ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดรั้วโรงเรียนครู "คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

    ลำดับตอนที่ #23 : สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 13.11K
      7
      12 เม.ย. 55


    สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา

    การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ

    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     

     

     


    วุฒิปริญญาทางการศึกษา 


    ครุศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ)
     
    Bachelor of Education (Counseling Psychology, Guidance and Special Education) 

      



    สังกัด
    ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา





    แนวทางการคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา 
    (การคาดการณ์)


    -
    จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
    -
    รูปแบบที่รับ

    ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 คณะครุศาสตร์ รูปแบบรับรวม (ไม่จำแนกสาขาวิชา)

     

     

     

     

    แนวทางการเลือกวิชาเอก


    รูปแบบการเลือกเรียนวิชาเอก :

    วิชาเอกคู่ระหว่างวิชาเอกภายในสาขาวิชากับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น

    ประเภทวิชาเอก

    วิชาเอกบังคับเลือก

    ภายในสาขาวิชา
     เลือกเรียน
    1 วิชาเอก

    วิชาเอกเลือก

    สาขาวิชาอื่น

    เลือกเรียน 1 วิชาเอก

    วิชาเอก

    - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว

    - การศึกษาพิเศษ

    สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)

    - คณิตศาสตร์

    - วิทยาศาสตร์ทั่วไป

    สาขาวิชามัธยมศึกษา

    (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)

    - ภาษาไทย

    - สังคมศึกษา

    - ภาษาอังกฤษ

    - ภาษาฝรั่งเศส

    - ภาษาเยอรมัน

    สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน

    - การศึกษานอกระบบโรงเรียน

    สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

    - สุขศึกษา

    - พลศึกษา

    สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

    - เทคโนโลยีการศึกษา

    - คอมพิวเตอร์การศึกษา






    รายวิชาของวิชาเอกในสาขาวิชา


    วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว (วิชาเอกคู่ จำนวน 38 หน่วยกิต)
    คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะจะเรียนวิชาเอกนี้
       เป็นผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลสนใจศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี  

    ขอบเขตของการเรียนในสาขาวิชานี้
      - วิชาด้านหลักและวิธีการปฏิบัติงานแนะแนว เช่น หลักการแนะแนวกระบวนการกลุ่มสำหรับครูเทคนิคและกิจกรรมแนะแนว
      - วิชาด้านจิตวิทยา เช่น สุขภาพจิตโรงเรียน การประเมินจิตศึกษาขั้นนำ จิตวิทยาการศึกษากับการพัฒนาผู้เรียน
      - วิชาด้านหลักสูตร เช่นหลักสูตรและสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว 
      - สาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ประเด็นและแนวโน้มทางจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว ฯลฯ

    รายละเอียดวิชาเอกที่นำมาคู่
       วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว สามารถเลือกคู่กับ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน สุขศึกษา พลศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน และคอมพิวเตอร์การศึกษา

    แนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต
      เป็นครูแนะแนว และงานด้านการพัฒนาบุคคลในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายฝึกอบรม งานให้การปรึกษา ฯลฯ  รวมทั้งสามารถศึกษาต่อตามความสนใจเฉพาะทาง เช่น จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาโรงเรียน จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาอุตสาหกรรม/องค์การ  การศึกษาพิเศษ   ฯลฯ

    - รายวิชาของวิชาเอก
      1. รายวิชาบังคับ
    จำนวน 26 หน่วยกิต ได้แก่

          2759208 สุขภาพจิตโรงเรียน (2)

          2759210 หลักการแนะแนว (3)

          2759212 กระบวนการกลุ่มสำหรับครู (2)

          2759313 การประเมินจิตศึกษาขั้นนำ (2)

          2759323 ทฤษฎีและเทคนิคในการปรึกษาเพื่องานแนะแนว (3)

          2759374 เทคนิคและกิจกรรมแนะแนว (3)

          2759377 การใช้แบบทดสอบเพื่อการแนะแนว (3)

          2759378 จิตวิทยาการศึกษากับการพัฒนาผู้เรียน (2)

          2759379 การวิเคราะห์หลักสูตรและสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว (2)

          2759405 ประเด็นและแนวโน้มทางจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว (2)


      2. รายวิชาเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต แบ่งเป็น

          2759141 เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (3)

          2759204 จิตวิทยาโรงเรียนขั้นนำ (2)

          2759211 จิตวิทยาสังคมการศึกษา (2)

          2759217 การแนะแนวในระดับประถมศึกษา (2)

          2759241 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (2)

          2759245 เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (2)

          2759246 เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และสังคม (2)

          2759290 จิตวิทยาการเรียนการสอน (2)

          2759304 จิตวิทยาการจูงใจในการเรียนการสอน (2)

