ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ NotebooK ] บันทึกการเรียน

    ลำดับตอนที่ #6 : ภาคตัดกรวย

    • อัปเดตล่าสุด 30 ต.ค. 52


    ---------------------------------------



    ภาคตัดกรวย  เป็นเส้นโค้งที่เกิดจากการตัดกรวยวงกลมด้วยระบาบต่างๆ
    เกิดเป็น วงกลม วงรี พาราโบลา ไฮเปอร์โบลา

    วงกลมเกิดขึ้นจากการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของกรวย
    พาราโบลาเกิดขึ้นจากการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ขนานกับเส้นประกอบรูปกรวย
    วงรี 

    เกิดขึ้นจากการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ตัดกรวยเพียงส่วนเดียวโดยที่ระนาบนั้นไม่ขนาน
    กับเส้นประกอบรูปกรวยและไม่ตั้งฉากกับแกนของกรวย

    ไฮเพอร์โบลาเกิดขึ้นจากการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ขนานกับแกนของกรวยและตัดทั้งสองส่วนของกรวย

    http://www.schoolptk.ac.th/~preecha/cone_history.htm




    นิยามของวงกลม  คือเซตของทุกจุดบนระนาบซึ่งห่างจากจุดคงตัวระยะเท่ากัน

    จุดคงตัวคือจุดศูนย์กลาง (h,k)
    ระยะห่างจากจุดถุงจุดคงตัวคือรัศมี (r)
    จุดบนระราบคือจุด (x,y)


    จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด หรืจุด(0,0)  มีสูตรคือ   
                                                      
    x2  +  y2  =  r2
     





        

    จุดศุนย์กลางอยู่ที่จุด (h,k)  มีสูตรคือ

    สูตรมาตรฐานวงกลม (x – h)2 + (y – k)2 = r2 

    สูตรทั่วไป             x2 + y2 + Dx + Ey + F = 0



    หา (h,k) ได้จากสูตร 

     (h,k) =
     


    หารัศมีได้จากสูตร
     

                                                  r  =



    นิยามวงรี คือ เซตของจุดทุกจุดบนระนาบซึ่งผลบวกของระยะทางจากจุดใด ๆ ในเซตนี้ไปยังจุดคงที่ 2 จุด มีค่าคงตัว โดยค่าคงตัวนั้นมากกว่าระยะห่างระหว่างจุดคงที่ทั้งสอง

    ผลบวกระยะทางระหว่างจุดบนวงรีไปยัง 
    โฟกัส(
    F)ทั้งสอง  =  2a
     

         

      แกนเอกของวงรีคือแกนที่ยาว   
     ส่วนแกนโทนั้นสั้นกว่าแกนเอก

    แกนเอกยาว 2a และแกนโทยาว 2b
    a คือระยะจากจุดศูนย์กลาง ถึงจุดยอด หรือ vertex (V)
    b คือระยะจากจุดศูนย์กลาง ถึงจุด B
    c คือระยะจากจุดศูนย์กลาง ถึง จุดโฟกัส (F)

    เปรียบเทียบได้    a > b > 0  และ   a > c > 0
    มีความสัมพันธ์คือ      a2 = b2 + c2


     

    วงรีที่มีแกนเอกขนานกับแกน y

    สมการ 
    จุดศูนย์กลาง (h,k)

    จุดโฟกัส (h,k-c) และ (h,k+c)

    จุดยอด (h,k-a) และ (h,k+a)




    วงรีที่มีแกนขนานกับแกน x
    สมการ
    จุดศูนย์กลาง (h,k)
    จุดโฟกัส (h – c,k) และ (h + c,k)
    จุดยอด (h – a,k) และ (h + a,k)

     
    Latus rectum ของวงรี คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายอยู่บนวงรี และตั้งฉากกับแกนเอกที่จุดโฟกัส ซึ่งมีความยาว 

    eccentricity
      ของวงรี เป็นตัวเลขที่บอกว่างวรีนี้นรีมากน้อยเพียงใด โดย    และ 0 < e < 1  
    ถ้า e เข้าใกล้ 0 วงรีจะใกล้เคียงกับวงกลม แต่ถ้า e เข้าใกล้ 1 วงรีจะรีมาก
     

