ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การผลิตเอทานอลจากน้ำบีบของเหลือทิ้งสับปะรดโดยระบบการตรึงเซลล

    ลำดับตอนที่ #1 : วิธีติดต่อสำหรับผู้ที่สนใจโครงงาน และบทคัดย่อ

    • อัปเดตล่าสุด 18 ม.ค. 54



    ผู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงงาน กรุณาติดต่อมายังกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี ๐๒ ๕๘๑ ๖๕๕๙ ต่อ ๑๒๖


    
               การผลิตเอทานอลจากน้ำบีบของเหลือทิ้งสับปะรดโดยระบบการตรึงเซลล์จาก Saccharomyces cerevisiae ด้วยวิธีการหมักแบบต่อเนื่องซึ่งเป็นการนำเอาเอทานอลไปผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อใช้ในรถยนต์ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานและราคาของน้ำมันดิบ ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้ว ยังเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

              การหมักแบบต่อเนื่องโดยการตรึงเซลล์จะเป็นการตรึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในเม็ดเจลให้อยู่กับที่โดยไม่ไหลออกจากถังหมักซึ่งในกระบวนการหมักเมื่อน้ำบีบสับปะรดไหลเข้าไปในถังหมักจะเกิดกระบวนการหมักและพอสิ้นสุดกระบวนการหมักน้ำบีบสับปะรดก็จะไหลออกมาจากถังหมัก ซึ่งวิธีการหมักแบบไม่ตรึงเซลล์จะทำให้จุลินทรีย์ไหลออกมาจากถังหมักพร้อมกับน้ำบีบสับปะรด ซึ่งการผลิตเอทานอลโดยใช้น้ำบีบของเหลือทิ้งสับปะรดด้วย Saccharomyces cerevisiae โดยใช้อัตราการไหลของสารตั้งต้นที่ต่างกันในระบบการหมักแบบต่อเนื่อง อัตราการไหลของสารตั้งต้นที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 1.7 และ 2.7 มิลลิลิตรต่อนาที สามารถผลิตเอทานอลที่มีความเข้มข้นและปริมาณที่แตกต่างกัน

              จากผลการทดลองพบว่าการใช้ Dilution rate ที่ต่างกัน คือ 0.1 และ 0.16 ทำให้ได้ปริมาณเอทานอลที่ต่างกัน ซึ่ง จะได้เอทานอลในปริมาณที่มากกว่า เพราะมีอัตราการไหลที่ช้ากว่า ซึ่งจุลินทรีย์นี้จะไปเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นเอทานอลได้มากกว่าในกระบวนการหมัก ซึ่งที่ Dilution rate 0.16 มีอัตราการไหลที่เร็วกว่าจึงใช้น้ำตาลในการหมักได้ไม่เป็นเต็มที่ ถ้าใช้ Dilution rate ที่มีค่าน้อยกว่า 0.1 อาจจะได้ปริมาณเอทานอลที่มากกว่า และค่าเฉลี่ยของน้ำตาลที่ใช้ไปในการทดลอง Dilution rate 0.1 คือ 8.87 % และ Dilution rate 0.16 ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลที่ใช้ไปในการทดลอง คือ 7 % ซึ่ง Dilution rate 0.16 เพราะมีอัตราการไหลที่เร็วกว่าจึงใช้น้ำตาลในกระบวนการหมักได้น้อยกว่า


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×