่ปลูก จึงทำให้ผลผลิตน้อย มิหนำซ้ำยังมีการปลูกแบบ เว้นไว้แปลงหนึ่งเพื่อให้ดินปรับสภาพ ปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยวสะส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีการดูแล และเอาใจใส่มากนัก ปลูกเพื่อเอาไว้กินเลี้ยงชีพตัวเองเท่านั้น แถมปลูกแบบตามมีตามเกิด ไม่รดน้ำ ไม่พรวนดิน ไม่ดูแลอะไรเลย ถึงดูแลก็น้อยมากๆ

    นาปิด มีการจัดสรรแปลงพืชอย่างลงตัว ปลูกหมดทุกแปลง ใช้ระบบหมุนเวียนพืชพรรณในการปลูก แปลงไหนต้องการปรับสภาพดินก็ปลูกพืชที่มีหน้าที่ในการทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตสูง สามารถปลูกเพื่อเก็บไว้กิน และไว้ขายได้ มีการดูแลและเอาใจใส่มากขึ้น มีการรดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย พืชจึงอุดมสมบูรณ์



    - ปลูกพืชแบบหมุนเวียน เพื่อปรับสภาพหน้าดิน

    ชาร์ล ไวส์เคาท์ ทาวน์แซนด์ได้คิดค้นวิธีเพิ่มผลผลิตในที่ดินเท่าเดิมให้มากขึ้นโดย ปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว ข้าวสาลี และหัวผักกาดหมุนเวียนสลับกันไป ทำให้มีการใช้ที่ดินอย่างเต็มที่



    - การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ผลผลิตดีขึ้น และรวดเร็วขึ้น



    - การใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อลดเวลาในการเก็บเกี่ยว การทำสวนต่างๆ


    เจโทร ทัลล์ ทำเครื่องหว่านเมล็ดพืช

    - การคัดเลือกพรรณสัตว์ เพื่อใช้ในการผสมพันธุ์ มีการผสมพันธฺุ์เทียมเกิดขึ้น จากแต่ก่อนถ้ารอให้สัตว์มันผสมกันเองนั้นมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคของมนุษย์ แถมต้องรอเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์อีกด้วย ประกอบกับประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง จึงมีการผสมพันธุ์เทียมเพื่อให้ผลผลิตทันต่อผู้บริโภค


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×