ตอนที่ 13 : ตาลปัตร
ตารปัตร
กลับตาลปัตร | [V] reverse,See also:make a reversal,Syn.กลับกัน,พลิกกลับ,เปลี่ยน,Example:การปฏิวัติทำให้ทุกอย่างกลับตาลปัตรหมด,Thai definition:ผิดความคาดหมายอย่างตรงกันข้ามแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ |
เครดิตที่มาhttps://dict.longdo.com/search/*ตาลปัตร*
สิ่งที่ผมตั้งคำถามในตอนนี้ คือเรื่องของความเป็นมนุษย์ที่เราถูกเพิกเฉยใช่เราชินชากับความเจ็บปวด ความลำบากทำให้เรายอมรับในโชคชะตาที่ไม่แน่นอน เราสร้างองค์ประกอบทางความรู้ขึ้นมาจาก ข้อจำกัดบางอย่างที่เราเชื่อเรารู้ นำมาซึ่งข้ออ้างที่ทำให้เราไม่เคลื่อนตัวไปข้างหน้า หลายๆอย่าง หลายเรื่อง ทำให้ความเข้าใจที่แตกต่างนำมาซึ่งความแตกแยก ความเกลียดชังในเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเกิดขึ้นมาจาก ระบบชนชั่นที่เราสร้างมา และทำให้การยุแหย่หรือการบาดหมางเข้ามาทำให้เราแตกออกและนำไปสู่ความ ไม่มีความสุขในการเป็นตัวตน มีรุ่นพี่คนหนึ่งเคยบอกผมว่า“ โหน่ง โหน่งไม่มีทางรู้หรอกว่าใครคิดอย่างไรกับเรา โหน่งไม่มีทางรู้หรอกว่าใครเขาเป็นคนอย่างไรแต่โหน่งรู้ได้ว่าแค่ว่าวันนี้ โหน่งเป็นคนอย่างไร“ นั้นละครับ ผมว่าความจริงในเรื่องนี้ มันเป็นสัจธรรมกึ่งความจริงบุคคลรูปแบบหนึ่ง มันเป็นเหมือนเรื่อง ที่ไม่มีอะไร แต่มันก็ยังติดอยู่ในใจแบบนี้อยู่ ซึ่งนั้นที่ตกผลึกในมุมมองของเรามาจนถึงตอนนี้ นาทีนี้ นั้นละครับเราเรียกมันว่า“ความทรงจำในจิตสำนึก”
ในปัจจุบัน โลกสมัยใหม่มีการพฒันาตลอดเวลาโลกเปลี่ยนไปตามโครงสร้างที่ทำให้เราได้เป็นตัวตน โรคภัยก็ไม่ต่างกัน มันก็เติบโตมาพร้อมๆกับมนุษย์ อาการทางความรู้สึกความคิด ที่มาจากความชินชาในสังคมทำให้เกิด การทางจิตที่นำตัวเราเช่นกันไปสู่ความเล็กกระจิดในใจในขนาดที่เราติดต่อกันได้ยาวนาน
“สิ่งที่เราหลงที่สุดคือเส้นทาง
สิ่งที่อำพรางเราจากเส้นทางคือตัวคุณเอง”
#ZERO
ผลเสียจากวิวัฒนาการที่รวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้คนสมัยนี้สามรถเป็นตัวของตัวเองมีตัวตนที่ผ่านการยอมรับได้ง่ายผ่านโซเชียวการเปิดดูรูปลงสิ่งที่ชอบที่เป็นให้คนอื่นได้รู้จักได้เหมือนได้ขายความเป็นตัวตนของเราให้กับผู้อื่น ซึ่งความชอบใจของชีวิตที่ช่วยให้เราเป็นตัวของตัวเองโดยที่เราไม่จำเป็นต้องอธิบายว่าเราเป็นคนอย่างไรเพียงแต่โพสต์หรือแสดงออกอย่างที่ชอบเพื่อเป็นตัวเองผ่านมุมมองที่คนอื่นรู้จักมาให้เขาเป็น
เรามาทำความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคทางจิตในปัจจุบันกันหน่อย
โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder)(นาซิสซิกติกเพอร์โซเนลลิตี้ ดิสโซเดอร์)
คือ โรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการการยกยอชื่นชม และขาดความเห็นใจผู้อื่น มักหมกมุ่นอยู่กับการโอ้อวดตัวตนของตัวเอง เช่น ความสำเร็จ รูปร่างหน้าตา หรือฐานะทางการเงิน เชื่อว่าตัวเองนั้นเหนือกว่าผู้อื่น รวมทั้งมักคบค้าสมาคมกับบุคคลที่เห็นว่ามีความพิเศษหรือสำคัญมาก การกระทำดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและเคารพนับถือตัวเองให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีความนับถือตัวเองต่ำ ไม่สามารถทนการวิพากษ์วิจารณ์ได้ และมักอับอายหรือรู้สึกอ้างว้างเมื่อถูกปฏิเสธหรือได้รับการวิจารณ์ข้อเสียของตัวเอง
