ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อเล็กซานเดอร์มหาราช

    ลำดับตอนที่ #2 : พระประวัติโดยละเอียด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 718
      0
      3 ก.พ. 50

    พระประวัติโดยละเอียด
    เอ่ยชื่อ มาซีโดเนีย (Macedonia) อาจจะมีน้อยคนที่รู้จักหรือเคยได้ยิน แต่ถ้าเอ่ยชื่อ อเล็กซานเดอร์ (Alexander) หลายคนคงร้องอ๋อ อเล็กซานเดอร์มหาราช...กษัตริย์ชาตินักรบชื่อก้องโลกเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีที่ผ่านมานั้น เกิดที่มาซีโดเนีย...อาณาจักรโบราณที่เป็นเสมือนกันชนระหว่างรัฐกรีกกับพวกชนเผ่าดั้งเดิม
    อเล็กซานเดอร์เกิดในเดือนกรกฎาคม 356 ปีก่อน ค.ศ. ที่เพลา (Pela) มาซีโดเนีย เป็นโอรสองค์แรกของ กษัตริย์ฟิลลิปที่สอง (King Philip II, 359-336 ปีก่อน ค.ศ.) ว่ากันว่า กษัตริย์ฟิลลิปที่สองไม่ได้มีเชื้อกรีก แต่สืบเชื้อสายมาจากพวกชนเผ่า (ตำราส่วนมากบอกว่าเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน-barbarian) แต่พระองค์นิยมชมชอบวัฒนธรรมกรีก ส่วนอเล็กซานเดอร์ มีชื่อเดิมว่า อเล็กซานเดอร์ที่สาม (Alexander III) แต่ต่อมาคนเรียกว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช  อเล็กซานเดอร์ถอดแบบมาจากบิดา ตรงที่เป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ และทะเยอทะยานอยู่เสมอ เช่น กษัตริย์ฟิลลิปที่สองเคยบุกกรุงเอเธนส์ และเมืองสำคัญอื่นๆ ของกรีก จนสามารถสร้างอาณาจักรมาซีโดเนียเหนือดินแดนแถบนั้นได้ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียงสามสิบต้นเท่านั้น และพระองค์ยังเป็นนักการทูตที่เฉียบแหลมอีกด้วย  ส่วนอเล็กซานเดอร์เมื่อพระชนมพรรษาเพียง 12 พรรษา ก็แสดงพระปรีชาสามารถ และติดตามบิดาในการออกรบอยู่เสมอ และขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา (ที่ถูกลอบปลงพระชนม์) เมื่อพระชนมายุเพียง 20 พรรษา และทันทีที่ก้าวขึ้นราชบัลลังก์ ก็เปิดฉากบทบาทนักรบผู้กล้าสืบต่อจากบิดา ด้วยการวางแผนขยายดินแดน ด้วยการรุกบุกยึดอาณาจักรเปอร์เซีย เนื่องจากได้ข่าวว่าเปอร์เซียเป็นดินแดนที่มั่งคั่ง
    อเล็กซานเดอร์นำกองทัพที่มีกำลังพลจำนวน 37,000 นาย (ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นพวกมาซีโดเนีย อีกที่เหลือเป็นชาวกรีกและพันธมิตร) ในจำนวนนี้มีเหล่าทหารม้าจำนวน 5000 นาย ซึ่งเป็นกองกำลังสำคัญในยุทธวิธีของอเล็กซานเดอร์ นอกจากนี้ "วิสัยทัศน์" อันกว้างไกลของอเล็กซานเดอร์ ยังเห็นได้จากการที่พระองค์ให้สถาปนิก วิศวกร นักประวัติศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ติดตามกองทัพไปด้วย ในการออกล่าดินแดนในช่วงแรกๆ