     



    www.mps.ac.th/match-rasamee/para.htm

    บทนิยาม : พาราโบลาคือเซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่และจุดคงเป็นระยะทางเท่ากัน

    เส้นตรงนั้นคือ เส้นไดเรกตริกซ์
    จุดนั้นคือจุดโฟกัส




     พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่ (0,0) 
    สมการของพาราโบลาที่มีจุดยอด อยู่ที่ (0,0) แกนของพาราโบลา คือแกน x หรือ แกน y ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้


     แกนของพาราโบลาคือแกน x และ โฟกัสอยู่ที่ (c,o) เมื่อ c > o
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง x = c 
    กราฟของพาราโบลาตะแคงขวา หรือ เปิดขวา


    y2 = 4cx 
    y2 = 4cx



    ให้ P(x,y) เป็นจุดใดๆ บนพาราโบลา
    PR = PQ
    =



    ข. แกนของพาราโบลาคือแกน x และโฟกัสอยู่ที่ (-c,0) เมื่อ c < 0
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง x = -c 
    กราฟของพาราโบลาเปิดซ้าย หรือตะแคงซ้าย

    y2 = -4cx 





    ค. แกนของพาราโบลาคือแกน y และโฟกัสอยู่ที่ (0,c) เมื่อ c > 0

    ไดเรกตริกซ์ คือเส้นตรง y = c
     กราฟของพาราโบลาจะหงาย


    x2 = 4cy

    ง. แกนของพาราโบลาคือแกน y และโฟกัสอยู่ที่ (0,-c) เมื่อ c < 0
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง y = -c 
    กราฟของพาราโบลาจะคว่ำ
    x2 = -4cy






    สมการของพาราโบลาที่จุดยอดที่จุด (h,k) 
    และมีแกนขนานกับ แกน x หรือแกน y

    แกนของพาราโบลาขนานแกน x และ โฟกัสอยู่ที่ (h + c,k) เมื่อ c > o
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง x =  h - c
    กราฟของพาราโบลาตะแคงขวา หรือ เปิดขวา


    (y - k)2 = 4c(x - h)





    แกนของพาราโบลาขนานแกน x และ โฟกัสอยู่ที่ (h - c ,k) เมื่อ c < o
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง x =  h + c
    กราฟของพาราโบลาตะแคงขวา หรือ เปิดขวา


    (y - k)2 = - 4c(x - h)






    แกนของพาราโบลาขนานแกน y และ โฟกัสอยู่ที่ (h ,k + c) เมื่อ c > o
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง y =  k - c
    กราฟของพาราโบลาหงาย


    (x - h)2 = 4c(y - k)







    แกนของพาราโบลาขนานแกน y และ โฟกัสอยู่ที่ (h ,k - c) เมื่อ c < o
    ไดเรกตริกซ์ คือ เส้นตรง y =  k + c
    กราฟของพาราโบลาคว่ำ


    (x - h)2 = - 4c(y - k)









    สรุปคือ 

    ถ้า c > 0    กราจะหงาย หรือ ตะแขงขวา(เปิดขวา)
    ถ้า c < 0  กราฟจะคว่ำ หรือ ตะเเคงซ้าย(เปิดซ้าย) 

    เส้นลาตัสเลกตัม ( ลากผ่านF ) = l4cl

    สมการพาราโบลา เส้นไดเรกตริกซ์ขนานแกนใด แกนั้นจะขึ้นก่อน



    www.mps.ac.th/match-rasamee/hyper.htm

    บทนิยาม ไฮเพอร์โบลา คือเซตของจุดทุกจุดในระนาบ ซึ่งผลต่างของระยะห่างจากจุดใดๆ ในเซตนี้ไปยังจุดคงที่สองจุดบนระนาบมีค่าคงตัว ซึ่งมากกว่าศูนย์ แต่น้อยกว่าระยะห่างระหว่างจุดคงที่


