ทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. - นิยาย ทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. : Dek-D.com - Writer
×

    ทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.

    คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดตั้งขึ้นในวิทยาเขตหาดใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติงานวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่รื้อฟื้นได้ (Renewable Resources)

    ผู้เข้าชมรวม

    8,207

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    8.2K

    ความคิดเห็น


    75

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:52 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    [PIC] คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดตั้งขึ้นในวิทยาเขตหาดใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติงานวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่รื้อฟื้นได้ (Renewable Resources) เช่น ทรัพยากรเกษตร ประมง ดิน น้ำ ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยผ่าน 3 กระบวนการหลัก คือ การผลิตบัณฑิตเพื่อออกไปปฏิบัติงานด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สำหรับนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร ทั้งในเชิงอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์และกระบวนการสุดท้าย คือ การบริการวิชาการ เพื่อนำความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยเผยแพร่สู่สังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ภาค ประเทศ และนานาชาติ

    นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะทรัพยากรธรรมชาติได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้โดยเริ่มต้นจากการมี คณาจารย์เพียง 7 คน และภาควิชาเพียง 4 ภาควิชา จวบจนปัจจุบันคณะทรัพยากรธรรมชาติ มีคณาจารย์ทั้งสิ้น 74 คน และประกอบไปด้วยภาควิชาต่าง ๆ ทั้งหมด 6 ภาควิชา คือ
    • ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช
    • ภาควิชาธรณีศาสตร์
    • ภาควิชาพัฒนาการเกษตร
    • ภาควิชาพืชศาสตร์
    • ภาควิชาวาริชศาสตร์
    • ภาควิชาสัตวศาสตร์
     
    ปัจจุบันคณะทรัพยากรธรรมชาติเปิดสอนระดับปริญญาตรี 6 สาขา และปริญญาโท 7 สาขา และปริญญาเอก 2 สาขา ดังนี้
    ระดับปริญญาตรี
    • การจัดการศัตรูพืช
    • ปฐพีศาสตร์
    • พัฒนาการเกษตร
    • พืชศาสตร์
    • วาริชศาสตร์
    • สัตวศาสตร์
    ระดับปริญญาโท
    • การจัดการทรัพยากรดิน (มี 2 แผนการ เรียน)*
    • กีฏวิทยา
    • พัฒนาการเกษตร (ภาคปกติและภาคสมทบ)
    • พืชศาสตร์(มี 2 แผนการเรียน)*
    • โรคพืชวิทยา
    • วาริชศาสตร์(มี 2 แผนการเรียน)*
    • สัตวศาสตร์
    ระดับปริญญาเอก
    • พืชศาสตร์
    • วาริชศาสตร์
    * แผน 1: มีทั้ง course work และวิทยานิพนธ์ * แผน 2: เน้นการทำวิจัย โดยนักศึกษาจะทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว โดยทั้ง 2   
      แผนการเรียนมีจำนวนหน่วยกิตเท่ากัน คือ 36 หน่วยกิต
     
    คณะทรัพยากรธรรมชาติ ได้รับชื่อว่าเป็น คณะวิจัย ทั้งนี้เนื่องจากคณาจารย์ของคณะฯ มีความกระตือรือร้นในการทำวิจัย และมีผลงาน วิจัยเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งได้นำผลการวิจัยไปใช้ในการบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ โดยสม่ำเสมอ งานวิจัยของคณะฯ มีอยู่ด้วยกันหลายด้าน คือ
    ด้านทรัพยากรการเกษตร เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับไม้ผลเมืองร้อน พืชยืนต้น และพืชตระกูลถั่ว โดยจะเน้นเรื่องการจัดการศัตรูพืช พันธุ์ละการปรับปรุงพันธุ์การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การจัดการดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
    สำหรับทางด้านปศุสัตว์  มีการวิจัยทางด้านแพะ โดยเฉพาะในเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ ทางด้านการเลี้ยงสุกร และไก่และการศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ด้านทรัพยากรดิน เน้นด้านการปรับปรุงและพัฒนาดินที่มีปัญหามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ดินกรด ดินเหมืองแร่ดินทราย และดินเสื่อมโทรมหลังการทำนากุ้ง รวมถึงการศึกษาป้องกันการชะล้างพังทะลายของดิน
    ด้านทรัพยากรทางน้ำ
    เช่น งานวิจัยระบบนิเวศในแหล่งน้ำกร่อย และทะเล และมลภาวะในแหล่งน้ำดังกล่าว การเพาะเลี้ยงสัตว์ และการจัดการที่เหมาะสม โรคสัตว์ โดยเน้นโรคของสัตว์ กร่อย เช่น กุ้งกุลาดำ และปลากระพง ตลอดจนการจัดการทรัพยากรในแหล่งน้ำกร่อย และทะเล
    ด้านสังคมศาสตร์ทรัพยากร
    เช่น การศึกษาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ ที่ดิน การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ด้านระบบการทำฟาร์ม การประยุกต์ทางสังคมศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรเกษตร

    Main Menu
    พัฒนาการเกษตร
    สัตวศาสตร์
    วาริชศาสตร์
    ธรณีศาสตร์
    การจัดการศัตรูพืช
    พืชศาสตร์


    คณะทรัพยากรธรรมชาติแบ่งการบริหารออกเป็น 6 ภาควิชา คือ

        > ภาควิชาพัฒนาการเกษตร
        > ภาควิชาสัตวศาสตร์
        > ภาควิชาวาริชศาสตร์
        > ภาควิชาธรณีศาสตร์
        > ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช
        > ภาควิชาพืชศาสตร์


    เลือกรายชื่อภาควิชาด้านซ้ายมือ เพื่อดูรายละเอียด

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น