คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : 290809 // วิทย์เพิ่มเติม :: การทำงาน 4 จังหวะของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และ ดีเซล
A4 สรุปเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และดีเซล ในการทำงาน 4 จังหวะ
เกือบทำส่งครูไม่ทันแน่ะ ฮะๆ
______________
แก๊ซโซลีน
ในแต่ละรอบการทำงาน (cycle) เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นลง 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง) โดยเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ การที่ลูกสูบขึ้นลง 4 ช่วงชัก ทำให้เกิดการทำงานขึ้น 4 จังหวะ จังหวะการทำงานทั้ง 4 ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะมีดังนี้
1. จังหวะดูด (Intake stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ลง ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะดูดเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกดูดเข้ามาในกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นไอดี(intake vavle) ซึ่งเปิดอยู่ ลิ้นไอดีจะปิดที่ประมาณปลายจังหวะดูด (ใกล้ศูนย์ตายล่าง)
2. จังหวะอัด (Compression stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น ลิ้นทั้งสองทั้งลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย (Exhaust valve) จะปิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกอัดจนกระทั่งใกล้ศูนย์ตายบน ส่วนผสมจะถูกจุดโดยหัวเทียน (เครื่องยนต์ดีเซลน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาโดยหัวฉีด) การเผาไหม้จึงเริ่มขึ้น
3. จังหวะกำลัง , จังหวะระเบิด (Power stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนลงลิ้นทั้งสองยังคงปิดอยู่ แรงดันของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ จะกระแทกลงบนหัวลูกสูบ ผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง จนกระทั่งใกล้ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอเสียจะเปิด
4.จังหวะคาย, จังหวะไอเสีย (Exhaust Stoke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น จะผลักดันให้ไอเสียที่ค้างในกระบอกสูบ ออกไปภายนอกโดยผ่านลิ้นไอเสียที่เปิดอยู่ ลิ้นไอเสียยังคงเปิดอยู่จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นการเริ่มจังหวะดูดในรอบการทำงานต่อไป
ดีเซล
การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
1. จังหวะดูด (Intake Storke) เมื่อลูกสูบเลื่อนลงจากจุดศูนย์ตายบนถึงจุดศูนย์ตายล่าง(TDC-BDC) ลิ้นไอดีจะเปิด อากาศจะถูกดูดเข้ามาประจุในห้องเผาไหม้ แต่ในขณะนี้ลิ้นไอเสียยังคงปิดอยู่
2. จังหวะอัด (Compression Stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่าง (BDC) ลิ้นทั้งสองจะปิด ดังนั้นอากาศในกระบอกสูบจึงถูกอัดโดยกระบอกสูบ แรงดันและความร้อนของอากาศจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อากาศในขณะนี้เป็นอากาศที่ร้อนแดง " Red hot Air" ถ้าอัตราส่วนการอัดเท่ากับ 20:1 อากาศจะมีแรงดัน 40-45 กก./ตารางเซนติเมตร และมีอุณหภูมิ 500-600 องศาเซลเซียส
3. จังหวะระเบิด (power Stroke) เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นเกือบจุดศูนย์ตายบน ในปลายจังหวะอัด ละอองน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างทันทีทันใด แรงดันจากการเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นประมาณ 2000 องศาเซลเซียส และแรงดันสูงขึ้นเป็น 55-80 กก./ตารางเซนติเมตร ในจังหวะระเบิดนี้พลังงานความร้อนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกล
4. จังหวะคาย (Exaust Stroke) ปลายจังหวะระเบิด ลิ้นไอเสียจะเปิด แก๊สไอเสียจึงขับไล่ออกจากกระบอกสูบ ด้วยการเลื่อนขึ้นของลูกสูบ
ความคิดเห็น