คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : สิทธิในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ [ตอนจบ]
สิทธิผู้บริโภค ผู้โดยสาร
การที่เราเป็นผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะหรือรถประจำทาง ทำให้เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภค และย่อมได้รับความคุ้มครองในสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการตามที่กฎหมายได้บัญญัติ (พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2541) ไว้ คือ
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศนากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้ปริโภคและปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวัง ตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
ที่สำคัญรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 61) ได้ประกาศรับรองหลักของความคุ้มครองผู้บริโภคไว้ 3 หลักใหญ่คือ
1. ความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เป็นความจริงของผู้บริโภค
2. ความคุ้มครองในการร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภค
3. ความคุ้มครองในการรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
นี่คือหัวใจสำคัญที่บอกกับเราว่า “สิทธิของผู้บริโภคเป็นสิทธิที่ใครจะมาละเมิดไม่ได้ !”
หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนและให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย
หน่วยงาน | หมายเลขโทรศัพท์ | การบริการให้ความช่วยเหลือ |
ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ | 1584 | ให้บริการและให้ความช่วยเหลือทางด้านรับร้องเรียนหรือรับแจ้งข้อมูลในเรื่องการบริการ รถขนส่งสาธารณะ |
ศูนย์รับร้องเรียนขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ | 184 | |
แจ้งร้องทุกข์เกี่ยวกับรถโดยสารของ บขส.และรถร่วม | 1508 | |
ตำรวจทางหลวง | 1193 | |
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค | 02-2483733-37 | รับร้องเรียน ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย และช่วยเหลือด้านคดีของผู้บริโภค |
สภาทนายความ | 02-629-1430 | รับร้องเรียน ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายและช่วยเหลือด้านคดีผู้บริโภคและคดีความทั่วไป |
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 1186 | รับร้องเรียนให้คำปรึกษาด้านการประกันภัย |
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 1166 | รับร้องเรียน ให้คำปรึกษาปัญหาผู้บริโภค |
ความคิดเห็น