ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ NotebooK ] บันทึกการเรียน

    ลำดับตอนที่ #2 : SET เซต

    • อัปเดตล่าสุด 17 พ.ค. 52


    เซต :กลุ่ม หมู่ เหล่า กอง ฝูง ชุดและเมื่อกล่างถึงเซตของสิ่งใด ๆ จะทราบได้ทันทีว่าในเซตนั้นมีอะไรบ้างเราเรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก

    เราไม่สามารถกำหนดเซตของ adj. ได้ 
    เพราะไม่มีมาตรฐานตายตัว เช่น เซตคนหล่อ เซตสาวหื่น เซตคนเก่ง.....


    สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซต ชื่อและสมาชิกของเซต
    1. สามารถใช้วงกลม, วงรี แทนเซตต่าง ๆ ได้
    2. ชื่อเซตนิยมใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด เช่น A, B, C, ...
    3. สัญลักษณ์แทนคำว่า   "เป็นสมาชิกของ"
                     
    แทนคำว่า   "ไม่เป็นสมาชิกของ


    การเขียนเซตนอกจากจะเขียนวงกลมหรือวงรีล้อมรอบสมาชิกทั้งหมดของเซตแล้วเรายังมีวิธีเขียนเซตได้ 2 วิธี

    1) วิธีแจกแจงสมาชิก (Tubular form) มีหลักการเขียน ดังนี้
       1. เขียนสมาชิกทั้งหมดในวงเล็บปีกกา
       2. สมาชิกแต่ละตัวคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
       3. สมาชิกที่ซ้ำกันให้เขียนเพียงตัวเดียว
       4. ในกรณีที่จำนวนสมาชิกมาก ๆ ให้เขียนสมาชิกอย่างน้อย 3 ตัวแรก แล้วใช้จุด 3 จุด (Tripple dot) แล้วจึงเขียนสมาชิกตัวสุดท้าย

    2) วิธีบอกเงื่อนไขของสมาชิก (Set builder form) หลักการเขียนมีดังนี้
      1. เขียนเซตด้วยวงเล็บปีกกา
    2. กำหนดตัวแปรแทนสมาชิกทั้งหมดตามด้วยเครื่องหมาย | (| อ่านว่า "โดยที")่ แล้ว ตามด้วยเงื่อนไขของตัวแปรนั้น ดังรูปแบบ {x | เงื่อนไขของ x}

     
    เซต
    แบบแจกแจงสมาชิก
    แบบบอกเงื่อนไข
    A เป็นเซตของจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่า 5
    A = {1, 2, 3, 4}
    A = {x | x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่า 5}
    B เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์
    B = {วันอาทิตย์, วันจันทร์, วันอังคาร, วันพุธ, วันพฤหัสบดี, วันศุกร์, วันเสาร์}
    B = {x | x เป็นชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์}
    C เป็นเซตของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
    C = {a, b, c, ... ,z}
    C = {y | y เป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ}


    ลักษณะของเซต
    เซตว่าง (Empty Set) คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วย { } หรือ     เช่น
     เซตของจำนวนเต็มที่อยู่ระหว่าง 1 กัน 2
     เซตของสระในคำว่า "อรวรรณ"  
     
    เซตจำกัด (Finite Set) คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากัจำนวนเต็มบวก หรือศูนย์เช่น
     มีจำนวนสมาชิกเป็น 0
    {1, 2, 3, ...,100}
    มีจำนวนสมาชิกเป็น 100 
     
    เซตอนันต์ (Infinite Set)  คือเซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้เช่น
    เซตของจำนวนเต็มบวก {1, 2, 3, ...}
    เซตของจุดบนระนาบ
     
     
    ความสัมพันธ์ของเซต
    1. เซตที่เท่ากัน (Equal Sets)
    คือ เซตสองเซตที่มีสมาชิกเหมือนกัน
    สัญลักษณ์ เซต A เท่ากับ เซต B แทนด้วย A = B
                      เซต A ไม่เท่ากับ เซต B แทนด้วย A  B
     
    A = {1, 2, 3, 4, 5}   B = {1, 2, 3, 4, 3, 2, 5, 5, 5}
    เซต A มีสมาชิกเหมือนกับเซต B 
    A = B
     
    C = {a, e, i, o, u}   D = {i, o, u, e, o}
    เซต C มีสมาชิกเหมือนกับเซต D
    C = D
     
    G = {สีแดง, สีน้ำเงิน, สีขาว} H = {สีแดง, สีน้ำเงิน, สีเหลือง}
    สีขาว  G แต่ สีขาว H
    H
     
    2. เซตที่เทียบเท่ากัน (Equivalentl Sets)คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากัน และสมาชิกของเซตจับคู่กันได้พอดีแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
    สัญลักษณ์ เซต A เทียบเท่ากับ เซต B แทนด้วย A  B
     

    A = {a, b, c, d, e}  B = {1, 2, 3, 4, 5}
    B แต่เซตทั้งสองมีจำนวนสมาชิกเท่ากัน และสามารถจับคู่แบบ 1:1 ได้พอดี
     A  B
     
    C = {x | x  I+} D = {x | x = 2n , n = 1, 2, 3, ...}
    C เป็นเซตจำนวนเต็มบวก {1, 2, 3, ...}
    ส่วนเซต D เป็นเซตของจำนวนคู่ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป {2, 4, 6, ...}
    โดยสมาชิกของเซต C กับ D จับคู่แบบ 1:1 ได้พอดี
     C  D
      
