ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานการณสิ่งแวดล้อมประเทศไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : สิ่งแวดล้อมไทยปี 2000 www.earthcharter.org

    • อัปเดตล่าสุด 13 ธ.ค. 49


              รายงาน สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย ปี 2000 โดยสำนักงานธนาคารโลก (World Bank)
    กรุงเทพฯ ได้ระบุว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญยิ่ง
    ด้วยมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณที่มีลักษณะโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ชีวภาพ ทำให้ประเทศไทย
    มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณพืชและพันธุ์สัตว์นานาชนิด และมีระบบนิเวศที่หลากหลาย
    แต่ทว่าเมืองไทยกำลังมีการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
    สาเหตุสำคัญในเรื่องนี้มาจากการลดลงอย่างมากของพื้นที่ป่าไม้ ป่าชายเลน  และพื้นที่ชุ่มน้ำ
    ปัจจุบันพื้นที่อนุรักษ์ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 8 ล้านเฮกเตอร์ 
    หรือประมาณร้อยละ 16 ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย
    อุทยานแห่งชาติทางบก  65 แห่ง  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 44 แห่ง
    เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 54 แห่ง วนอุทยาน 57 แห่ง สวนพฤกษศาสตร์ 5 แห่ง
    และสวนรุกขชาติ 44 แห่ง ในปี พ.ศ. 2541  และมีอุทยานแห่งชาติทางทะเล
    18
    แห่งซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 3 ล้านไร่

              นอกจากนั้นยังมีการระบุไว้ด้วยว่า พรรณพืชประมาณ 100 ชนิดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์
    และไม่ต่ำกว่า 900 ชนิดหาได้ยากขึ้นหรือมีแนวโน้มสูญพันธุ์   สำหรับสัตว์ที่อยู่ในสภาพ
    ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 13 ชนิด นก 38 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน
    7
    ชนิด  นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีก 35 ชนิด นกอีก 69 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 5 ชนิด
    และปลา 29 ชนิดก็อยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ด้วย

              ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเอกสารสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย ปี 2000
    ที่นำเสนอแนวโน้มสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยมุ่งที่จะให้เป็นหนังสือคู่มือ
    ที่ใช้ร่วมกับเอกสารกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อว่า Building Partnerships for Environmental
    and Natural Resource Management
    ซึ่งได้จัดลำดับความสำคัญการให้ความสนับสนุน
    ด้านการเงินของธนาคารโลก  ซึ่งเป็นภาพสะท้อนอีกภาพหนึ่งที่น่าสนใจและน่ารับรู้อย่างยิ่ง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×