อาการของโรคหลงตัวเอง
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคหลงตัวเองจะปรากฏสัญญาณหรือพฤติกรรมของโรค 5 ลักษณะ หรือมากกว่านั้น ดังนี้
- มักยึดตัวเองเป็นสำคัญมากเกินไป เช่น หวังว่าผู้อื่นจะเห็นว่าตัวเองพิเศษหรือเหนือกว่าในด้านต่าง ๆ
- มักหมกหมุ่นกับการคิดถึงความสำเร็จ อำนาจ ความร่ำรวย ความงาม หรือความรักในอุดมคติของตัวเอง
- เชื่อว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ และบุคคลที่มีความพิเศษหรือสถานะทางสังคมที่สูงเทียบเท่ากันเท่านั้นถึงจะเข้าใจตน
- ต้องการความสนใจ การยอมรับ และความชื่นชมจากผู้อื่น
- คิดว่าสมควรได้รับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ อย่างไม่มีเหตุผล
- แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น เพื่อให้ตนเองบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
- ขาดความเห็นใจและนึกถึงผู้อื่น
- มักริษยาผู้อื่น หรือเชื่อว่าคนรอบข้างอิจฉาตนเอง
- มีความคิดหรือพฤติกรรมที่เย่อหยิ่ง จองหอง
สาเหตุของโรคหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเองยังไม่ปรากฏสาเหตุอย่างชัดเจน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ค่อนข้างซับซ้อนเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โรคหลงตัวเองอาจมีปัจจัยทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดู ซึ่งนำไปสู่ภาวะดังกล่าวเป็นสำคัญ พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกตามใจมากเกินไปหรือละเลยการเอาใจใส่ลูก อาจทำให้เด็กเกิดความคิดและพฤติกรรมที่นำไปสู่โรคหลงตัวเองได้ รวมทั้งอาจเกิดความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดและพฤติกรรมดังกล่าว
โรคหลงตัวเองนับเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่แล้ว เด็กเล็กและวัยรุ่นอาจแสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับโรคนี้ แต่ไม่ได้พัฒนากลายเป็นโรคหลงตัวเองเสมอไป เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการแสดงออกตามวัย ทั้งนี้ ผู้ชายมักป่วยเป็นโรคหลงตัวเองมากกว่าผู้หญิง และจะเริ่มเป็นเมื่อเข้าช่วงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น
ขอขอบคุณที่มา เครดิคhttps://www.pobpad.com/โรคหลงตัวเอง
ฮิสทีเรีย (Hysteria) เป็นโรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่อาจแบ่งออกเป็น2 ลักษณะ คือโรคประสาทฮิสทีเรียและบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย (Histrionic Personality Disorder) โดยลักษณะแรกจะครอบคลุมอาการผิดปกติทางระบบประสาทหลายอาการ เช่น ภาวะชาตามลำตัว ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่รู้สึกตัว พูดไม่ได้ มองไม่เห็น หรือสูญเสียความทรงจำอย่างกะทันหัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่อาจหาสาเหตุทางกายได้ ส่วนผู้ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรียนั้นมักมีอารมณ์อ่อนไหวสูง ปรวนแปรบ่อย ชอบแสดงออกเกินจริง แสดงพฤติกรรมแตกต่างจากผู้อื่นเพื่อดึงดูดความสนใจ พฤติกรรมดังกล่าวทำให้คนมักเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความต้องการทางเพศสูง อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะเน้นให้ข้อมูลของโรคฮิสทีเรียแบบบุคลิกภาพผิดปกติ ซึ่งเป็นลักษณะที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมากกว่า
