ประเพณีเข้าอินทขิล - ประเพณีเข้าอินทขิล นิยาย ประเพณีเข้าอินทขิล : Dek-D.com - Writer

    ประเพณีเข้าอินทขิล

    ประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่กษัตริย์ปกครองเมืองเชียงใหม่ จน ถึงปัจจุบันนี้

    ผู้เข้าชมรวม

    1,045

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    1.04K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 ม.ค. 54 / 22:19 น.

    แท็กนิยาย

    ประเพณี



    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

               
              

                   
        ตำนานเสาอินทขิล การสร้างเสาอินทขิลเริ่มจากชาวลัวะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เชิงดอยสุเทพ ได้ก่อตั้งชุมชนระดับเวียงหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่นเวียงเชษฐบุรี เวียงสวนดอก เวียงนพบุรี เมื่อตั้งเวียงนพบุรีได้ตั้งเสาอินทขิลขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง พร้อมกับมอบกุมภัณฑ์สองตนทำหน้าที่รักษาเวียงให้มั่นคง ตามคำแนะนำของฤาษี ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาเสาอินทขิลและเลี้ยงกุมภัณฑ์ หากปล่อยปละละเลยไม่บูชาบ้านเมืองจะวินาศ
      ส่วนเสาอินทขิลที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น มีบันทึกไว้ว่า
      พญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ทรงสร้าง           เสาอินทขิล เมื่อครั้งสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมืองหรือวัดอินทขิล กลางเวียงเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือหอประติโลกราช ข้างศาลากลางหลังเก่า) ครั้ง"พระเจ้ากาวิละ"ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะขึ้นใหม่เป็นเสาปูน พร้อมกับทำการบวงสรวงเป็นพระเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน


               ประเพณีเข้าอินทขิล คือ การทำพิธีสักการบูชาเสาหลักเมืองเสาอินทขิล นอกจากจะเป็นเสาหลักเมือแล้ว ยังนับได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่และยังเป็นที่สักการบูชา ถือว่าเป็นที่รวมของวิญญาณของคนเมืองเหนือและบรรพบุรุษ

           ชาวเชียงใหม่มีความเชื่อว่า เมื่อสักการบูชาเสาอินทขิลแล้ว บ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติและมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงเป็นประเพณีสักการบูชามาตราบกระทั่งทุกวันนี้

           สำหรับกำหนดงานพิธีบูชาเสาอินทขิลนี้ จะมีในช่วงวันที่ 30 พฤษภาคม - 7 มิถุนายน ของทุกปี ในวันประกอบพิธี พวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ และเด็ก ๆ จะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำขมิ้นส้มป่อย ใส่พานหรือภาชนะใส่ของที่เรียกว่า "สลุง" เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือสลุงไป "ทำการสระสรง" (สรงน้ำ) สักการบูชา ที่วัดเจดีย์หลวงในระหว่างการ "บูชาเสาอินทขิล" ชาวบ้านจะจัดให้มี ซอพื้นเมืองและมีช่างฟ้อนประเภท ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ เพื่อเป็นการสังเวยเทพยดาอารักษ์ "ผีเสื้อบ้าน" และ "ผีเสื้อเมือง" หรือที่ภาษาทางเหนือโบราณ เรียกกันว่า "เสื้อบ้าน  เสื้อเมือง"

       



      การใส่ขันดอกไม้บูชาเสาอินทขิลนี้มีถึง 28 พานใหญ่ นับว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และยังมีขันดอกไม้บูชาท้าวทั้งสี่ คือ
      ท้าวจตุโลกบาลอีก 1 ที่
      บูชารอบ ๆ เสาอินทขิล 8 แห่ง
      บูชาพระฤาษี 1 แห่ง
      บูชาตาปะขาวลั้วะ 1 แห่ง
      บูชาต้นไม้ยาง 1 แห่ง
      กุมภัณฑ์ 2 ตน ตนละแห่ง
      บูชาพระสังกัจจาย 2 แห่ง
      บูชาพระธาตุเจดีย์หลวง 1 แห่ง
               เสร็จจากใส่บาตรดอกไม้และบูชาดังกล่าวแล้ว ก็ไปสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า เพื่อขอบันดาลให้ฝนตกตลอดฤดู และบูชาพระอัฎฐารสภายในพระวิหารเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนและครอบครัว

           ในสมัยที่นครเชียงใหม่ยังมีเจ้าผู้ครองนครอยู่ ก่อนจะเร่มการประกอบพิธี "บูชาเสาอินทขิล" ก็มีคนของคณะกรรมการผู้จัดการนำเอาเข่งใบใหญ่หลาย ๆ ใบ ไปขอเรี่ยไรผัก ปลา อาหารจากบรรดาชาวบ้านทั่วไป ซึ่งทุก ๆ คนก็จะบริจาคทานให้ด้วยความเต็มใจ ข้าวปลาอาหารที่มีคนมาขอเรี่ยไรไปนั้น ก็เพื่อนำเอาไปปรุงเป็นอาหาร เพื่อนำไปเซ่นสังเวยเทพยดาอารักษ์ผู้รักษานครเชียงใหม่ และพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และกุมภัณฑ์ที่เฝ้ารักษาเสาอินทขิล

           ส่วนที่เหลือก็จะถูกนำเอาไปเลี้ยงบรรดาผู้ที่มาร่วมงาน บรรดาเครื่องเซ่นสังเวยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากอาหารที่เรี่ยไรเอามาจากบรรดาชาวบ้านแล้ว ก็ยังมีอาหารจำพวกเนื้อ สัตว์ซึ่งมีการฆ่าสังเวยเทพยดาอารักษ์ และเพื่อเป็นการสักการบูชาเสาอินทขิลเป็นตัว ๆ ซึ่งสัตว์ที่ถูกนำมาฆ่าสังเวย ได้แก่ เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย เป็นต้น

           นอกจากการบูชาอินทขิล พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และบรรดาอารักษ์ที่ปกปักรักษานครเชียงใหม่แล้ว ยังมีการอัญเชิญผีบ้าน ผีเมือง ซี่งมีชื่อเรียกว่า "เจ้าหลวงคำเขียว เจ้าหลวงคำแดง" ซึ่งเป็นอารักษ์ประจำเมือง มาเข้าทรงเพื่อประทับร่างทรงเสร็จแล้ว บรรดาพวกญาติวงศ์ของเจ้าผู้ครองนครจะถามถึงความเป็นอยู่ของบ้านเมืองว่า อยู่เย็นเป็นสุขหรือไม่ หรือมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่ ข้าวปลาธัญญาหารอุดมสมบูรณ์หรือไม่ อย่างไร

           คนทรงซึ่งเรียกกันว่า เป็นม้าขี่ของเจ้าพ่อ จะทำการพยากรณ์ให้ทราบ ฝ่ายเจ้าผู้ครองนครเมื่อได้ทราบว่า ชะตาบ้าน ชะตาเมือง ไม่สู้จะดีนัก ก็มีพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อแก้ไข เพื่อเป็นการขจัดหรือบรรเทาให้เหตุร้าย ๆ อันจะเกิดขึ้นตามคำทำนายให้ลดลง พิธีที่นิยมทำกันคือ "พิธีสืบชะตาเมือง" หมายถึง พิธีต่ออายุเมืองนั่นเอง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×