ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    *~สาระน่ารู้~*

    ลำดับตอนที่ #54 : แพะเมืองผี

    • อัปเดตล่าสุด 27 มิ.ย. 50



     

    แพะเมืองผี
    ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เช่น ดอกเห็ด หน้าผา ดูแล้วแปลกตา ชื่อ แพะเมืองผี น่าจะมาจากภาษาพื้นเมืองแพะ แปลว่า ป่าละเมาะ ส่วนคำว่า เมืองผี แปลว่า เงียบเหงา วังเวงอาจเกิดจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว สถานที่แห่งนี้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524

    วนอุทยานแพะเมืองผี อยู่ในท้องที่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งทุ่งโฮ่ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีเนื้อที่ประมาณ 167 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

    ทิศเหนือ จดลำคลองชลประทาน
    ทิศใต้ จดทุ่งนาของราษฎร
    ทิศตะวันออก จดทุ่งนาของราษฎรบ้านน้ำชำ
    ทิศตะวันตก จดทางหลวงหมายเลข 101 ถนนยันตรกิจโกศลและคันคลองส่งน้ำชลประทาน

    ความเป็นมา : วนอุทยานแพะเมืองผี เมื่อครั้งในอดีตกาลนานมาแล้ว ชาวบ้านขนานนามว่า เป็น “แพะเมืองผี” ไม่มีผู้ใดทราบประวัติเป็นที่แน่นอนแต่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า แต่ก่อนบริเวณป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธ์ไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นและสัตว์ป่าน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้น มีครูบาปัญโญฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำชำ ตำบลน้ำชำ ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดน้ำชำและได้บอกเล่าประวัติแพะเมืองผีสืบทอดติดต่อกันมาว่า มีหญิงชราคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ ย่าสุ่ม ” เข้าไปหาผัก หน่อไม้ เป็นอาหาร แต่หลงป่าแล้วไปพบหลุมเงิน ทองคำ จึงได้นำเงิน และทองคำ ใส่ถุงแล้วเตรียมหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน ทองคำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน คำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบแล้วหาไม้มาคาดเป็นราว (ราวไม้) ต่อมาออกจากป่าจนถึงบ้านและเดินกลับไปราวไม้ที่คาดไว้เป็นแนวทางไว้ ซึ่งปัจจุบันเป็นร่องทางน้ำพบเห็นได้ เป็นแนวออกไปทางบ้านน้ำชำทิศตะวันออกของแพะเมืองผี ย่าสุ่ม จึงได้ชักชวนชาวบ้านให้เข้าไปด้วยปรากฏว่า ชาวบ้านก็ได้ติดตามย่าสุ่มเข้าไปถึงจุดที่ย่าสุ่มวางหาบไว้แต่ไม่พบเงินและทองคำ ในหาบแต่อย่าใด ไม่รู้ว่าหายไปได้อย่างไร ชาวบ้านจึงขนานนามสถานที่นั้นว่า “แพะย่าสุ่มคาดราว” และได้ช่วยกันค้นหา พบรอยเท้าคนเดิน ย่าสุ่ม และชาวบ้านได้เดินตามรอยเท้าเหล่านั้นไปจนกระทั่งมาถึงพื้นที่ซึ่งชาวบ้านขนานนามว่า “แพะเมืองผี” ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือคำว่า “แพะ” ในที่นี้หมายถึงป่าแพะนั่นเอง ส่วนคำว่าเมืองผี ก็เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันสืบมาในสมัยดึกดำบรรพ์ โดยอาจจะเห็นว่าป่าแพะตรงนี้มีลักษณะพิศดาลของภูมิประเทศ และเพราะความเร้นลับตามเรื่องราวที่เชื่อถือเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็อาจเป็นได้
    ลักษณะภูมิประเทศ

    วนอุทยานแพะเมืองผีมีสภาพเป็นป่าบนที่ราบลอนคลื่น สภาพสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 180-210 เมตร จะมีเสาดินรูปร่างประหลาดเกิดจากกระบวนการกระทำของน้ำไหลและชะชั้นดินที่มีความแข็งไม่เท่ากัน นักธรณีวิทยาประมาณ ค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าอยู่ในยุค QUATERNARY ซึ่งเป็นยุคค่อนข้างใหม่ มีอายุตั้งแต่ 15 ล้านปี จนถึงปัจจุบัน ลักษณะการเกิดของเสาดินเกิดจากหินเซมิคอนโซลิเดเตด (SEMICONSOLIDATGED) คือ หินที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่ประกอบด้วยชั้นดินทราย ( SILTSTONE) ชั้นหินทราย ( SANDSTONE) สลับกันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีความต้านทานต่อการผุพังไม่เท่ากัน เมื่อถูกน้ำฝนชะซึมสู่ชั้นหินที่มีความต้านทานต่อการผุพังน้อยกว่า (LESS-RESISTANT BED) ก็จะถูกกร่อนโดยง่ายเหลือชั้นที่มีความต้านทานต่อการผุพังมากกว่า ( MORE - RESISTANT BED) ทำหน้าที่เสมือนแผ่นเกราะวางอยู่ข้างบน เรียกว่า แค๊ป ( CAP) ทำให้น้ำไม่สามารถชะกร่อนต่อไปได้ง่าย ส่วนที่เหลือให้เห็นอยู่โดยการเกิดลักษณะนี้ จึงมีรูปร่างเป็นหย่อมแตกต่างกัน

    พืชพรรณและสัตว์ป่า

    เป็นป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางเหียง พะยอม งิ้ว เปล้า สะแก ไผ่ไร่ และป่าที่ปลูกเพิ่มเติม ได้แก่ กระถินณรงค์ กัลปพฤกษ์ หางนกยูง
    สัตว์ป่าที่พบได้แก่ งู กิ้งก่า แย้ กระต่ายป่า และนกชนิดต่าง ๆ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×