ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ป่าหิมพานต์ (โลกาครุฑา นาคา)

    ลำดับตอนที่ #2 : สัตว์ในหิมพานต๋์

    • อัปเดตล่าสุด 11 ส.ค. 55


    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทกิเลน

    แม้ว่ากิเลนจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน วัดหลายแห่ง ในไทยก็มี กิเลนเช่นกัน แบบฉบับของกิเลนไทย แตกต่างจากแบบจีนบ้าง โดยปกติแล้ว กิเลนไทยมีเขา ๒ เขา และมีกีบคู่ ต่างจากแบบดั้งเดิม


    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทกวาง

    มารีศ เป็นหนึ่งในตัวละครยักษ์ในเรื่อง รามายนะ (รามเกียรติ์). มารีศเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อ กากนาสูร และเป็นญาติของทศกัณฑ์ (ตัวร้ายหลักของเรื่อง) ในเรื่อง ทศกัณฑ์ต้องการจับตัวนางสีดา จึงสั่งให้มารีศให้จำแลงกาย เป็นกวางทองไปล่อนาง แผนนี้เกือบสำเร็จลุล่วง แต่ท้ายที่สุด มารีศก็โดนพระรามแผลงศรใส่ ในรูปวาดมารีศจึงเป็นรูปสัตว์ประหลาด กึ่งยักษ์กึ่งกวาง


    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    พานรมฤคมีร่างท่อนบนเป็นลิงและมีกายท่อนล่างเป็นกวาง
     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทสิงห์

    บัณฑุราชสีห์ เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม
     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    ไกรสรปักษาเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก. ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    เหมราช ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์ (ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้
     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทม้า

    ดุรงค์ไกรสรมีลักษณะคล้ายกับ โตเทพอัสดร กล่าวคือทั้งคู่ เป็นสัตว์ผสมระหว่าง สิงห์กับม้า ตามตำนาน ดุรงค์ไกรสรมีกายเป็นม้าสีแดง มีหางสีดำ กีบสีดำเหมือนม้า ส่วนหัวเป็นสิงฆืที่มีลักษณะสง่า ชื่อ “ดุรงค์ไกรสร” มาจากคำบาลีโบราณ ๒ คำคือ “ดุรงค์” ซึ่งคือสายพันธุ์หนึ่งของม้า และคำว่า “ไกรสร” ซึ่งก็คือสิงห็นั่นเอง .

    ดุรงค์ไกรสรเX็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร อาหารที่กิน ก็คือสัตว์นานาชนิดในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นกวาง หรือวัวควาย ลักษณะเด่นของดุรงค์ไกรสรคือ สามารถวิ่งได้เร็วดุจม้าและ มีความแข็งแรงอย่างสิงห์


     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    โตเทพอัสดร เป็นสัตว์หิมพานต์แบบผสมระหว่างสิงโตกับม้า มีลักษณะทั่วไปเหมือนดุรงค์ไกรสร กล่าวคือมีหัวเป็นสิงโต และมีร่างเป็นม้า แต่เมื่อพิจารณาลึกๆแล้วมีความแตกต่างจาก ดุรงค์ไกรสร โดยโตเทพอัสดรมีร่างกายเป็นม้าสีแสด หางและกีบสีแดงชาด หัวเป็นสิงโต คอ หลังและขนสร้อยคอสีเขียว คำว่า “อัสดร” มาจากภาษาสันสกฤต “อสฺสตร” หมายถึง ม้าดี หรือสัตว์ผสมที่เกิดจากพ่อที่เป็นลา และแม่ที่เป็นม้า โตเทพอัสดรเป็นสัตว์ล่าเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับ ดุรงค์ไกรสร สัตว์ที่เป็นเหยื่อของโตเทพอัสดรมีตั้งแต่ สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ในป่าหิมพานต์เช่นกวาง วัว ควาย

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทแรด

    “ระมาด” ในภาษาเขมรแปลว่าแรด ระมาดเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ มาจากสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริง แต่อาจจะเพี้ยนไปบ้าง เพราะระมาด หรือแรดเป็นสัตว์ ป่าหายาก ศิลปินไทยในสมัยโบราณไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ระมาดหน้าตาเป็นอย่างไร จึงได้แต่วาดตามคำอธิบาย ระมาดที่ปรากฎในศิลปะไทยจึงดูคล้ายกับตัวสมเสร็จ ซึ่งมีจมูกเป็นงวงสั้นๆ ดูน่าจะเป็นพันธุ์ Malayan Tapir ที่มีอยู่ในเขตตะวันตกของประเทศไทย

