โรคไบโพลาร์ หรือโรคคนสองบุคคลิก
มาดูกันเถอะว่าคัยเปนโรคนี้บ้าง ^^
ผู้เข้าชมรวม
395
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า อาการที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบ
ภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์ตก | ภาวะแมเนียหรืออารมณ์คลุ้มคลั่ง |
ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า | มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ |
เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา | มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ |
อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน | มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ |
ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรงในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา | ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่น มากขึ้น เอาแต่ใจ |
หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ | มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง |
มองโลกในแง่ร้ายไปหมด | ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย |
ขาดสมาธิ ความจำลดลง | ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็วและมีเนื้อหา มาก เสียงดัง |
หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้ | ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ |
ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม | ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ มีพฤติกรรมเสี่ยง มากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว |
มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ | มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น |
มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม | |
มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ |
ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์และโรคอารมณ์เศร้า
ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major depressive disorder หรือ Unipolar depression) แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว
ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression) 1. มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง |
ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression)
มักมีลักษณะอาการต่อไปนี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ
1. มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง
2. มีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลง
3. นอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้น
4. ขาดกำลังใจ มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์
5. มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริง
6. มีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย
7. มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
8. มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มองว่าบุคคลอื่นไม่สนใจหรือไม่เป็นมิตร
9. มีประวัติการติดสารเสพติด หรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
10. มีประวัติโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว
สาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์ มีดังนี้คร้าบ
1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ในสมอง ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย , การนอนหลับที่ผิดปกติ, ความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์
2. ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเครียด หรือปัญหาต่าง ๆ ภายในชีวิตได้ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ขึ้นมาได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางสังคมไม่ใช่สาเหตุของโรค แต่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคแสดงอาการได้
3. ปัจจัยทางพันธุศาสตร์ ขณะนี้ เรายังไม่ทราบรูปแบบของการถ่ายทอดผ่านยีนที่ชัดเจนของโรคไบโพลาร์ แต่จากการศึกษาพบ ว่าสามารถพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็น bipolar มากกว่าในประชากรทั่วไป
วิธีรักษา
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการใน 2-8 สัปดาห์ และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนก่อนป่วย แต่ในบางรายอาจต้องให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อขจัดความเครียด และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล จึงต้องใช้ยาที่จะปรับสารสื่อประสาท ปัจจุบันมียาควบคุมอารมณ์หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ไม่ทำให้ติดยาเมื่อใช้ในระยะยาว แต่มักต้องใช้เวลา 2-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล
อ่านจบแล้วก้อช่วยถามตัวเองว่าเป็นหรือเปล่า แบบว่าเป็นห่วงอะคับ
ยังไงซะคนที่เป็นก้อลองรักษาตามวิธีนี้ดูนะคับ ^^
ผลงานอื่นๆ ของ ์Noir T. Sylvester ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ์Noir T. Sylvester
ความคิดเห็น