5 ธันวามหาราช - 5 ธันวามหาราช นิยาย 5 ธันวามหาราช : Dek-D.com - Writer

    5 ธันวามหาราช

    วันพ่อแห่งชาติ

    ผู้เข้าชมรวม

    866

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    866

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 ธ.ค. 49 / 16:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      LONG LIVE THE KING
      ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

       

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาล เมานท์ออเบอร์น(Mount Auburn)  เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสสาชูเชตต์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระ วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็นพระราช โอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นาง เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคมพุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี
                   เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๑๔ กันยายนพุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเจริญพระชนมายุได้ไม่ถึงสองพรรษา

      และเมื่อมี พระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพมหานครฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จ พระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จ พระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จ พระบรมเชษฐาธิราช เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาใน โรงเรียน Miremont ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษา อังกฤษ จากนั้น ทรงเข้าศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียน Ecole Nouvelle de la Suisse Romande, Chailly-sur Lausanne เมื่อทรงรับ ประกาศนียบัตร Bachelier es Letters จาก Gymnase Classique Cantonal แห่งเมืองโลซานน์แล้ว ทรงเข้า ศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์


                   ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระ มหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช จึงทรงได้รับการ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้โดยเสด็จ พระราชดำเนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย เป็นครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๔๘๑ แล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงโดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง
                   ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดย กระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง รัฐสภาได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้อัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ ในวันเดียวกัน แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงต้อง เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยัง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย แห่งเดิม ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

       ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างปรเทศนั้นทรงพบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้า นักขัตรมงคล กิติยากร และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร (ภายหลังได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ หม่อมเจ้า นักขัตรมงคลฯ เป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๓ และขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระวงวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๕) ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


                   ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการ พระราชพิธีถวาย พระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนัก สมเด็จพระศรีสวริน ทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรม ราชโองการ โปรดเกล้าฯให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

                ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกตามแบบ อย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิม พระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

      พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐม บรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
                 หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาพระสุขภาพ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และระหว่างที่ประทับในเมือง โลซานน์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายนพุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานสำหรับเป็นที่ประทับแทนการ ที่รัฐบาลจะจัดสร้างพระตำหนักขึ้นใหม่ และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีมีพระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ             
                 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวงกรณสยามมกุฎ ราชกุมาร
                   สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ต่อมาในพุทธศักราช๒๕๒๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
                   สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติ ราชการแผ่นดินแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วันที่ทรงผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่ พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถในปีเดียวกันนั้นเอง

       และในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
      หลังจากทรงประกอบพิธี เฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งได้ต่อเติมขึ้นใหม่แล้วได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต กลับไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน

               นับจากเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐา ธิราช เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ จวบจนปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยต่อเนื่องกันมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ บันดาล ประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้สมดังพระปฐมบรมราชโองการทุกประการ          


      ขอพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญ พระชนมายุยิ่งยืนนาน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×