    หมายเหตุ
    1. ถ้า A = B แล้ว A  B
    2. ถ้า A  
    B แล้ว ไม่อาจสรุปได้ว่า A = B
     
     
     
     
    สับเซต
    การที่เซต A จะเป็นสับเซตของเซต B ได้นั้นสมาชิกทุกตัวของเซต A จะต้องเป็นสมาชิกของเซต B

    สัญลักษณ์ เซต A เป็นสับเซตของเซต B เเทนด้วย A   B
    สัญลักษณ์ เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B เเทนด้วย A   B

          A = {1, 2}     B = {2, 3}   C = {1, 2, 3}     D = {1, 2, 3, 4}    
           A  B       A  C       A  D       B  A,      B  C       B  D    
           C  A,      C  B       C  D       D  A,      D  B       D  C   



    หมายเหตุ 1. เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง (A                A)
    2. เซตว่าง เป็นสับเซตของทุก ๆเซต (             A) 
    3. ถ้า A     แล้ว A = 
    4. ถ้า A    B และ B        C แล้ว A         C
    5. A = B ก็ต่อเมื่อ A      B และ  B        A


    พาวเวอร์เซต
    ถ้า A เป็นเซตใด ๆ เพาเวอร์ของเซต A คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นสับเซตทั้งหมดของ A เขียนแทนด้วย P(A)
    เซต A P(A)
    }
    {a} {, {a}}
    {a, b} { , {a}, {b}, {a, b}}
    {a, b, c} {, {a}, {b}, {c}, {a, b}, {a, c}, {b, c}, {a, b, c}}


    ------------------------------------------------------------------------------------------


    แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์
    เอกภพสัมพัทธ์ คือ
    เซตที่กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ต้องการศึกษาเขียนแทนด้วย m (ยูนิเวิร์ส) 


    การพิจารณาเกี่ยวกับเซตจะง่ายขึ้น ถ้าเราใช้แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ เข้ามาช่วย หลักการเขียนแผนภาพมีดังนี้
    1. ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนเอกภพสัมพัทธ์  
    2. ใช้วงกลมหรือวงรีหรือรูปปิดใด ๆ แทนเซตต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก และเขียนภายในสี่เหลี่ยมผืนผ้า



    1.ยูเนียน (Union)ยูเนียนของเซต A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A หรือ B(เอารวมกัน)
    เขียนแทนด้วย  A        B
    2. อินเตอร์เซคชัน (Intersection)อินเตอร์เซคชันของเซต A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A และ B (เอาที่ซ้ำกัน)
    เขียนแทนด้วย  A       B
    3.คอมพลีเมนต์ (Complement)คอมพลีเมนต์ของเซต A คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A(ไม่เอาเอ)
    เขียนแทนด้วย A'
    4. ผลต่างของเซต (Difference)ผลต่างของเซต A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต แต่ไม่เป็นสมาชิกขอเซตB(เอาเอไม่ใช่บี
    ทนด้วย A - B

    U = {1, 2, 3, ..., 20},      A = {1, 2, 3, 4, 5, 6},      B = {2, 4, 6, 8, 10, 12}

    B = {1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 12}

    B = {2, 4, 6}

    A' = {7, 8, 9, ..., 20}

    B' = {1, 3, 5, 7, 9, 11, ...,20}

    (A  B)' = {7, 9, 11, 13, ..., 20}

    (A  B)' = {1, 3, 5, 7, ..., 20}

    A - B = {1, 3, 5}

    B - A = {8, 10, 12}



    จำนวนสมาชิก

     ถ้า A เป็นเซตจำกัด เราใช้สัญลักษณ์ n(A) หรือ |A| แทนจำนวนสมาชิกของ A 
      การหาจำนวนทำได้โดย
    1. ใช้แผนภาพ
    2. ใช้สูตร 
      กำหนดให้ Uเป็นเอกภพสัมพัทธ์  A  B  C  เป็นเซตจำกัด  

    2.1  n(A  -   B)     =   n(A) - n(A  B)

    2.2 n(B  -   A)      =   n(B) - n(B  A)

    2.3  n(A    B)     =   n(A) + n(B) – n(A   B)

    2.4  n(A    B   C)   =    
     n(A) + n(B) + n(C) – n(A    B) – n(A    C) – n(B    C)+ n(A   B C)




    สมบัติของเซต

    ภาพ:Sute.gif










    สิ่งที่ควรรู้

    สัญลักษณ์ ความหมาย
    N เซตของจำนวนนับ
    I+ เซตของจำนวนเต็มบวก (จำนวนนับ)
    I- เซตของจำนวนเต็มลบ
    I เซตของจำนวนเต็ม
    Q เซตของจำนวนตรรกยะ
    Q' เซตของจำนวนอตรรกยะ
    R+ เซตของจำนวนจริงบวก
    R- เซตของจำนวนจริงลบ
    R เซตของจำนวนจริง




    ข้อมูลจาก... 

    http://oho.ipst.ac.th/Bookroom/snet2/knowledge_math/set/set9.htm#set9

    http://www.tutormaths.com/mathapa1.doc

    http://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%95

    http://www.nfe.go.th/etv/document/knowledge_mat/knowledge_mat01.pdf

    http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=81864

    http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%95

    http://blog.spu.ac.th/malee/2007/12/17/entry-14

    เข้าไปทำข้อสอบกันได้(ในบางเว็บ)
    --------------------------------------
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×