ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : *G :: เรื่องของครีมกันแดด & วิธีการเลือกซื้อ
ครีมกันแดด
ครีมกันแดด (SunScreen) มี 2 ชนิด คือ
1. ครีมกันแดดชนิดดูดซึมรังสียูวี (Asorber Sunscreen) : โดยสารเคมีที่เป็นตัวผสมสำคัญของครีมจะดูดซึมรังสียูวีโดยปฏิกิริยาเคมีไว้ไม่ให้ผ่านเลยไปทำอันตรายผิวหนังได้ ตัวอย่างคือสาร Oxybenzone จัดว่าเป็น Chemical Sunscreen
2.ครีมกันแดดชนิดสะท้อนรังสียูวีกลับไป (Reflector Sunscreen) : สารเคมีที่อยู่ในครีมจะทำหน้าที่เหมือนกระจกสะท้อนรังสียูวีกลับ ทำให้ไม่มีรังสีเหลือผ่านไปทำลายผิวหนัง ตัวยาสำคัญคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ ซึ่งใช้ป้องกันรังสียูวีเอได้ด้วย จัดว่าเป็น Physical Sunscreen
วิธีการดูค่ากันแดด (Sun Protection Factor)
ตัวเลขที่ปรากฎอยู่หลัวคำว่า SPF คือ จำนวนเท่าของระยะเวลาที่ผิวหนังซึ่งถูกทาด้วยครีมกันแดดชนิดหนึ่งจะทนแดดอยู่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกันกับผิวหนังที่ไม่ได้ทายากันแดดใดๆ ตัวอย่างเช่นถ้าไม่ทาครีมกันแดด ผิวหนังนั้นเมื่อถูกแดดใช้เวลา 10 นาทีจึงเกิดอาการแดงขึ้น แต่ถ้าทาครีมกันแดดชนิดหนึ่งแล้วพบว่าผิวหนังนั้นทนได้นาน 150 นาที ผิวหนังจังจะปรากฎอาการแดงขึ้นมา เท่ากับว่าครีมกันแดดนี้ทำให้ผิวหนังทนแสงแดดได้เป็น 15 เท่า
ดังนั้นค่าSPF ของครีมกันแดดชนิดนั้นจึงเป็น SPF 15 (10 x 15 = 150)
ซึ่งค่า SPF นั้นสามารถกันได้แค่รังสียูวีบีเท่านั้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการดูค่ากันแดด Protection Factor A (PA)
ค่า PA คือ ค่าของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA
วิธีการเลือกซื้อครีมกันแดด
CREDIT STORY : Beauty Secret .. The untold story ของ ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน
CREDIT THEME : nu eng
ครีมกันแดด (SunScreen) มี 2 ชนิด คือ
1. ครีมกันแดดชนิดดูดซึมรังสียูวี (Asorber Sunscreen) : โดยสารเคมีที่เป็นตัวผสมสำคัญของครีมจะดูดซึมรังสียูวีโดยปฏิกิริยาเคมีไว้ไม่ให้ผ่านเลยไปทำอันตรายผิวหนังได้ ตัวอย่างคือสาร Oxybenzone จัดว่าเป็น Chemical Sunscreen
2.ครีมกันแดดชนิดสะท้อนรังสียูวีกลับไป (Reflector Sunscreen) : สารเคมีที่อยู่ในครีมจะทำหน้าที่เหมือนกระจกสะท้อนรังสียูวีกลับ ทำให้ไม่มีรังสีเหลือผ่านไปทำลายผิวหนัง ตัวยาสำคัญคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ ซึ่งใช้ป้องกันรังสียูวีเอได้ด้วย จัดว่าเป็น Physical Sunscreen
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการดูค่ากันแดด (Sun Protection Factor)
ตัวเลขที่ปรากฎอยู่หลัวคำว่า SPF คือ จำนวนเท่าของระยะเวลาที่ผิวหนังซึ่งถูกทาด้วยครีมกันแดดชนิดหนึ่งจะทนแดดอยู่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกันกับผิวหนังที่ไม่ได้ทายากันแดดใดๆ ตัวอย่างเช่นถ้าไม่ทาครีมกันแดด ผิวหนังนั้นเมื่อถูกแดดใช้เวลา 10 นาทีจึงเกิดอาการแดงขึ้น แต่ถ้าทาครีมกันแดดชนิดหนึ่งแล้วพบว่าผิวหนังนั้นทนได้นาน 150 นาที ผิวหนังจังจะปรากฎอาการแดงขึ้นมา เท่ากับว่าครีมกันแดดนี้ทำให้ผิวหนังทนแสงแดดได้เป็น 15 เท่า
