อันดามันและการ แหว่ง - อันดามันและการ แหว่ง นิยาย อันดามันและการ แหว่ง : Dek-D.com - Writer

    อันดามันและการ แหว่ง

    โดย Ï hôþë ü

    การแหว่งของอันดามันจ้า

    ผู้เข้าชมรวม

    124

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    124

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  23 ธ.ค. 49 / 18:03 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      แถบ “อันดามัน” จะแกว่งมากกว่า 5 ริกเตอร์ทุกๆ 8 เดือน
      โลกและสิ่งแวดล้อม

      ดร.เอ เอส อาร์ยา (Dr. A. S. Arya) ที่ปรึกษาศูนย์แผ่นดินไหวแห่งชาติอินเดีย เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 5 ตามมาตราริกเตอร์จะเกิดขึ้นตามแถบอันดามันและบริเวณเกาะนิโคบาร์ทุกๆ 8 เดือน ซึ่งเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมานานนับร้อยๆ ปี โดย ดร.อาร์ยาได้สังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในแถบบริเวณดังกล่าว อีกทั้งเกาะเหล่านี้ถูกจัดประเภทอยู่ในเขตแผ่นดินไหวแอกทีฟโซนวี (Zone V) เคยเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 25 ครั้งที่มีขนาดมากกว่า 6 ริกเตอร์ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา

      “การเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า 6 ริกเตอร์นั้นจะปลดปล่อยพลังงานเท่ากับแรงระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา และพวกเราควรวางแผนสร้างอาคารและโครงสร้างต่างๆ โดยออกเป็นระเบียบข้อบังคับอย่างเค่งครัดเพื่อป้องกันความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินในอนาคต” ดร.อาร์ยากล่าว พร้อมทั้งเพิ่มเติมว่าไม่ใช่แค่แถบทะเลอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์เท่านั้น แต่รวมถึงพื้นที่ต่างๆ ในอินเดียก็มีโอกาสที่จะประสบภัยธรรมชาติได้เช่นกัน

      “57 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในอินเดียเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว อีกทั้งพื้นที่ 40 ล้านเฮกเตอร์ของประเทศก็เสี่ยงต่อการถูกทำลายด้วยน้ำท่วม รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งอันยาวกว่า 8,000 กิโลเมตรก็เสี่ยงต่อการโดนกระหน่ำด้วยพายุไซโคลน พวกเรารู้ดีว่าเกาะต่างๆ ในแถบนี้เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว สึนามิ และไซโคลน ซึ่งแถบอันดามันตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายหลากหลายรูปแบบ” ดร.อาร์ยากล่าว และชี้ว่าฉะนั้นควรสร้างมาตรการระวังภัยล่วงหน้า

      อย่างไรก็ดี เหตุแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 5 ริกเตอร์เพิ่งเกิดขึ้นหมาดๆ ที่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ โดยศูนย์การสำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ หรือ ยูเอสจีเอส (U.S. Geological Survey : USGS) รายงานการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ขนาด 7.0 ริกเตอร์ที่ความลึกประมาณ 10 กิโลเมตร เมื่อเวลา 22:42:05 น. ของวันที่ 24 ก.ค. ตามเวลาประเทศไทย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×