ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    ลำดับตอนที่ #10 : การคมนาคม เข้า - ออก ระหว่างสนามบิน ไม่มีปัญหา

    • อัปเดตล่าสุด 18 ก.ย. 49


    การคมนาคม เข้า - ออก ระหว่างสนามบิน ไม่มีปัญหา

                              การก่อสร้างสนามบินระดับโลกที่มีความทันสมัย สามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมากในระดับนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนจัดระบบการจราจรและขนส่งโดยรอบสนามบินให้มีความสะดวกรวดเร็วสอดคล้องกับศักยภาพของสนามบินด้วย ในเรื่องนี้ ดร.สุวัฒน์ฯ กล่าวว่า ได้มีโครงการรองรับการคมนาคมเข้า-ออกสนามบินในหลายรูปแบบ ทั้งทางด่วน ทางหลวง รถไฟ และรถเมล์ ซึ่งจะสะดวกกว่าสนามบินดอนเมืองมาก และยังเข้าออกจากสนามบินได้หลายทางรอบทิศ ทั้งทางมอเตอร์เวย์ ถนนกิ่งแก้ว ถนนอ่อนนุช และถนนบางนา-ตราด

                            “โครงการที่รองรับการขนส่งคนระหว่างเมืองกับสนามบิน นอกเหนือจากโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ โครงการการขยายมอเตอร์เวย์ แล้ว ยังมี โครงการตัดทางด่วนสายใหม่ ออกจากบริเวณถนนเอกมัยตรงเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อไม่ให้เกิดการจราจรติดขัดในการเดินทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิในอนาคต แผนดังกล่าวเตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรีให้รับหลักการ และเห็นชอบให้การทางพิเศษฯ เป็นผู้ดำเนินการ คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในประมาณ 6 ปีข้างหน้า

                            นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยยังทำการศึกษาการเปิดให้บริการรถไฟด่วน (Fast Train) โดยมีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม และจะให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการก่อสร้างและเดินรถด้วย โดยรัฐบาลต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในด้านเงินลงทุน งบประมาณของโครงการนี้ประมาณ 30,000 ล้านบาท

                           และยังมีการคมนาคมอีกรูปแบบหนึ่งคือ รถเมล์ ซึ่งเป็นรถโดยสารประจำทางชั้นดีที่สุดในประเทศไทย เทียบเท่ารถเมล์ที่ดีที่สุดของโลก โดยเป็นรถขนาดรถทัวร์ แอร์เย็น เบาะนุ่ม บันไดไม่สูง มีช่องใส่กระเป๋าเดินทางได้สะดวก ซึ่งจะจอดหน้าอาคารผู้โดยสารได้เลย วางแผนว่าจะมีทั้งหมด 4 สาย แวะจอดตามโรงแรมชั้นนำต่างๆ และจะพัฒนาที่มักกะสัน อโศก ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เป็นที่จอดรถเมล์นี้ โดยผู้โดยสารสามารถเช็คอินกระเป๋าได้ที่นี่ จากนั้นจึงโดยสารรถเมล์ดังกล่าวไปที่สนามบินได้ โดยอาจคิดค่าโดยสารประมาณ 100 บาท”

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×