    ส่วนประกอบที่สำคัญของไฮเพอร์โบลา

     จุดศูนย์กลางของไฮเพอร์โบลา คือจุดกึ่งกลางระหว่างโฟกัสทั้งสอง
    ให้ c เท่ากับระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางและโฟกัส




    จุดยอดของไฮเพอร์โบลา คือจุดที่เส้นโค้งไฮเพอร์โบลาตัดกับ จุดยอดของไฮเพอร์โบลาจะมี 2 จุด แต่ละจุดจะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากัน
    ให้ a เท่ากับระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางและจุดยอด


    แกนตามขวาง (transverse axis) ของไฮเพอร์โบลา คือส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดยอดทั้งสองของไฮเพอร์โบลา
    แกนตามขวางของไฮเพอร์โบลา คือ






    แกนสังยุค (conjugate axis) ของไฮเพอร์โบลา คือส่วนของเส้นตรง ซึ่งแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับแกนตามขวางของไฮเพอร์โบลา



     เส้นกำกับ (asypmptote) ของไฮเพอร์โบลา สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยการลากเส้นให้ผ่านจุดยอดและลากเส้นให้ผ่านจุดปลายแกนสังยุค แล้วเส้นตรงที่อยู่ในแนวเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมมีทั้งสองเส้นเรียกว่า เส้นกำกับของ ไฮเพอร์โบลา
    เส้นกำกับจะช่วย ให้เขียนกราฟได้ง่ายและถูกต้องยิ่งขึ้น กล่าวคือ ไฮเพอร์โบลาจะผ่านจุดยอด เส้นโค้งของกราฟไฮเพอร์โบลา จะโค้งหาเส้นกำกับทีละน้อยๆ แต่จะไม่ตัดหรือทับเส้นกำกับ








     

    สรุป ส่วนประกอบสำคัญๆ

    1. แกนตามขวาง ยาว 2a

    2. แกนสังยุค ยาว 2b

    3. จุดตัดแกน V(h,k)

    4. จุดโฟกัส 2 จุด (ระยะห่างโฟกัส 2c)

    5. เส้นกำกับสองเส้น

    6. จุดยอดไฮเพอร์โบลา 2 จุด (A และ A' )

    7. ความสัมพันธ์ของ a b และ c คือ c2 = a2 + b2 

    8.  c > a > 0  and  c > b > 0

    9.
    แกนตามขวางจะคล้ายกับแกนเอก และแกนสังยุคจะคล้ายกับแกนโทของวงรี
        ต่างกันแค่ แกนตามขวาง "ไม่จำเป็น" ยาวกว่าแกนสังยุค






    แกนตามขวางขนานแกน X)

    1. สมการไฮเพอร์โบลา

    (แกนตามขวางขนานแกน X ค่า A จึงอยู่กับ X)

    2. V (h,k)

    3. F (h+c, k) F' (h-c, k)

    4. A (h+a, k) A' (h-a, k)

    5. B (h, k+b) B' (h, k-b)

    6. AA' = 2a BB' = 2b

    7. latus rectum = 2b2/a

    8. directrix x = h + a/e และ x = h - a/e

    9. สมการเส้นกำกับ y -k = b/a (x-h) และ y -k = -b/a (x-h)



     



    แกนตามขวางขนานกับแกน Y

    1. สมการวงรีคือ

    (แกนตามขวาง (a) ขนานแกน Y)

    2. V (h,k)

    3. F (h, k+c) F' (h, k-c)

    4. A (h, k+a) A' (h, k-a)

    5. B (h+b, k) B' (h-b, k)

    6. AA' = 2a BB' = 2b

    7. latus rectum = 2b2/a

    8. directrix y = k + a/e และ y = k - a/e

    9. สมการเส้นกำกับ x -h = a/b (y-k) และ x-h = -a/b (y-k)







    kuza.exteen.com/20071101/entry


    ------------------------------------------------------------------

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×