อาการของฮิสทีเรีย
โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียจัดเป็นความผิดปกติทางจิตในกลุ่มความผิดปกติทางบุคลิกภาพกลุ่มบี (Cluster B: Dramatic Personality Disorders) คือมีอารมณ์รุนแรง แปรปรวนบ่อย และมองเห็นภาพลักษณ์ของตนเองบิดเบือนไป ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติ อีกทั้งยังเป็นคนเข้าสังคมเก่ง แต่มักใช้ความสามารถนี้บงการผู้อื่น และเรียกร้องความสนใจเพื่อให้ตนเองเป็นจุดเด่น ซึ่งผู้ที่เข้าข่ายมีบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรียอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ต้องการเป็นจุดสนใจ รู้สึกอึดอัดและทนไม่ได้ หากไม่ได้รับความสนใจ และไม่ค่อยแสดงความห่วงใยหรือนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น
- อารมณ์แปรปรวนและไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอารมณ์ไม่คงที่และแสดงความรู้สึกออกมาทันทีที่มีเรื่องกระทบจิตใจแม้เพียงเล็กน้อย เช่น ร้องไห้ทันทีเมื่อไม่สบายใจ รู้สึกโกรธมากกับเรื่องผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้น
- การแสดงออกดูเหมือนยั่วยวน พยายามเข้าหาผู้อื่น โดยเฉพาะเพศตรงข้าม ด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และใช้ลักษณะภายนอกของตนเองดึงดูดความสนใจจากผู้อื่น เช่น ชอบแต่งตัวยั่วยวนเพื่อให้ตนเองเป็นจุดสนใจ
- แสดงอารมณ์ ลักษณะท่าทางและการพูดเกินจริง โดยอาจมีลักษณะท่าทางและการพูดเหมือนกำลังเล่นละคร
- คล้อยตามสถานการณ์หรือถูกผู้อื่นโน้มน้าวได้ง่าย
- แสดงออกถึงความสนิทสนมกับผู้อื่นมากเกินจริง คิดไปเองว่าสนิทสนมกับอีกฝ่าย ทั้งที่อีกฝ่ายอาจไม่ได้รู้สึกสนิทใจด้วย
- รู้สึกเบื่อหรือหงุดหงิดง่าย เช่น เบื่อหน่ายกิจวัตรประจำวัน อดทนทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ เป็นต้น
- ด่วนตัดสินใจ ละเลยการไตร่ตรองเหตุผลอย่างรอบคอบ
- ไม่อาจรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว มักแสดงพฤติกรรมที่ดูไม่จริงใจ หรือมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพียงผิวเผิน
- ขู่ว่าจะฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
เครดิตที่มาhttps://www.pobpad.com/ฮิสทีเรีย
จากการศึกษาเราจะพบได้ว่าอาการที่ผมบอกมาทั้งสองอย่างนี้ในปัจจุบันมันพบได้ง่ายมาก ครั่นจะให้ไปแยกว่าใครเป็นโดยยกขอบ่งชื่อตรงๆมาคงอยากครับ เพราะว่าสังคมในตอนนี้ การเป็นตัวของตัวเองมันถูกซ้อนทับ ดั่งชื่อตอนที่ผมบอกว่า ตาลปัตร ไปหมด ไม่มีทางเลือกที่จะเข้าใจในอาการที่ทำให้ตัวนั้นต้องเบียดเบียนผู้อื่น สังคมถูกเทไปทาง ความรู้สึกที่คิด มากกว่าความคิดที่ทำให้เรารู้สึก