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    คนทั่วไป มักจำวารีกุญชรสลับกับกุญชรวารี เพราะสัตว์หิมพานต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากศัพท์มาจากคำ บาลี ๒ คำที่เหมือนกัน เพียงแต่คำเรียงลำดับสลับกัน เท่านั้น รากศัพท์ทั้ง ๒ ที่กล่าวถึงคือคำว่า “วารี” มีความหมายตามตัวว่าน้ำ โดยปกติจะใช้แทนน้ำทะเล และคำว่า “กุญชร” ซึ่งแปลว่าช้าง สัตว์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นสัตว์ประสม ระหว่างช้างกับปลา เราสามารถแยกแยะระหว่าง วารีกุญชรและกุญชรวารีได้ค่อนข้างง่าย โดยที่วารีกุญชรนั้นมีร่างกายเกือบทั้ง ตัวเป็นช้าง จะมีก็แต่อวัยวะบางส่วนที่กลายมาจาก สัตว์ประเภทปลาเช่น ครีบบนแผ่นหลัง ครีบเท้า และครีบหาง ส่วนกุญชรวารีนั้น มีช่วงตัวท่อนแรกเป็นช้าง ช่วงหลัง เป็นปลา กล่าวคือกุญชรวารี มีเท้าเพียง ๒ ข้าง ลำตัวและหางเป็นปลาหมด สัตว์ทั้ง ๒ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเล สามารถว่ายและดำ น้ำได้ดีเยี่ยม

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทวัวควาย

    มียักษ์อยู่ตนหนึ่งชื่อ "นนทกาล" มีหน้าที่เป็นยามเฝ้าประตูวังสวรรค์ ของพระศิวะ (เขาไกรลาส) ยักษ์ตนนี้ได้ทำผิดกฏ โดยการปลุกปล้ำนางฟ้านาม "มาลี" นางฟ้าได้นำเรื่องทูล ต่อองค์ศิวะเจ้า พระศิวะทรงกริ้วจึงสาป ให้ยักษ์ไปเิดเป็นควาย มีนามว่า "ทรพา" และจะต้องถูกสังหารโดยลูกของตัวเอง ผู้มีชืื่อว่า "ทรพี" หลังจากนั้นถูกจะพ้นคำสาป

    นนทกาลเกิดเป็นควาย หลายเมีย มันจะฆ่าลูกชายทีีจะเกิดทุกตัว เมียทรพาตัวหนึ่ง หนีไปและได้คลอดลูกที่อื่น ควายตัวนี้ ได้รับการเลี้ยงดูโดยเทวดา เทวดาได้ตั้งชื่อควายตัวนี้ว่า "ทรพี" ทุกวันทรพีจะวัดขนาดกีบของมันกับของพ่อ เมื่อใหญ่เท่ากันจึงถือว่าพร้อมที่จะสู้ ท้ายสุดทรพา ก็ถูกลูกของ ตนฆ่าตาย
    สำนวนไทย คำว่า "ทรพี" หมายถึงคนที่ไม่รู้จักคุณบิดามารดา

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    กบิลปักษาเป็นสัตว์ประหลาดกึ่งนกกึ่งลิง โดยมีปีกนกติดอยู่ที่หัวไหล่ และ มีหางเหมือนนก โดยปกติระบายสีกายเป็นสีดำ
     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทนก

    คชปักษา เป็นลักษณะของนกผสม มีตัวและแขนคล้ายครุฑ
    ท่อนล่างเป็นนกคล้ายหงส์ หางเป็นกนก
    มีจมูกเป็นงวงและงาเหมือนช้าง

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทปลา

    เป็นปลาศักดิ์สิทธิ ที่เชื่อกันว่าเป็นภาคอวตารของพระนารายณ์ หน้าที่ หลักของปลาชนิดนี้คือชักเรือลากไปใต้น้ำในคราวที่น้ำท่วมโลก

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    มัจฉวาฬ สัตว์หิมพานต์ชนิดนี้เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดของคนโบราณที่ได้พบเห็นวาฬของจริงจะเห็นได้ว่ามีการแต่งเติมฟันที่แหลมคมเข้าไปด้วย

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    สัตว์ประเภทจระเข้

    เป็นสัตว์ผสมระหว่างเทพกับจระเข้
    มีลักษณะตัวเป็นเทพ ท่อนล่างเป็นจระเข้
    มีหาง มือถือดาบ

     

    สัตว์หิมพานต์พร้อมคำอธิบาย

    เหรา นั้นเป็นสัตว์กึ่งนาคกึ่งจรเข้

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×