ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    ลำดับตอนที่ #1 : บทบาทของท่าอากาศยานกับเศรษฐกิจ

    • อัปเดตล่าสุด 18 ก.ย. 49


    บทบาทของท่าอากาศยานกับเศรษฐกิจ

                      กว่าสิบปีมาแล้วที่ Alvin Toffler นักพยากรณ์อนาคต กล่าวไว้ว่า สิ่งที่กำหนดความสำเร็จของการแข่งขันทางการค้าในระดับโลก จากศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป คือ “ผู้ที่รวดเร็วที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด” ซึ่งสิ่งที่ Toffler กล่าวได้ค่อยๆ ปรากฏให้เห็นแล้วว่าเป็นความจริง ในปัจจุบัน นานาประเทศต่างแข่งขันกันในโลกแห่งความเร็วที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ก่อให้เกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่มีสนามบินนานาชาติเป็นตัวขับเคลื่อนและใช้กำหนดทำเลที่ตั้งของธุรกิจ อันเป็นรูปแบบการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับที่ท่าเรือน้ำลึกได้ทำหน้าที่เดียวกันนี้ในศตวรรษที่ 18 ทางรถไฟในศตวรรษที่ 19 และทางหลวงในศตวรรษที่ 20 สนามบินในปัจจุบันจึงเป็นปัจจัยสำคัญของระบบการผลิตและการพาณิชย์ระดับโลกที่จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศ ช่วยสนับสนุนระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการจัดการหาสินค้าที่เป็นวัตถุดิบของธุรกิจอื่น หรือที่เรียกว่า ห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Chain) ทั้งยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดโรงงานและสำนักงานพาณิชย์ โดยเฉพาะธุรกิจด้านไฮเทคและเศรษฐกิจเมือง รวมทั้งก่อให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจต่อเนื่องจากกิจกรรมการบินในพื้นที่รอบสนามบินและตามแนวเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกับสนามบินอีกด้วย สำหรับประเทศไทย สินค้าส่งออกถึงร้อยละ 80 ในปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยความรวดเร็วของการขนส่งทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการส่งออกตามนโยบายอุตสาหกรรมระดับโลก (Global Niches) เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหารที่เน่าเสียง่าย หรือสินค้าแฟชั่น ซึ่งจำเป็นต้องขนส่งอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สินค้ายังคงทันสมัย ไม่ตกยุค เป็นต้น ดังนั้น สนามบินจึงนับเป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยเช่นกัน
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×