นอกจากความสำเร็จที่เราล่อลวงกันเองแล้วว่าทำแบบนั้นแบบนู้นดี การเป็นตัวของตัวเองก็ถูกกลับตาลปัตรเช่นกันกับหนทางที่เราทุกคนเลือกที่จะเป็นตัวเอง
ก่อนจะมีการเซลฟี่เป็นครั้งแรก ชาวกรีกมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการหลงของตัวเองในเรื่องเล่าที่ ชายคนหนึ่งนามว่า "นาซีซัส" เดินทางไปหาคนรักหลังจากที่เขาเห็นภาพสะท้อนของตัวเองในแม่น้ำและตกหลุมรักหัวปักหัวปำกับภาพของตนเองและจมน้ำตายในที่สุด
ตำนานที่เราเล่ามาจากข้างต้นได้จัดแนวคิดเกี่ยวกับการนึกถึงแต่ตนเอง มันเป็นอาการที่ต้องได้รับการแนะนำมัน ถูกวิเคราะโดยจิตวิทยาจต่างๆ โดยมีมุมคิด และเชื่อว่าตน ดูดีกว่า ฉลาดกว่าและมีความสำคัญมากกว่าคนอื่น และนั่นทำให้เขาเชื่อว่าพวกเขาควรได้รับการปฏบัติเป็นพิเศษกว่าคนอื่น
นักจิตวิทยาได้จัดการหลงตัวเองในรูปแบบเป็นลักษณะบุคลิก
การหลงตัวเองคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่และพวกที่ไม่มั่นคงยังมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพเกี่ยวกับการหลงตัวเองแบบที่รุนแรงกว่านี้
“การหลงตัวเองคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่” (GRANDIOSE NARCISSISM)
ในแบบที่เรารู้จักกันดีมีลักษณะคือ
ชอบเข้าสังคม(EXTROVESION)
ทำตัวเด่น(DOMINANCE)
เรียกร้องความสนใจ(ATTENTION SEEKING)
จากมุมที่คิดเพื่อตัวเองคิดว่าตัวเองต้องได้รับความสนใจและการทำแบบนั้นคือเรื่องสมควร เราจะพบคนกลุ่มนี้ได้จาก นักการเมือง ผู้มีชื่อเสียง ผู้นำทางวัฒนธรรม
ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นคนหลงตัวเองหลายคนทำไปเพราะเหตุผลที่ดีของตัวเอง เช่นการเติมเต็มศักยภาพของตนเอง หรือช่วยเหลื่อให้ชีวิตผู้อื่นดีขึ้น
ในขนาดที่พวกหลงตัวจะมองหาอำนาจสถานะความเป็นที่สนใจที่จะได้มาพร้อมกับตำแหน่งนั้นมากกว่าทำเพื่อให่ตัวเองเป็นคนดีหรือช่วยให้คนอื่นดีขึ้น
ในขณะเดียวกันพวกหลงตัวเองที่มีความมั่นคงในตัวเองมากพอเขาจะเงียบและเก็บตัว เมือต้องแพ้ให้อะไรบางอย่าง และพยามทำสิ่งที่ทำได้เป็นอย่างดีแม้จะมีอาการการข่มขู่และถูกทำให้น้อยใจได้ง่าย
ในทั้งสองกรณีไม่ว่าคุณจะเปิดเผยหรือเก็บความรู้สึกน้อยใจไว้คนที่ไม่สามารถกู้ความรู้สึกตัวเองกลับมาได้จากความไม่โดนนับถือหรือพวกหลงตัวเอง มันจะแสดงบุคลิกด้านมืดออกมาต่อต้านไม่ทำตามมากกว่าปกติและช่วงเวลาที่ยาวนาน
“พวกที่หลงตัวเองมีกแสดงออกถึงการเป็นคนห็นแก่ตัว”
เพราะการเอาแต่นึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้และคนอื่นมีเป็นหลักเองผู้นำที่หลงตัวอาจการทำการตัดสินใจที่เสี่ยงหรือไม่ถูกกฎทำนองครองธรรมเสียและคู่ชีวิตที่หลงตัวเองก็ผลงานวิจัยลองรับแล้วว่าเขาจะมีความเอนเอี่ยงที่จะเป็นคนไม่ซื่อสัตย์และมีความซื่อตรงกับคู่ครองเขา
เมือภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของเขาถูกท้าทายพวกคนกลุ่มนี้จะไม่พอใจ ก้าวร้าวใส่เหมือนผู้ที่แนะนำนั้นผิดและกล่าวหาว่าไม่มีความรู้ความเข้าใจมาติมาวิจารญ์ตัวผมได้อย่างไร
”มันเหมือนกับโรคที่ผู้ป่วยรู้สึกดีแต่คนอื่นรอบๆรู้สึกแย่”
