ศิวาพรหม - ศิวาพรหม นิยาย ศิวาพรหม : Dek-D.com - Writer

    ศิวาพรหม

    ความจริงโลกคืออะไร หรือของชีวิตคืออะไร เป็นคำถามที่เคยบ้างล่ะที่ถามกับตัวเอง แล้วตัวเองเข้าใจชีวิตมากแค่ไหน

    ผู้เข้าชมรวม

    51

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    51

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักอื่น ๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 มี.ค. 58 / 16:38 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
     ตรีมูรติ




              ในคราวนั้นที่จะแสวงหาผู้มีสติปัญญาล้ำเลศก็ยากยิ่ง สิ่งอันเป็นอมฤตธรรมแม้เทวดาก็ยังยากที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ ลัทธิแห่งทางพ้นทุกข์หรือทางอันได้กลับไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าที่ผุดเกิดขึ้นอยู่ก่อนผู้รู้หลงทางเวียนวนอยู่มากมาย อคติปิดกั้นความรู้อันบริสุทธิ์ เหล่าสัตว์ทั้งหลายยังคงลำบากทุกข์ยาก

                ครั้งนั้นพราหมณ์ผู้หนึ่งมีชาติแห่งคนมักตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ เป็นปกติมายังที่นั้น ทูลถามถึงพราหมณ์และธรรมซึ่งทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงไร อนึ่ง ธรรมอะไรทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์? พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พราหมณ์ ผู้ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มีกิเลสย้อมจิตให้ติดแน่นดุจน้ำฝาด มีตนสำรวมแล้ว ถึงที่สุดจบเวท คือวิทยาทั้ง ๓ แล้ว มีพรหมจรรย์ได้อยู่เสร็จแล้ว ผู้นั้นไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกแม้หน่อยหนึ่ง ควรกล่าวถ้อยคำว่า ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม

                พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสมณะ และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นสมณะ ว่าเป็นพราหมณ์ และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา โดยโวหารพราหมณ์ ด้วยพระวาจานี้ คือคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือตัวว่าเป็นเหล่ากอสืบเนื่องมาแต่พรหม จึงได้นามว่าพราหมณ์ แปลว่าวงศ์พรหม พราหมณ์นั้นระวังชาติของตนไม่ให้ปนคละด้วยชาติอื่น แม้จะหาสามีภรรยาก็หาแต่พวกพราหมณ์เท่านั้น เพราะจะไม่ให้เจือปนด้วยชาติอื่น เขาถือว่าตัวเขาเป็น อุภโตสุชาติ เกิดแล้วดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาบิดาเป็น สังสุทธคหณี มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี แม้ชาติอื่นที่นับว่าต่ำกว่าชาติพราหมณ์ ก็นับถือพราหมณ์เหมือนคนนับถือพระพุทธศาสนานับถือสมณะ พราหมณ์นั้นมีวัตรเครื่องทรมานให้ลำบากโดยอาการต่างๆ เช่นกล่าวมาในหนหลังบ้างแล้ว เรียกว่าพรหมจรรย์ ผู้ใดประพฤติวัตรนั้น ชื่อว่าประพฤติพรหมจรรย์ และเขามีวิธีลอยบาป คือตั้งพิธีอย่างหนึ่งเป็นการประจำปีที่เรียกว่า ศิวาราตรีในพิธีนั้นเขาลงอาบน้ำในแม่น้ำสระเกล้าชำระกายให้หมดจด ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่

