ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเรียนมวยไทย

    ลำดับตอนที่ #9 : มารยาทในการชกมวยไทย

    • อัปเดตล่าสุด 22 มี.ค. 54


    มารยาทในการชกมวยไทย

      1. เคารพในกฎกติกาการชกมวยไทยโดยเคร่งครัด
      2. เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ และคำตักเตือน ของผู้ตัดสินอย่างเคร่งครัด
      3. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สุภาพต่อคู่แข่งขัน หรือผู้ชม เช่น ถ่มน้ำลาย หรือตะโกนด่าผู้ชม
      4. ไม่แสดงปฏิกิริยาคัดค้านไม่พอใจในการตัดสินของผู้ตัดสินทุกกรณี เช่น ไม่ยอมลงจากเวที ทำร้ายร่างกายผู้ตัดสิน ด่าว่าผู้ตัดสิน
      5. ไม่พยายามซ้ำเติมคู่แข่งขันที่ด้อยกว่า ทั้งที่มีโอกาสกระทำได้ โดยไม่ผิดกติกา
      6. มีน้ำใจนักกีฬา เมื่อเห็นว่าคู่ต่อสู้ไม่มีทางสู้แล้วก็พยายามทำให้คู่ตู่สู้บอบช้ำอีกต่อไป
      7. ให้เกียรติและเคารพนักมวยรุ่นพี่ก่อนและหลังการต่อสู้ทุกครั้ง
      8. ตามประเพณีนิยม ก่อนการแข่งขันนักมวยต้องทำการไหว้ครู และต้องมีการร่ายรำตามศิลปะมวยไทย

     

    สิ่งที่ไม่ควรทำในการชกมวยไทย

    นักมวยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตัดสิน ฝ่าฝืนกระทำผิดโดยเจตนา โดยใช้เล่ห์กลต่าง ๆ ถือว่าเป็นการชกที่น่ารังเกียจและไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ผิดวิสัยของลูกผู้ชาย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้.-

      1. ใช้ศีรษะกระแทก กัด ควัก หรือกดลูกตา จิกผม ถ่มน้ำลายใส่คู่ต่อสู้
      2. ปล้ำโดยแกล้งล้มทับ กดศอกหรือเข่าซ้ำคู่ต่อสู้ขณะคู่ต่อสู้ลม หรือเหวี่ยงทุ่มในลักษณะของยูโดหรือมวยปล้ำ
      3. ล๊อคคอหรือแขนขา ขัดขา เกี่ยวขา ปัดขา หนุนขา หรือยกทุ่มคู่ต่อสู้
      4. จับ โหนพิงเชือกแล้วชก เตะ ถีบ ฯลฯ
      5. ซ้ำเติมคู่ต่อสู้ขณะล้ม
      6. แกล้งล้ม โดยเจตนาชกในลักษณะสมยอมเพื่อสินจ้างรางวัล
      7. แสดงกิริยาหรือกล่าววาจาไม่สุภาพขณะแข่งขัน
      8. ตีเข่าที่บริเวณกระจับคู่ต่อสู้
      9. ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลบหลีกการกระทำของคู่ต่อสู้โดยมิชอบ เช่น แกล้งล้มมุดออกนอกเชือก สอดขาออกนอกเชือกหรือหลบอยู่หลังผู้ตัดสิน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×