การหลงตัวเองในแบบที่รุนแรงที่สุดจัดว่าเป็นความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่าความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบลงตัวเองส่งผลต่อคนในกลุ่มประชากร 1-2 เปอร์เซ็นต์มักเกิดกับผู้ชายที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และในผู้ใหญ่สาวๆเช่นกันโดยเฉพาะเด็กๆช่วงเล็กๆเพราะอยากให้เป็นจุดสนใจ
แต่มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการพัฒนาตามปกติการวิจัยและสถิติฉบับที่ 5 ของสมาคมอเมริกันอธิบายลักษณะความผิดปกติทางบุคลิกภาพเกี่ยวกับการหลงตัวเองบางอย่างไว้นั่นรวมถึงความเห็นตัวเองยิ่งใหญ่ สามารถกูกแก้ใขปัญหา ด้วยการฝึกความเห็นอกเห็นใจคนอื่นและการเข้าใจเจตนาการรู้สึกของตนและเรียนรู้ความต้องการการได้รับการชื่นชม
สิ่งสนใจสิ่งที่ทำให้ลักษณะความผิดปกติทางบุคลิกภาพมันครอบงำชีวิตของคนที่มีนัยยะสำคัญลองนึกว่าแทนที่จะสนใจคนรักหรือลูกของคุณเรากลับใช้พวกเขาเพื่อเรียกร้องความสนใจในชีวิตของคุณ หรือลองนึกภาพ แทนที่เราจะยอมรับคำวิจารญ์ของคนอื่นอย่างตรงไปตรงมาเพื่อพัฒนาตนเองเรา คุณกลับบอกทุกคนที่ทำแบบนั้นว่าผิดแล้ว
แล้วสาเหตุของการหลงตัวเองคืออะไรกันล่ะ
จากการศึกษาการฝาแฝดแสดงว่ามันเกี่ยวกับ “ยีน” สิ่งที่เรายังไม่รู้ก็ตามว่ายีนใดเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นสิ่งแวดล้อมก็สำคัญเช่นกัน เช่นพ่อแม่ที่ไม่อยากให้ลูกติดลูกดินก็เลี้ยงลูกของเค้าให้เป็นคนหลงตัวเองได้
และพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกใต้ข้อบังคับควบคุมอย่างเข้มงวดก็ทำให้ลูกเป็นคนหลงตัวเองได้เช่นกันได้ในแบบเปราะบาง
การหลงตัวเองเหมือนว่าจะมากเกินไปในสังคมที่ให้คุณค่ากับเป็นเอกภาพและการยกยอตนเอง
อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาการหลงตัวเองเป็นบุคลิกอย่างหนึ่งที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ยุค 1970 แรงพลักดันที่มีมาตั้งแต่ในยุค60 เกิดกระแสความเชื่อมั่นในตัวเองและการเพิ่มขึ้นทางวัตถุนิยม
และไม่นานมานี้สังคมคนเราก็ได้มีสื่อโซเชียวมีเดียที่ช่วยกระตุ้นให้คนเราหลงตัวเองและต้องการการยอมรับจากผู้อื่นในการช่วยตัวเองเป็นร้อยเท่าพันทวี
แล้วคนที่หลงตัวเองจะสามรถปรับเปลี่ยนลักษณะเชิงลบนนั้นได้หรือไม
อะไรก็ตามที่สะท้อนความซื่อสัตย์ของพฤติกรรมตนเองและการใส่ใจคนอื่น เช่นการบำบัดทางจิต หือการฝึกความเห็นใจต่อคนอื่น อาจเป็นประโยชน์
“ความยากก็คือมันอาจท้าทาย สำหรับคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองที่จะต้องพฤติกรรมด้านดีนั้นอย่างสม่ำเสมอ”
สำหรับคนหลงตัวเองการแสดงตัวตนนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ยากหากไม่มีการประจบประแจง
จริงๆแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการหลงตัวเองหรือการขาดความอบอุ่น ปัญหาของคนที่เป็นอาการแบบนี้ก็คือ พวกเขาเรานี้ต้องพึงพาผู้อื่นเพื่อให้ตนเองนั้นอยู่รอดโดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรสนใจแค่สิ่งที่ตนเองได้รับและกระทำแค่สิ่งที่ตัวเองมีความสุขเท่านั้นเอง
ขอบคุณที่อ่านนะครับหวังว่าจะหมอบแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความคิดวิธีคิดเกี่ยวผู้อารมณ์และการแสดงออกของผู้คนมากขึ้นนะครับ ผม กวีสีเทา
นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ
