สอนลูกให้อยู่ย่างปราชญ์ (สำหรับวางพื้นฐานให้เด็ก) - นิยาย สอนลูกให้อยู่ย่างปราชญ์ (สำหรับวางพื้นฐานให้เด็ก) : Dek-D.com - Writer
×

    สอนลูกให้อยู่ย่างปราชญ์ (สำหรับวางพื้นฐานให้เด็ก)

    บทความเรื่องนี้ การนำพระธรรมของพระบรมศาสดาโลก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวันด้วยสติและปัญญา โดยเป็นการใช้สั่งสอนปลูกฝังลูก ด้วยเรื่องราวของพ่อคนหนึ่งที่มีต่อลูกด้วยรักยิ่ง

    ผู้เข้าชมรวม

    130

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    130

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  2 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  10 เม.ย. 63 / 12:15 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    คำนำ
    สอนลูกให้อยู่อย่างปราชญ์
    (ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียน และ กิจการงานต่างๆ)

            ..ปะป๊า เขียนหนังสือเรื่อง สอนลูกให้อยู่อย่างปราชญ์ นี้ไว้เพื่อให้ "อั่งเปา ลูกชายของปะป๊าก๊กเฮง" ตอนนี้อั่งเปาเรียนอยู่ ม.๑ โรงเรียนบ้านไผ่ ขก. ๕ ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ นี้ ซึ่งปะป๊าไม่อาจได้อยู่ใกล้อั่งเปา ด้วยต้องมาทำงานที่กรุงเทพฯเพื่อหาเงินเลี้ยงดูลูกให้ได้กินได้เรียนเติบโตมาเป็นคนดี มีวิชาความรู้ จึงได้เขียนตำราโดยย่อเล่มนี้ไว้ให้อั่งเปาใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีพด้วยปัญญา ทั้งในการเรียน การงาน ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งปวง ใช้ปัญญาแก้ปัญหามากกว่าใช้อารมณ์ความรู้สึก..ซึ่งเป็นสิ่งที่นักปราชญ์ทุกคนล้วนทำกัน โดยได้อาศัยหลักธรรมเครื่องปัญญาอันยิ่งหาที่เปรียบเสมอเหมือนมิได้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมพุทธศาสดา ที่ได้ตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นให้นำมาดำเนินชีวิต

             ..ปะป๊าจึงเขียนหนังสือเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้ลูกชายคนเดียวในชีวิต คือ อั่งเปา ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีพโดยชอบธรรม ไม่ว่าจะเป็นหลักการเรียนรู้ใดๆ หลักการทำงานใดๆ หลักการบริหารตนเอง ครอบครัว หรืออื่นๆ สามารถนำไปพลิกแพลงประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมด ตามแต่สติปัญญา ความเฉลียว-ฉลาด รวมทั้งปฏิภาณไหวพริบของอั่งเปา ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้สูงสุดในการดำรงชีพ 

             ซึ่งข้อสำคัญสำหรับการอ่านและเรียนรู้ในสิ่งที่ปะป๊าได้เขียนบันทึกนี้ ให้อั่งเปาได้แยกแยะระหว่าง ทางธรม และ ทางโลก โดยทางธรรมเป็นความลึกซึ้งที่เป็นการเดินจิต จิตทำกิจ จนตัดสิ้นสังโยชน์บรรลุธรรม ส่วนทางโลกเป็นการประยุกต์นำมาใช้งานในปุถุชนฆราวาสซึ่งข้อธรรมบางหมวดที่เข้ากันได้ ซึ่งโดยหลักๆแล้วการปฏิบัติคล้ายๆกัน อาจจะต่างกันที่การเดินจิตบางส่วนหรือศีลธรรมในบางส่วน เพราะในทางโลกยังมีบางอาชีพ บางหน้าที่ ที่เป็นอาชีพสุจริตถูกต้องตามกฏหมาย แต่ยังมีการก้าวล่วงในข้อศีลธรรมบางส่วนอยู่ เช่น ขายสัตว์ จับสัตว์ขาย ขายเนื้อสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องจำแนกและแสดงแนวทางที่ต่างออกไปให้เหมาะสมกับทางโลก
            ..ด้วยเหตุว่า..เพราะพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งใหญ่มากครอบคลุมทั้งหมด ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ควรแก่การโอปะนะยิโก คือ น้อมมาสู่ตนดังนี้.. โดยสมเด็จพระพุทธศาสดาได้ตรัสไว้ในธรรมอันยิ่งใหญ่นี้ว่ามีอยู่ ๒ ประการ คือ ..
    ๑. เป็นแบบสาสวะ คือ เป็นการทำสะสมเหตุอันเป็นบุญบารมีแก่ขันธ์ คือ เป็นการสะสมบุญบารมีธรรมและปัญญาทั้งปวงต่อกายและใจของผู้ปฏิบัติ
    ๒. เป็นแบบอนาสวะ คือ เป็นของพระอริยะสาวก ที่เป็นการเจริญเพื่อทำให้องค์อริยะมรรคยิ่งๆขึ้น เพื่อการตัดสิ้งสังโยชน์ ๑๐ บรรลุอรหันต์เป็นพระขีนาสพ

            ..การเขียนตำราเล่มนี้ ไม่ใช่การบิดเบือนพระธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมปฏิรูปการปฏิบัติ ไม่ใช่การบัญญัติธรรมใหม่ แต่เป็นการเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของปุถุชนชาวพุทธทั่วไปตามสติกำลัง เพื่อการดำรงชีพอยู่ได้โดยชอบธรรมและสุจริตให้มากที่สุด เพื่อสะสมเป็นบุญบารมีแก่ขันธ์ และเป็นแนวทางปัญญาเรียนรู้ตามพระพุทธศาสดาตรัสสอน พร้อมทั้งสร้างประโยชน์สูงสุดแก่อั่งเปาที่จะได้ปฏิบัติตาม จงจำไว้ว่า..ทางธรรมเจริญเพื่อความบริสุทธิ์ยิ่งในขันธ์เพื่อการถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ โดยต้องเจริญตามในพระไตรปิฎกตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ทางโลกเราใช้เพื่อดำรงชีพโดยความสุจริตให้มากที่สุด แม้ไม่อาจะครบถ้วนบริบูรณ์ได้เพราะเป็นเรื่องปรกติของผู้ครองเรือนทั่วไป ที่ไม่ใช่พระอริยะสาวกก็สะสมบารมีเครื่องกุศลให้ได้มากที่สุด เพื่อจะเป็นบารมีผลักดันให้เราได้รับในสิ่งที่ดีงามในภายภาคหน้าสืบไป ดังนี้..

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น