ดังนั้นค่าSPF ของครีมกันแดดชนิดนั้นจึงเป็น SPF 15 (10 x 15 = 150)
ซึ่งค่า SPF นั้นสามารถกันได้แค่รังสียูวีบีเท่านั้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการดูค่ากันแดด Protection Factor A (PA)
ค่า PA คือ ค่าของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA
PA | ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA |
+ | ประมาณ 1-3 เท่า |
++ | ประมาณ 4-5 เท่า |
+++ | ประมาณ 6-8 เท่า |
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน | ค่า SPF ที่เหมาะสม | ค่า PA ที่เหมาะสม |
ทำงานออฟฟิศ | 15 | ++ |
ทำงานกลางแจ้ง | 30 | ++ หรือ +++ |
ว่ายน้ำหรือไปชายทะเล | 30 ขึ้นไป และทาซ้ำทุกๆ 1 ชม. ควรทาก่อนลงน้ำ 30 นาที จึงจะได้ผล | ++ หรือ +++ |
นักกีฬา ที่ต้องเล่นกลางแจ้ง | 30 ขึ้นไป และทาซ้ำทุกๆ 1 ชม. ควรทาก่อนลงน้ำ 30 นาที จึงจะได้ผล | ++ หรือ +++ |
ครีมกันแดดที่ดีต้องป้องกันได้ทั้งยูวีเอ และยูวีบี (โดยดูจากค่า SPF และ PA)
มี ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide), สังกะสีออกไซด์ (Zinc Oxide), และอโวเบนโซน (Avobenzone หรือ Parsol 1789) เป็นส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่ง เพราะยา 3 ชนิดนี้ได้รับคำรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาว่าสามารถป้องกันรังสียูวีเอได้
เวลาซื้อครีมกันแดดต้องดูวันผลิตและวันหมดอายุด้วย เพราะประสิทธิภาพของการป้องกันรังสียูวีจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป ผู้เขียนแนะนำให้ซื้อใช้อย่างเลวที่สุดคือชนิดที่ผลิตไม่ถึง 1 ปี (ถ้าได้ผลิตใหม่ยิ่งดี) ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วครีมกันแดดจะมีอายุถึง 3 ปีด้วยกัน
อย่างที่บอกไปในข้อข้างบน อายุของครีมกันแดดจะสั้นมาก อย่าซื้อมาเก็บตุนเพราะอาจจะใช้ไม่ทัน
หากเป็นคนผิวแพ้ง่ายให้หาคำว่า Dermatologically tested หรือผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง
มี ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide), สังกะสีออกไซด์ (Zinc Oxide), และอโวเบนโซน (Avobenzone หรือ Parsol 1789) เป็นส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่ง เพราะยา 3 ชนิดนี้ได้รับคำรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาว่าสามารถป้องกันรังสียูวีเอได้
เวลาซื้อครีมกันแดดต้องดูวันผลิตและวันหมดอายุด้วย เพราะประสิทธิภาพของการป้องกันรังสียูวีจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป ผู้เขียนแนะนำให้ซื้อใช้อย่างเลวที่สุดคือชนิดที่ผลิตไม่ถึง 1 ปี (ถ้าได้ผลิตใหม่ยิ่งดี) ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วครีมกันแดดจะมีอายุถึง 3 ปีด้วยกัน
อย่างที่บอกไปในข้อข้างบน อายุของครีมกันแดดจะสั้นมาก อย่าซื้อมาเก็บตุนเพราะอาจจะใช้ไม่ทัน
หากเป็นคนผิวแพ้ง่ายให้หาคำว่า Dermatologically tested หรือผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง
CREDIT STORY : Beauty Secret .. The untold story ของ ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน
CREDIT THEME : nu eng
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น