ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ( OCD ) break Me heart #KaiDo

    ลำดับตอนที่ #1 : #ยคยท เดี๋ยวก่อนคิดไม่ทัน เอาสาระไป ขี้เกียจอ่านก็ข้ามๆไปค่ะ

    • อัปเดตล่าสุด 1 มี.ค. 58


     

     

    โรคย้ำคิดย้ำทำ (infomental)
    โดย : ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ 

            ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า "ย้ำคิดย้ำทำ" และรู้สึกเหมือนกับเข้าใจ แต่บางครั้งเวลามีใครมาถามว่าย้ำคิดย้ำทำนี่มันเป็นอย่างไรเรากลับตอบไม่ถูก

            การหมกมุ่นครุ่นคิดกังวลกับเรื่องบางเรื่องนั้น ใช่ย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ใช่ ครับ

            การฝันกลางวัน ฝันอยากถูกรางวัลที่ 1 สักงวดจะได้ซื้อของที่อยากได้นั้นใช่ย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า ก็ ไม่ใช่ อีกแหละครับ

            อาการย้ำคิด นั้นคือ ความคิดที่ผุดเข้ามาในสมองของเราโดยไม่ตั้งใจ และทำให้เกิดความกลัวหรือความกังวล

            อาการย้ำทำ คือ การกระทำหรือการคิดเพื่อลดความกลัว หรือความกังวลที่เกิดจากอาการย้ำคิด

            อาการย้ำคิดย้ำทำนั้นบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้ในคนปกติ เช่น บางครั้งเราเพิ่งปิดไฟไปหยก ๆ แต่อยู่ ๆ ก็มีความคิดผุดขึ้นมาในสมองว่า เอ...ตะกี้นี้ปิดไฟเรียบร้อยหรือเปล่า สวิทซ์อาจค้างปิดครึ่ง ๆ กลาง ๆ เดี๋ยวไฟจะชอร์ทนะต้องมากดสวิทซ์ซ้ำอีก 1 หรือ 2 ทีเพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้นจึงจะ "ผ่าน" แบบนี้ใช่ครับ เป็น อาการ ย้ำคิดย้ำทำ แต่ถ้าบางทีเป็นบางทีไม่เป็นหรือนานๆ จะเป็นสักครั้งหนึ่งแบบนี้ก็ยัง ไม่ถือว่าป่วยเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ ครับ

            เราจะถือว่าป่วยเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ เมื่ออาการย้ำคิดย้ำทำนั้นเป็นมาก จนทำให้เกิดปัญหาหนึ่งใน 3 อย่างต่อไปนี้ครับ

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 1. อาการเป็นมากเลิกคิดเลิกทำไม่ได้จนทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ทรมานมาก

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 2. อาการเป็นมากจนทำให้เสียงานเสียการ เพราะมัวแต่ย้ำคิดย้ำทำ หรือต้องคอยหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมากระตุ้นให้เกิดอาการย้ำคิด

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 3. อาการต่าง ๆ ทำให้ต้องทำอะไรที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น ต้องกินเหล้ากินเบียร์เพื่อลดความเครียด โกรธและทำร้ายตัวเอง หรือบางรายเกิดอาการซึมเศร้าอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตายก็มี

    อาการย้ำคิดย้ำทำ มีรากฐานมาจากความกลัว

    อาการย้ำคิดย้ำทำ มีรากฐานมาจากความกลัว โดยเรื่องที่ผู้ป่วยมักจะกลัวมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 1. กลัวโชคร้าย

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 2. กลัวความสกปรก

            ตัวอย่างผู้ป่วยที่กลัวโชคร้าย เช่น กลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงโทษ ทำให้ต้องยกมือไหว้วัดหรือศาลทุกชนิดที่พบเห็น  กลัวปิดประตูหน้าต่างไม่เรียบร้อยแล้วขโมยจะขึ้นบ้าน ทำให้ต้องคอยตรวจตราประตูหน้าต่างทั่วบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีกหลาย ๆ รอบจึงจะเข้านอนได้ กลัวแก๊สรั่ว ทำให้ต้องปิดแก๊สทุกครั้งที่ปิดไฟในเตา ทั้ง ๆ ที่ยังทำกับข้าวไม่เสร็จ มีคำว่า "ตาย" ผุดขึ้นมาในสมองทุกครั้งที่เย็บผ้า ทำให้ต้องเลาะด้ายที่เย็บไปแล้วออกพร้อมกับนึกคำว่า "ไม่ตาย" ทุกครั้งที่เลาะ กลัวทิ้งสิ่งมีค่าทำให้ต้องรื้อขยะในถังมาดูทีละชิ้นๆให้แน่ใจ

            ตัวอย่างผู้ป่วยที่กลัวสกปรก เช่น ล้างมือซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะยังรู้สึกว่าไม่สะอาด อาบน้ำนานมาก เพราะกลัวว่าจะล้างสบู่ออกไม่หมด เดินผ่านกองขี้หมาก็ต้องดูรองเท้าซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะกลัวว่าจะเผลอไปเหยียบมันเข้า

            นอกจากใช้การย้ำทำมาลดความกลัวแล้วบางครั้งผู้ป่วยยังต้องคอย ถามคนใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวเกิดขึ้นด้วยเช่น ถามคนที่เดินไปด้วยกันว่าตะกี้ฉันเหยียบขี้หมาหรือเปล่า หรือคอย หลีกเลี่ยง สิ่งที่จะทำให้เกิดความย้ำคิดเช่น ให้สามีเป็นคนปิดประตูหน้าต่างก่อนเข้านอน หรือเดินอ้อมใช้ทางที่ไม่ผ่านศาลเจ้าเพราะกลัวจะเกิดคำด่าผุดขึ้นมาในสมองเวลาเดินผ่านศาล

    คนที่เป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ ไม่ใช่คนบ้า

            คนที่เป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ นั้นยังรู้ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง ผู้ป่วยรู้ว่าสิ่งที่ตนกลัวนั้นไร้สาระ แต่หยุดการย้ำคิดและอดที่จะกลัวไม่ได้ และไม่กล้าฝืนที่จะไม่ย้ำทำ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่รักษาได้

            ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของ โรคย้ำคิดย้ำทำ แต่เราก็มีวิธีรักษาโรคนี้อย่างได้ผล

    การรักษา โรคย้ำคิดย้ำทำ ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 1. พฤติกรรมบำบัด
            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 2. ใช้ยา

    พฤติกรรมบำบัด

            การรักษา โรคย้ำคิดย้ำทำ ด้วยพฤติกรรมบำบัดนั้นอาศัยหลักที่ว่า เมื่อเราพบกับสิ่งที่เรากลัว และเกิดความกลัวขึ้นแล้วเรารีบหนีความกลัวก็จะหายไปพักหนึ่ง แต่เมื่อเราพบกับสิ่งนั้นอีกเราก็จะอยากหนีอีก แต่ถ้าเราเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัวเป็นเวลานานๆ (exposure) เมื่อเวลาผ่านไปความกลัวที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ลดลงเอง เพราะเราจะเกิดความชินชาขึ้น (habituation หรือ desensitization) เช่น ให้ผู้ป่วย โรคย้ำคิดย้ำทำ ที่กลัวปิดน้ำไม่สนิทจงใจเปิดน้ำให้หยดแหมะ ๆ ทิ้งไว้แล้วออกไปทำงานเลย ผู้ป่วยจะเกิดความกังวลตะหงิด ๆ อยากกลับไปปิดน้ำอยู่พักใหญ่ๆ แล้วความกังวลจะค่อย ๆ ลดลงจนลืมไปเอง ตอนเย็นกลับบ้านมาค่อยไปปิด ถ้าทำทุกวัน ๆ จะใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็จะเลิกกลัวการปิดน้ำไม่สนิทได้ หลักในการปฏิบัติมีอยู่ 3 ข้อ คือ

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 1. ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวไม่มากนักก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ว่าวิธีรักษาแบบนี้ได้ผลจริง แล้วค่อยฝึกกับเรื่องที่ผู้ป่วยกลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 2. ให้เวลาให้นานพอ ควรให้เวลาฝึกแต่ละครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้มีเวลานานพอที่จะเกิดความชินชาขึ้น

            คำอธิบาย: http://img.kapook.com/image/icon/three_star.gif 3. ทำซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเช่นทุกวันหรืออย่างน้อยวันเว้นวันจนกว่าจะหาย

            นอกจากการฝึกโดยการเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวแล้ว ผู้ป่วยยังจะต้องงดเว้นการย้ำทำในขณะฝึกด้วย (response prevention) เช่น เมื่อให้ผู้ป่วยฝึกโดยการปิดเตาแก๊ส โดยไม่ต้องปิดถังแก๊สในช่วงกลางวัน ระหว่างฝึกผู้ป่วยจะต้องไม่มาคอยตรวจตราห้องครัว และต้องไม่คอยถามคนใกล้ชิดเช่น แก๊สคงไม่รั่วใช่ไหมเพื่อให้เขาตอบว่า ม่รั่วหรอกในกรณีนี้ถ้าผู้ป่วย เผลอถามให้คนใกล้ชิดตอบว่า หมอไม่ให้ตอบเพื่อให้ผู้ป่วยต้องฝึกที่จะทนกับความกังวลที่เกิดขึ้น จนเกิดความชินชาขึ้นในที่สุด

            การรักษาโดยการใช้พฤติกรรมบำบัดนั้นไม่ค่อยสนุกเท่าไร เพราะผู้ป่วยต้องทนทำสิ่งที่ตนกลัว แต่ถ้าผู้ป่วยยอมร่วมมือการรักษามักได้ผลดี อาการต่างๆจะหายได้อย่างรวดเร็วและหายได้อย่างค่อนข้างถาวร ที่สำคัญคือ ต้องลงมือทำจริงๆและให้เวลากับการฝึกแต่ละครั้งนานพอ

    การใช้ยา

            ยาที่ใช้รักษา โรคย้ำคิดย้ำทำ ได้ผล คือ ยาในกลุ่มยาแก้โรคซึมเศร้า ชนิดที่ออกฤทธิ์กับสารสื่อนำประสาทในสมองที่เรียกว่า ซีโรโทนิน (serotonin)

            ในการรักษา โรคย้ำคิดย้ำทำ ต้องใช้ยาในขนาดค่อนข้างสูงและใช้เวลารักษานาน โดยทั่วไปถ้าจะรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว จะต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาอยู่นานประมาณ 1-2 ปี แต่การรักษาด้วยยาก็มีข้อดีคือ สะดวกกว่าการฝึก ในบางรายที่มีอาการมาก ๆ และไม่กล้าฝึกแพทย์อาจให้การรักษาด้วยยาไปก่อน เมื่ออาการย้ำคิดย้ำทำน้อยลง และผู้ป่วยพร้อมที่จะฝึกค่อยให้ผู้ป่วยเริ่มฝึกก็ได้ 

     #ยคยท


    อย่างงค่ะอันนี้อธิบายโรคไงเออ มีสาระไงงงงง

    ขอเวลาทำใจลงเนื้อหาสักพักนะคะ  กราบบบบบบบบบบบบบบ

     © themy  butter
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×