ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดรั้วโรงเรียนครู "คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

    ลำดับตอนที่ #35 : ครุศาสตร์ จุฬาฯ เสาหลักการศึกษาของแผ่นดิน สู่การเป็นเลิศด้านการฝึกหัดครู

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.94K
      1
      19 เม.ย. 55


    เสาหลักการศึกษาของแผ่นดิน

     คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันที่มีรากฐานมาจากแผนกวิชาคุรุศึกษา โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำหน้าที่ผลิตข้าราชการด้านการศึกษาของแผ่นดินสยามมาตั้งแต่ พ.ศ.2456 จนกระทั่งสถาปนาเป็นคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน


    เกียรติภูมิของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ประจักษ์ในฐานะหลักเฉลิมพระนครทางการศึกษา หรือเสาหลักการศึกษาของแผ่นดิน ซึ่งเป็นสถาบันด้านการฝึกหัดครูที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับสูงสุดในระดับประเทศและนานาชาติ ด้วยมาตรฐานการจัดการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของไทย ดังเป็นที่ประจักษ์ดังต่อไปนี้

     

    1. ด้านความเป็นมาและพัฒนาการ

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศที่จัดหลักสูตรการฝึกหัดครูในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเริ่มในสมัยที่เป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพัฒนามาเป็นแผนกวิชาฝึกหัดครู คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งสถาปนาเป็นคณะครุศาสตร์ ในปี พ.ศ.2500 โดยมีศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรกของคณะ และยังเป็นคณบดีหญิงคนแรกของประเทศไทยอีกด้วย


    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันแห่งแรกที่ริเริ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของประเทศ คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรครูมัธยม พ.ศ.2471 และเป็นสถาบันแห่งแรกที่มีปริญญาทางการศึกษาของประเทศ คือ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2496

    ด้านการจัดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ริเริ่มเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางการศึกษาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คือ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา พ.ศ.2505 และครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา พ.ศ.2517



    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีพัฒนาการแยกออกมาเป็นคณะต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้

    1. ภาควิชาพยาบาลศึกษา ได้สถาปนาขึ้นเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ ในปี พ.ศ.2533

    2. ภาควิชาจิตวิทยา ได้สถาปนาขึ้นเป็นคณะจิตวิทยา ในปี พ.ศ.2533

    3. ภาควิชาพลศึกษา ได้สถาปนาขึ้นเป็นสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในปี พ.ศ.2541 ปัจจุบันเป็นคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา



    2. ด้านการพัฒนาหลักสูตร

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันทางการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรที่หลากหลาย ซึ่งจัดการเรียนการสอนตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ได้แก่

    1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ.2552)

    2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ.2552) โปรแกรมเกียรตินิยม


    การจัดการเรียนการสอนวิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองจากคุรุสภาและเป็นต้นแบบการจัดการเรียนการสอนของสถาบันฝึกหัดครูอื่นๆ โดยจัดสอนรายวิชาในหมวดวิชาครูตลอดหลักสูตรที่ตรงตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพครูเมื่อสำเร็จการศึกษา ดังนี้


    1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 

        - วิชาภาษาไทยสำหรับครู

        - วิชาภาษาอังกฤษสำหรับครู

    2. การพัฒนาหลักสูตร 

        - วิชาการพัฒนาหลักสูตรขั้นนำ

    3. การจัดการเรียนรู้ 

        - วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนการสอน

    4. จิตวิทยาสำหรับครู

        - วิชาจิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา

        - วิชาจิตวิทยาสำหรับครูและการศึกษาพิเศษ

    5. การวัดและประเมินผลการศึกษา 

        - วิชาสถิติและสารสนเทศทางการศึกษา

        - วิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา

    6. การบริหารจัดการในห้องเรียน 

        - วิชาวิธีวิทยาการสอน

    7. การวิจัยทางการศึกษา

        - วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 

    8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

        - วิชานวัตกรรมการสอน

        - วิชาเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา

    9. ความเป็นครู 

        - วิชาพื้นฐานการศึกษาและวิชาชีพครู

        - วิชาการศึกษากับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

        - วิชาการบริหารจัดการและภาวะผู้นำทางการศึกษา



    3. ด้านการเรียนการสอน

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตจำนวนทั้งหมด 24 วิชาเอก ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะอื่น ดังนี้

    - คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา

    - คณะอักษรศาสตร์ สำหรับวิชาเอกภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน

    - คณะวิทยาศาสตร์ สำหรับวิชาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา

    - คณะรัฐศาสตร์ สำหรับวิชาเอกสังคมศึกษา

    - คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สำหรับวิชาเอกธุรกิจศึกษา

    - คณะเศรษฐศาสตร์ สำหรับวิชาเอกสังคมศึกษา และธุรกิจศึกษา

    - คณะนิติศาสตร์ สำหรับวิชาเอกสังคมศึกษา

    - คณะพยาบาลศาสตร์ สำหรับวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย

    - คณะจิตวิทยา สำหรับวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย และจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว

    - คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา สำหรับวิชาเอกสุขศึกษา และพลศึกษา



    4. ด้านการบริการวิชาการระดับชาติ

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันด้านการศึกษาแห่งเดียวของประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ทำหน้าที่จัดอบรมเพื่อพัฒนาข้าราชการครูทั่วประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาและครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ประจำปีงบประมาณ 2553 - 2555 โดยในปีงบประมาณ 2553 จะมีการประเมินสมรรถนะผู้บริหารและครู พัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมวิทยากรแกนนำ เพื่อไปทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 39,898 คน และพัฒนาครูจำนวน 17,408 คน


    ในส่วนของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประเภทสังคมศาสตร์ สายการศึกษาของประเทศมากที่สุดถึง 5 ท่าน จากสายการศึกษาทั้งหมด 7 ท่าน ได้แก่
    1. ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
    2. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์
    3. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
    4. ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์
    5. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ทิศนา แขมมณี


    นอกจากนี้คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ยังเป็นผู้บุกเบิกค่ายแนะแนวการศึกษาด้านครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์แห่งแรกของประเทศ ใช้ชื่อว่า ค่ายอยากเป็นครู ซึ่งริเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการแนะแนวการศึกษาวิชาชีพครูแก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ซึ่งล่าสุดโครงการ 5 ในปีการศึกษา 2554 มีผู้สมัครพันกว่าคน ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการจัด ค่ายอยากเป็นครูที่จัดโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับความสนใจมากมายจากเยาวชนทั่วประเทศ รวมทั้งสื่อต่างๆ ที่มาขอทำสกู๊ปข่าวการศึกษาระหว่างการจัดค่าย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์มติชน โทรศัพท์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นต้น จนกลายมาเป็นแบบอย่างในการจัดค่ายแนะแนวการศึกษาด้านครุศาสตร์ – ศึกษาศาสตร์แก่สถาบันอื่น



    5. ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับสูงสุดระดับประเทศด้านการวิจัยทางการศึกษา โดยเป็นสถาบันทางการศึกษาแห่งเดียวของประเทศที่มีนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติด้านการศึกษา จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 

    1. ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ พ.ศ.2548

    2. ศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย พ.ศ.2550



    6. ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับประเทศและนานาชาติ

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันด้านการศึกษาที่ได้รับผลการประเมินสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศสายครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ จากการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวิจัยทางการศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2548 และ 2549


    สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับนานาชาติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอยู่ในกลุ่มการเรียนการสอนสายสังคมศาสตร์ ซึ่งได้รับผลการประเมินในปี พ.ศ.2553  จาก World Universities Ranking ดังนี้
    - อันดับที่   1 ของประเทศไทย
    - อันดับที่   3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    - อันดับที่ 12 ของทวีปเอเชีย
    - อันดับที่ 78 ของโลก



    7. ด้านคุณภาพบัณฑิตและการยอมรับจากสังคม

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตด้านการศึกษาสู่สังคมจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนกว่า 20,000 คน ซึ่งบัณฑิตจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกไปพัฒนาการศึกษาสู่สังคมไทยและได้รับการยอมรับจากสังคม จนกลายมาเป็นเสาหลักการศึกษาของแผ่นดิน โดยตัวอย่างบัณฑิตครุศาสตร์ จุฬาฯ ที่ออกไปมีบทบาทในภาคส่วนต่างๆ ในสังคม มีดังนี้


    1. ด้านการเมือง
        - นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา
         
    อดีตประธานรัฐสภา อดีตรองนายกรัฐมนตรี
        - ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม
          อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานที่ปรึกษาโรงเรียนทิวไผ่งาม
        - ศาสตราจารย์ ดร.ศรีราชา เจริญพานิช
          เลขาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

    2. ด้านการบริหารการศึกษาระดับชาติ

        - ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน

          อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตวุฒิสมาชิก และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

        - ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อุทุมพร จามรมาน 

          ผู้อำนวยการสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)

        - ศาสตราจารย์กิตติคุณ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ 

          ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สายการศึกษา อดีตผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) และอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์

        - ดร.จรวยพร ธรณินทร์

          อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
        -
    ดร.อำรุง จันทวานิช
      
        อดีตอธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
        - รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ
          อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตอธิการบดีก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
        - ดร.สุชาติ เมืองแก้ว
          อดีตรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
        - ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์
          รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน      
        - นายเสน่ห์ ขาวโต 
          รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   
        - ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน
          รองเลขาธิการ สภาการศึกษา
        - คุณหญิงลักขณา แสงสนิท
          ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
        - ดร.ดิเรก พรสีมา
          ประธานกรรมการคุรุสภา
        - ศาสตรจารย์ธีระ รุญเจริญ
          ผู้ทรงคุณวุฒิการประเมินวิทยฐานะของกระทรวงศึกษาธิการ
        - นายนิวัตร นาคะเวช
          ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
        -
    ดร.พจนา ว่องตระกูล

          ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
        - นางอรวรรณ สุนทรชัย
          ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
        - ดร.กมล รอดคล้าย
          ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

    2. ด้านการบริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา

        - ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา 

          ผู้ก่อตั้งและคณบดีคนแรกของคณะครุศาสตร์ และปูชนียาจารย์แห่งการศึกษาไทย

        - ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี

          ผู้ก่อตั้งและอธิการบดีคนแรกของวิทยาลัยวิชาการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    และปูชนียาจารย์แห่งการศึกษาไทย

        - ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์

          ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมืองสายการศึกษา และอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์
        - รองศาสตราจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ 

          อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต และอดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
        - ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณดวงเดือน พิศาลบุตร
          ประธานสตรีอุดมศึกษาภูมิภาคเอเชีย
        - อาจารย์ดาริกา ปุณณกันต์
          อดีตประธานสมาคมครุศาสตร์สัมพันธ์ และอดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์
        - รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี สังขะตระวรรธน์
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
        - ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ
          ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง และคณบดี คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร
        - รองศาสตราจารย์ ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
        - รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
        - รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
        - รองศาสตราจารย์โกวิท เชื่อมกลาง
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
        - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
        - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
        - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย ยมดิษฐ์
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
        - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลักขณา สุภรณ์ไพบูลย์
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
        - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก เทพสุภรณ์กุล
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
        - ดร.บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์
          อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
        - ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
          คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        - รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม
          คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        - รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ไชยโส
          คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
       

    3. ด้านการบริหารสถานศึกษา

         - นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์
           สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ
         - นางอุษา สมบูรณ์
           นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย
         - นางสาวจันทร์เพ็ญ ชีรานนท์
           ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา คณะภคินีเซนต์ปอลเดอชาร์ตแห่งประเทศไทย
         - ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
           ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส และผู้เชี่ยวชาญโครงการจรวดเพื่อการผลิตฝนเทียม
         - ดร.เขมสิริ ประเภามนตรีพงศ์
           ผู้อำนวยการโรงเรียนประภามนตรี บางนา
         - นางมารศรี ตรีรัตนพันธ์
           ผู้อำนวยการโรงเรียนบูรณะรำลึก จังหวัดตรัง
         - นางทัศนีย์ บุษปวัต
           ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีชัยภูมิ
         - นายมณเฑียร วันเพ็ญ
           ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา
         - ดร.สุนีย์ สอนตระกูล
           ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี
         - นายสุธี ปั้นบัว
           ผู้อำนวยการโรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม
         - ดร.สมศักดิ์ ฉันทานุรักษ์
           ผู้อำนวยการโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี


    4. ด้านการสอน

         - ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ 

           ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สายการศึกษา และอดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์
         - ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต
           ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
         - นายสังคม ทองมี
           ครูโรงเรียนศรีสงครามวิทยา จังหวัดเลย
         - นางวรรณา เข็มทอง
           ครูโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
         - นางสุปาณี พัฒราช
           ครูโรงเรียนทวีธาภิเศก

    5. ด้านนักการศึกษา

         - วัลลภ ตังคณานุรักษ์ 
           อดีตสมาชิกวุฒิสภา และกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
         - รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เทียนส่ง
           ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
         - ท่านผู้หญิง สุภรเพ็ญ หลวงเทพ
           รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
         - คุณหญิง อารยา พิบูลนครินทร์
           ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
         - ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร
           ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

    6. ด้านนักวิชาการอิสระ  

         - ศศิมาลา จันทมาลา 
           ครูสอนภาษาอังกฤษสถาบัน Enconcept 
         - ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์ 
           ผู้เขียนตำราวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา

    7. ด้านสื่อสารมวลชนและการบันเทิง

         - หม่อมหลวงสราลี จิราธิวัฒน์
           พระขนิษฐาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
         - หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี
           ผู้รับบทสมเด็จพระสุริโยทัย ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท
         - สุรางค์ เปรมปรีดิ์
          
    ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และอดีตครูใหญ่โรงเรียนเรวดี
         - อรพรรณ วัชรพล
          
    ผู้บริหารบริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
         - นาเดีย วิชิตา นิมิตรวานิช
           นักแสดงบริษัท โพลีพลัส จำกัด
         - อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร
           นักแสดงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
         - ขวัญข้าว เศวตวิมล
           นักจัดรายการวิทยุ
         - วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ 
           นักแสดง และรองนางสาวไทย พ.ศ.2540
         - ศิริพิชญ์ กฤษณะเศรณี 
           นักแสดงบริษัท กันตนา จำกัด
         - ยุทธพิชัย ชาญเลขา 
           นักแสดงอิสระ
         - นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล 
           นักแสดงอิสระ
         - มนัสวี กฤตานุกูลย์ 
           นักแสดงอิสระ     
         - ศิริพิชยา วิสิฐไวทยากุล 
           นักแสดงอิสระ
         - ธนาภรณ์ รัตนเสน
           นักแสดงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 
         - ศตวรรษ เมทนี  
           นักแสดงอิสระ
         - ธนพร แวกประยูร
           นักร้อง
         - ธนชัย อุชชิน 
           นักร้องวง Moderndog
         - อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อุยธยา 
           
    นักร้องวง Padadox และอดีตครูโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
         - จักรพงศ์ สิริริน 
          
    นักร้องวง Padadox 
         - เศกพล อุ่นสำราญ 
           นักร้อง
         - ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์
          
    นักร้อง
         - ชนัญญา ตั้งบุญจิตร 
           นักร้อง และผู้เข้าแข่งขัน The Star 2
         - ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์
           ผู้จัดละคร
         - อดิสรณ์ พึ่งยา
         
     ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7  
         - รัศมี ทองสิริไพรศรี 
           นางแบบ  
         - เหมันต์ เชตมี 
           ผู้กำกับภาพยนตร์บริษัท อาวอง จำกัดในเครือ RS

    8. ด้านการกีฬา

         - วิจิตร เกตแก้ว
           อดีตนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
         -
    ธีรเทพ วิโนทัย 
             นักฟุตบอลทีมชาติไทย
         - สมปอง สอเหลบ
             นักฟุตบอลทีมชาติไทย
         - นราธร ศรีชาพันธุ์ 
             อดีตนักเทนนิสทีมชาติไทย    

    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีผลงานด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทย และยังมีศิษย์เก่าอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวถึง




    และนี่คือข้อพิสูจน์ในฐานะการเป็นเสาหลักการศึกษาของแผ่นดินของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พัฒนาการศึกษาจนก้าวขึ้นสู่สถาบันการฝึกหัดครูที่ได้รับการยอมรับสูงสุดของประเทศในปัจจุบัน

    คุณอาจจะเป็นอีกหนึ่งคนที่จะกลายเป็นบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของประเทศในอนาคตได้เหมือนกัน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงน่าจะเป็นตัวเลือกอันดับ 1 ของน้องๆ ที่สนใจในความเป็นครูของประเทศ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×