7 ไม้ประดับมีพิษที่ต้องระวัง - 7 ไม้ประดับมีพิษที่ต้องระวัง นิยาย 7 ไม้ประดับมีพิษที่ต้องระวัง : Dek-D.com - Writer

    7 ไม้ประดับมีพิษที่ต้องระวัง

    ผู้เข้าชมรวม

    646

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    646

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    -1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 พ.ค. 52 / 00:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    สำหรับครอบครัวของใครที่ชอบปลูกต้นไม้

    อ่านไว้ด้วยเน้อ

    ^^

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      7 พืชมีพิษ...รู้จักไว้เพื่อป้องกัน
      1.ก้ามปูหรือจามจุรี ไม้ยืนต้นปลูกบังแดดไว้ข้างบ้าน ออกดอกรวมกันเป็นช่อกระจุก ให้ผลเป้นฝัก ในฦกมี 15-25 เมล็ด เมล็ดมีพิษระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้
      2.ชวนชม ไม้พุ่ม กลีบดอกสีชมพูหวานสวยสมชื่อ แต่มีน้ำยางสีขาวขุ่นในทุกส่วนของต้น ยางนี้เป็นพิษต่อหัวใจ หากกินจะทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น อาจทำให้หัวใจวายได้
      3.ผกากรอง ไม้ริมรั้วชานบ้าน ออกดอกเป็นช่อหลากสี ผลดิบสีเขียวเป็นพิษ โดยเฉพาะกับเด็ก ทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย ง่วงซึม หายใจขัด และเป็นอันตรายถึงชีวิต
      4.สาวน้อยประแป้ง เป็นไม้ประดับ ช่วยฟอกอากาศและดูดสารพิษในอาคารได้ดี ต้นและใบมีน้ำยางใสๆ หากสัมผัสเข้าจะทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังอักเสบและพุพอง
      5.พลับพลึง ไม้ล้มลุก มีหัวและลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นกอแน่น ออกดอกสีขาวเป็นช่อ ทุกส่วนของต้นโดยเฉพาะหัวมีพิษ หากกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย
      6.พลูด่าง ไม้เลื้อยยอดฮิตที่นิยมปลูกกันทั่วไป น้ำยางเป็นส่วนที่เป็นพิษ หากสัมผัสหรือกินทำให้ระคายเคืองและคัน อาการของผู้ที่ได้รับพิษอาจมากน้อยต่างกันไป
      7.ละหุ่ง ไม้ล้มลุก เมล็ดลายสวย แต่มีพิษ หากกินเข้าไปทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ทำลายตับและไต อาจทำให้เสียชีวิตได้
      ข้อแนะนำ-วิธีรับมือ
      1.ทำความรู้จักกับไม้ประดับที่นำมาปลูก
      2.หลีกเลี่ยงการปลูกไม้ประดับที่จะทำให้เกิดอันตรายโดยเฉพาะบริเวณที่มีเด็ก
      3.ให้ความรู้เกี่ยวกับไม้ประดับที่มีพิษแก่เด็กและผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
      4.เพิ่มความระมัดระวังในการจับต้องพืชที่ไม่แน่ใจ
      5.หากเกิดอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที พร้อมทั้งนำพืชที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุไปด้วย
       
       
      ที่มา หนังสือชีวจิต
       
       
       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×