    ในการบุก อาณาจักรเปอร์เซีย อเล็กซานเดอร์นำกองทัพออกเดินทางจากมาซีโดเนียในช่วงฤดูใบไม้ผลิใน 334 ปีก่อน ค.ศ. ลงเรือมุ่งไปทางตะวันออก ผ่านเอเชียไมเนอร์ ในการสู้รบครั้งแรกกับกองทัพเปอร์เซีย อเล็กซานเดอร์เกือบเอาตัวไม่รอด เนื่องจากกองกำลังน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่ในที่สุด 1 ปีหลังจากนั้น ดินแดนทางตะวันตกของเอเชียทั้งหมด ก็ตกอยู่ในกำมือของพระองค์ จากนั้น อเล็กซานเดอร์นำทัพมุ่งลงใต้ยึดครองซีเรีย ปาเลสไตน์ และ อียิปต์ ไว้ได้ โดยใช้เวลาเพียงฤดูกาลเดียวในหน้าหนาวเมื่อ 332 ปีก่อน ค.ศ. (ที่อียิปต์มีเมืองชื่อ อเล็กซานเดรีย ซึ่งตั้งชื่อตามชื่ออเล็กซานเดอร์ และปัจจุบันก็เป็นเมืองสำคัญมากเมืองหนึ่งของอียิปต์)  อเล็กซานเดอร์ยังแสดงแสนยานุภาพต่อไป ด้วยการเคลื่อนกองทัพสู่ดินแดนเมโสโปเตเมีย (ตะวันออกกลาง หรือพื้นที่ส่วนมากในอิรักในปัจจุบัน) สู้รบจนได้รับชัยชนะและได้ครอบครองสมบัติล้ำค่า เช่น ทองคำและเงินจำนวนมหาศาล และครอบครองตำแหน่งกษัตริย์มหาราชแห่งเปอร์เซีย   อเล็กซานเดอร์ยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น พระองค์เดินหน้าต่อไปทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ มาจนถึงดินแดนปากีสถานและอินเดียในปัจจุบัน และหลังจาก 2 ปีแห่งการต่อสู้ในพื้นที่ ซึ่งแปลกใหม่และในชัยภูมิที่ไม่คุ้นเคยอย่างลานตะพักที่เข้าถึงยาก ทำให้ทหารบางคนลังเลและก่อกบฏไม่ยอมสู้รบอีกต่อไป ในที่สุด อเล็กซานเดอร์ก็ต้องนำทัพย้อนกลับมาทางตะวันตกผ่านดินแดนแห้งแล้ง ทางตอนใต้ของอิหร่าน ในช่วงเส้นทางนี้มีทหารล้มตายหลายพันคน เนื่องจากแสงแดดแผดร้อน แห้ง และขาดน้ำ แต่ในท้ายที่สุด พระองค์ก็พาเหล่าทหารที่เหลือเดินทางมาจนถึงบาบิโลนในเมโสโปเตเมีย  อเล็กซานเดอร์ยังคงมีแผนการขยายดินแดนในอนาคตอีกมาก แต่ในเดือนมิถุนายน 323 ปีก่อน ค.ศ. พระวรกายทรุดโทรมลง เนื่องจากบาดแผลจากสงคราม ประกอบกับล้มป่วยเป็นไข้ และอาจจะดื่มแอลกอฮอล์มากไป พระองค์ก็สวรรคตในวัยเพียง 32 พรรษาเท่านั้น มรดกวีรกรรมของอเล็กซานเดอร์ที่ทิ้งไว้แก่โลกมีมหาศาล นักประวัติศาสตร์บางคนบอกว่าอเล็กซานเดอร์นับถืออาคิลลีส ผู้เป็นวีรบุรุษนักรบในมหากาพย์ อีเลียด และพยายามจะเลียนแบบอาคิลลีส กล่าวกันว่า อเล็กซานเดอร์มักเก็บหนังสือมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และดาบสั้นไว้ใต้หมอนเสมอเวลานอน  อเล็กซานเดอร์มีความคิดริเริ่ม แรงขับเคลื่อนในใจ และมุมมองที่น่าสนใจสำหรับคนรุ่นหลัง และเป็นผู้ก่อร้างสร้างยุคใหม่ ที่เรียกว่า ยุคเอเลนนิสติก (Hellenistic era) ซึ่งแปลว่า "เพื่อเลียนแบบกรีก" เป็นยุคที่มีการขยายตัวของภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และวรรณกรรมกรีกไปที่ต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง เปิดโอกาสให้สถาปนิกกรีก วิศวกรกรีก นักวิชาการกรีก พ่อค้ากรีก ทหารกรีก และผู้บริหารแบบกรีกได้เกิดขึ้น นอกจากนี้ เมืองศูนย์กลางสำคัญที่อเล็กซานเดอร์ค้นพบหรือสถาปนาขึ้น (ประมาณ 70 เมืองตามคำบอกเล่า) ยังมีบทบาทเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นในการเผยแพร่วัฒนธรรมกรีกด้วย   นับแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน อเล็กซานเดอร์กลายเป็นตำนาน เรื่องเล่า และเรื่องโรมานซ์ของผู้คนมากมายในโลก และเป็นหนึ่งในนายพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา  พระองค์ไม่เคยพ่ายแพ้หรือล้มเหลวในการทำสงครามแม้แต่ครั้งเดียว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×