          2759308 จิตวิทยาการสอนการคิดและการสร้างสรรค์ (2)

          2759312 การปรับพฤติกรรมในการศึกษา (2)

          2759320 การปรึกษาเป็นกลุ่มสำหรับผู้เรียน (2)

          2759331 ข้อสนเทศทางการศึกษาและอาชีพในการแนะแนว (2)

          2759333 การจัดระบบสารสนเทศทางการแนะแนว (2)

          2759337 การบริหารโปรแกรมแนะแนว (2)

          2759411 การประยุกต์ทฤษฎีในการให้การปรึกษาแก่ผู้เรียน (2)

          2759490 โครงการวิจัยเฉพาะบุคคล (2)




    วิชาเอกการศึกษาพิเศษ (วิชาเอกคู่ จำนวน 38 หน่วยกิต)
    คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะจะเรียนวิชาเอกนี้
       เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีต่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ มีความสนใจใฝ่รู้ในด้านความแตกต่างเฉพาะบุคคล ตลอดจนความต้องการและการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของการศึกษาและโอกาสทางสังคม ในการส่งเสริมให้บุคคลที่มีความต้องการพิเศษสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 

    ขอบเขตของการเรียนในสาขาวิชานี้
      ศาสตร์ด้านการศึกษาพิเศษ รูปแบบการเรียนรู้ลักษณะเฉพาะและความต้องการจำเป็นของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (LD)  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กออทิสติก เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (Gifted  and  Talented) การตรวจสอบและประเมินผลทางการศึกษาเพื่อวางแผนการจัดการศึกษาเทคนิควิธีการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การทำงานร่วมกับครู ผู้ปกครอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และผู้เกี่ยวข้อง

    รายละเอียดวิชาเอกที่นำมาคู่
       วิชาเอกการศึกษาพิเศษ สามารถเลือกคู่กับ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน สุขศึกษา พลศึกษา และคอมพิวเตอร์การศึกษา

    แนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต
      - เป็นครูการศึกษาพิเศษ ครูทั่วไปและครูสอนเสริมในสถานศึกษาแบบเรียนรวม
      - นักวิชาการศึกษาพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ สถานพยาบาล และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
      - ศึกษาต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิตตามความสนใจเฉพาะด้าน เช่น การศึกษาพิเศษ จิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จิตวิทยาโรงเรียนทางการศึกษาพิเศษและสาขาที่เกี่ยวกับการจัดบริการด้านต่าง ๆ สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

    - รายวิชาของวิชาเอก
      1. รายวิชาบังคับ
    จำนวน 22 หน่วยกิต ได้แก่

          2759141 เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (3)

          2759242 การตรวจสอบและประเมินผลทางการศึกษาพิเศษ (3)

          2759243 จิตวิทยาการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (2)

          2759244 การกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (3)

          2759341 วิเคราะห์หลักสูตรและสาระการเรียนรู้ทางการศึกษาพิเศษ (2)

          2759342 การปรับหลักสูตรและเทคนิคการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล (3)

          2759406 ประเด็นและแนวโน้มทางการศึกษาพิเศษ (2)

          2759441 ทักษะการดำรงชีวิตสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (2)

          2759445 เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (2)


      2. รายวิชาเลือก จำนวน 16 หน่วยกิต แบ่งเป็น

          2759142 ภาษามือ 1 (2)

          2759143 ภาษามือ 2 (2)

          2759241 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (2)

          2759245 เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (2)

          2759246 เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และสังคม (2)

          2759247 เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา (2)

          2759262 จิตวิทยาการสอนเด็กด้อยโอกาส (2)

          2759308 จิตวิทยาการสอนการคิดและการสร้างสรรค์ (2)

          2759343 ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับความบกพร่องทางการเรียนรู้ (2)

          2759344 ปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (2)

          2759345 จิตวิทยาการสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (2)

          2759346 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและการสื่อสาร 2(2)

          2759347 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (2)

          2759348 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (2)

          2759350 ภาวะออทิสติก (2)

          2759442 การปรับพฤติกรรมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (2)

          2759443 การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กออทิสติก (2)

          2759444 การฝึกอาชีพสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (2)




    หมายเหตุสำหรับน้องที่เลือกวิชาเอกคู่กับวิชาเอกต่อไปนี้
                        1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป และวิชาเอกคณิตศาสตร์ สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) CLICK!
                        2. วิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกสังคมศึกษา วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส และวิชาเอกเยอรมัน สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์ - สังคมศาสตร์)
    CLICK!
                        3. วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน CLICK!
                        4. วิชาเอกสุขศึกษา และวิชาเอกพลศึกษา สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา CLICK!
                        5. วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา และวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
    CLICK!


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×