                พระองค์ดำริถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นของลึกยากที่บุคคลผู้ยินดีในอาลัยจะตรัสรู้ตามได้ แต่อาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์จึงพิจารณาดูว่า จะมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบด้วยพระปัญญาว่า บุคคลที่มีกิเลสน้อยเบาบางก็มี กิเลสหนาก็มี มีอินทรีย์คือศรัทธาความเพียรสติสมาธิปัญญากล้าก็มี มีอาการอันดีก็มี มีอาการอันชั่วก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี มีอธิบายเป็นคำเปรียบว่าในกออุบลหรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ ในดอกบัว ๓ อย่างนั้น ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้น คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบาน ณ วันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำนั้น จักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ยังตั้งอยู่ภายในน้ำนั้น จักบาน ณ วันต่อๆไป ดอกบัวที่จักบานมี ๓ อย่างฉันใด บุคคลที่สามารถจะรู้ธรรมพิเศษได้ ดีเป็น ๓ จำพวกฉันนั้น คือ อุคฆติตัญญู ๑ วิปจิตัญญู ๑ เนยยะ ๑ ในบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลผู้ใดมีอุปนิสัยสามารถจะรู้จักธรรมพิเศษได้โดยพลัน พร้อมกันกับเวลาที่ท่านผู้ศาสดาแสดงธรรมสั่งสอนบุคคลผู้นั้นชื่อว่าอุคฆติตัญญู บุคคลผู้ใดต่อทานแจกความแห่งคำที่ย่อให้พิสดารออกไป จึงจะตรัสรู้ธรรมพิเศษได้บุคคลผู้นั้นชื่อว่าวิปจิตัญญู บุคคลผู้ใดเมื่อพากเพียรจำอุทเทสถามความทำในใจโดยอุบายที่ชอบ คบสมาคมด้วยกัลยาณมิตร จึงจะตรัสรู้ธรรมพิเศษได้ บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเนยยะ ส่วนบุคคลผู้ใด แม้ฟังแล้วจำไว้ได้แล้ว ได้บอกกล่าวธรรมแก่ผู้อื่นเป็นอันมาก ก็ไม่อาจรู้ธรรมพิเศษได้ บุคคลผู้นั้นเป็นคนอาภัพ ควรเปรียบด้วยดอกบัวอันจักไม่บาน จักเป็นภักษาแห่งเต่าและปลาฉะนั้น

                โปรดฤษีปัญจวัคคีย์ เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ท่านทั้งหลายคอยฟังเถิดเราจักสั่งสอน เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามเราสั่งสอนไม่ช้าสักเท่าใด ก็จักบรรลุอมฤตธรรมนั้น

                เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเตือนฤษีปัญจวัคคีย์ให้คอยฟังพระองค์จะทรงสั่งสอนอย่างนี้แล้ว เธอกล่าวค้านลำเลิกเหตุในปางหลังว่า อาวุโสโคดม แม้แต่ด้วยความประพฤติอย่างนั้น ท่านยังไม่บรรลุธรรมพิเศษได้ บัดนี้ท่านมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมากแล้ว เหตุไฉนท่านจักบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือนฤษีปัญจวัคคีย์ พูดคัดค้านโต้ตอบกันอยู่อย่างนั้น ถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง พระองค์จึงตรัสเตือนให้เธอตามระลึกในหนหลังว่า  ท่านทั้งปวงจำได้หรือวาจาเช่นนี้เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้ ฤษีปัญจวัคคีย์นึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้ไม่เคยมีเลย จึงมีความสำคัญในอันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม ครั้นเธอตั้งใจคอยฟังโดยเคารพแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสธรรมเทศนาทีแรก ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ สอนฤษีปัญจวัคคีย์เหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ส่วนลามก ๒ อย่าง คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกามทั้งหลาย ซึ่งเป็นธรรมอันต่ำช้าเป็นเหตุที่จะให้ตั้งบ้านตั้งเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ซึ่งให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบไม่ทำผู้ประกอบให้ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง ส่วนลามก ๒ อย่างนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางไม่เข้าไปใกล้ส่วนลามกทั้ง ๒ นี้ เราได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาคือทำญาณเครื่องรอบรู้ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ก็ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น คือธรรมที่ควรแสวงหา มีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสอันนี้แล องค์ ๘ นั้นอย่างไรเล่า? ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ข้อปฏิบัติเป็นกลางนี้แล เราได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาคือทำญาณเครื่องรอบรู้เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นของจริงของอริยบุคคล คือทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความแห้งใจเป็นทุกข์ ความพิไรรำพัน ความบอบกาย....

                เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสธรรมเทศนาอยู่ ดวงตาอันเห็นธรรม ปราศจากธุลีมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่โกณฑัญญดาบสว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา พระองค์ทรงทราบว่าโกณฑัญญดาบส ได้เห็นธรรมแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญได้รู้แล้วหนอๆ เพราะอาศัยอุทานว่า อฺญญาสิๆ ที่เป็นภาษามคธ แปลว่าได้รู้แล้วๆ คำว่า อฺญญาโกณฺฑญโญ จึงได้เป็นชื่อของเธอตั้งแต่กาลนั้นมา

    เทพธิดา ณ เชียงใหม่

     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×