ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    [ NotebooK ] บันทึกการเรียน

    ลำดับตอนที่ #4 : ตรรกศาสตร์ 2

    • อัปเดตล่าสุด 30 ต.ค. 52



    สัจนิรันดร์  ( Tautology) 
    บทนิยาม สัจนิรันดร์ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงทุกกรณี 

    ตัวอย่างประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ที่ควรทราบ มีดังนี้
     p ∨ ~q[ ~p ∧ ( p ∨ q)] → q
     ~(p ∧ ~q)[ ( p → q) ∧ ~q ] → ~p
     (p ∧ q) → p (p ∧ q) ⇔ (q ∧ p)
     (p ∧ q) → q (p ∨ q) ⇔ (q ∨ p)
     p → (p ∨ q) (p → q) ⇔ (~p ∨ q)
     q → (p ∨ q) (p → q) ⇔ (~q → ~p)
     [ p ∧ ( p → q)] → q (~p ∨ q) ⇔ (~q → ~p)
     [ ~p ∧ ( p → q)] → ~q ( p ⇔ q) ⇔ [(p → q) ∧ (q → p)]
    ข้อสังเกตประพจน์ที่สมมูลกัน เมื่อนำมาเชื่อมด้วยตัวเชื่อม ⇔ จะได้ประพจน์ใหม่ซึ่งเป็นสัจนิรันดร์ นั่นคือ ถ้า A และ B สมมูลกันแล้ว A ⇔ B เป็นสัจนิรันดร์



    การทดสอบว่าประพจน์ใดเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ ทำได้ 2 วิธีคือ
    1. ใช้ตารางค่าความจริง 
     เพื่อดูว่ามีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณีจริงหรือไม่
    2. ใช้การทำ Contradiction 
     
    คือการบังคับให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จ ถ้าสามารถทำให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จได้สำเร็จ แสดงว่าประพจน์นั้นไม่เป็นสัจนิรันดร์ แต่ถ้าไม่สามารถบังคับให้ประพจน์นั้นเป็นเท็จได้ ประพจน์นั้นจะเป็นสัจนิรันดร์ทันที

    วิธีทำ 
    (p   ~q)   (q   ~p)  กำหนดให้มีค่าเป็นเท็จ จะได้
    (p   ~q)   (q   ~p)
    F          F

      ดังนั้น   (p   ~q) = F
                    
       (T   ~T) = F 
                  p = T , q = T
                       (q   ~p) = F
                   
      (T   ~T) = F 
                  p = T , q = T
    ไม่ขัดแย้งกัน แสดงว่าไม่ใช่สัจนิรันดร์

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------

    ประโยคเปิด

    บทนิยาม

           ประโยคเปิด คือ ประโยคบอกเล่า หรือประโยคปฏิเสธที่ประกอบด้วยตัวแปรทำให้ไม่เป็นประพจน์ และเมื่อแทนที่ตัวแปรด้วยสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์แล้วจะได้ประพจน์

              เราสามารถเขียนแทนประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร x ด้วยสัญลักษณ์ P(x) หรือ Q(x) และเขียนแทนประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร x และ y ด้วยสัญลักษณ์ P(x,y) หรือ Q(x,y)

     

    ตัวอย่างเช่น

      
     • เขาเป็นคนดี ⇒ เป็นประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร “เขา”
     

    • x > 3 ⇒ เป็นประโยคเปิดที่ประกอบด้วยตัวแปร “x”

        

    ตัวบ่งปริมาณ

              ตัวบ่งปริมาณ เป็นตัวระบุจำนวนสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ที่ทำให้ประโยคเปิดกลายเป็นประพจน์ ตัวบ่งปริมาณมี 2 ชนิด คือ

     

    1. ตัวบ่งปริมาณที่กล่าวถึง “สมาชิกทุกตัวในเอกภพสัมพัทธ์”

     ซึ่งเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ “∀” อ่านว่า”สำหรับสมาชิก x ทุกตัว”
     

    2. ตัวบ่งปริมาณที่กล่าวถึง “สมาชิกบางตัวในเอกภพสัมพัทธ์

     

    ซึ่งเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ “∃” อ่านว่า “สำหรับสมาชิก x บางตัว”

        

    ค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวบ่งปริมาณ

     

    1. ∀x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นจริง เมื่อ x ทุกตัวในเอกภพสัมพัทธ์ทำให้ P(x) เป็นจริง

     

    2. ∀x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ เมื่อมี x อย่างน้อย 1 ตัวที่ทำให้ P(x) เป็นเท็จ

     

    3. ∃x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นจริง เมื่อมี x อย่าน้อย 1 ตัวที่ทำให้ P(x) เป็นจริง

     

    4. ∃x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ เมื่อไม่มี x ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ที่ทำให้ P(x) เป็นจริง

        

    นิเสธของประพจน์ที่มีตัวบ่งปริมาณ

     ~∀x[P(x)]

    สมมูลกับ

    ∃x[~P(x)]
     ~∃x[P(x)]

    สมมูลกับ

    ∀x[~P(x)]
     ~∀x[~P(x)]

    สมมูลกับ

    ∃x[P(x)]
     ~∃x[~P(x)]

    สมมูลกับ

    ∀x[P(x)]
     ตัวอย่างเช่น  
     

    • ∀x[x < 0] เมื่อ  u = เซตของจำนวนเต็ม

     

    มีค่าความจริงเป็นเท็จ เพราะเมื่อแทน x เป็นจำนวนเต็มบวกและศูนย์ จะทำให้ x < 0 เป็นเท็จ

     

    • ∃x[x < 0]เมื่อ  u = เซตของจำนวนเต็ม

     

    มีค่าความจริงเป็นจริง เพราะเมื่อแทน x เป็นจำนวนเต็มลบ จะทำให้ x < 0 เป็นจริง


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×