ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเรียนมวยไทย

    ลำดับตอนที่ #8 : กลวิธีของมวยไทย

    • อัปเดตล่าสุด 22 มี.ค. 54


    กลวิธีของมวยไทย

             มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีลักษณะเฉพาะมีกลไกการต่อสู้
    ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ผู้ฝึกหัดมวยไทยจะต้องมีความศรัทธาเชื่อถือและปฏิบัติตาม
    ธรรมเนียมประเพณีการชกมวยไทยเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้ฝึกสอนอย่างเคร่งครัดและ
    ต้องฝึกหัดทักษะพื้นฐานต่างๆ โดยต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความชำนาญดังนี้

    การกำหมัด

              การกำหมัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้หมัดมีน้ำหนักและออกหมัด
    ได้รวดเร็ว และถ้ากำหมัดไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดอันตราย เช่น มือ นิ้ว หรือ ข้อมือ
    อาจเคล็ดหรือหักได้การกำหมัดให้ถูกวิธีคือ

    1. กำนิ้วทั้งสี่ (ยกเว้นหัวแม่มือ) เข้ามาก่อน

    • ค่อย ๆ กำฝ่ามือให้แน่นแล้วพับนิ้วหัวแม่มือมาไว้ใกล้นิ้วชี้
    • ที่บริเวณด้านสันหมัดต้องให้นิ้วทั้งสี่ (ยกเว้นหัวแม่มือเรียงชิดติดกัน)
    • ขณะชกให้เกร็งข้อมือและในขณะเดียวกันให้กำมือให้แน่น

    การตั้งท่า

           การตั้งท่าของมวยไทยถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากมวยไทยอาศัยการ
    เตะเป็นอาวุธหลัก ดังนั้นถ้านักมวยไทยคนใดตั้งท่าและทรงตัวไม่ดีแล้ว ขณะยกขาขึ้นเตะอาจาจะเสียการทรงตัวได้ง่าย การตั้งท่ามีหลักการดังนี้.-

    1. เท้า ให้ยืนในลักษณะเท้านำ-เท้าตาม เท้านำหรือเท้าหน้าให้ปลายเท้าชี้ไป
      ข้างหน้า ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย ส่วนเท้าตามหรือเท้าหลังวางขวางกับเท้าหน้า
      เปิดส้นเท้าขึ้นเล็กน้อยเช่นก้นเท้าทั้งสองห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่
    2. เข่า เข่าทั้งสองค่อนข้างตึง
    3. ลำตัว ตั้งตรงน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าทั้งสอง ไม่พับหรือก้มตัว
    4. ใบหน้า สายตามองตรงไปที่บริเวณหน้าอกคู่ต่อสู้
    5. มือ ยกมือทั้งสองขึ้นค่อยข้างสูงบริเวณคอ ถ้าใช้เท้าขวาเป็นเท้านำมือขวา
      ก็ต้องอยู่ข้างหน้า และมือซ้ายอยู่ข้างหลังและถ้าใช้เท้าซ้ายนำให้ทำในลักษณะ
      ตรงข้ามกัน
    6. คาง เก็บคางให้อยู่ในร่องไหล่ทั้งสองข้าง โดยการยกไหล่ขึ้น

    การใช้อาวุธหมัด

               หมัดเป็นอาวุธมวยไทยที่สำคัญอย่างหนึ่ง สามารถชกหมัดได้หลายลักษณะ
    คือ หมัดตรง หมัดเหวี่ยงหรือหมัดสวิง หมัดเสย หรือหมัดสอยดาว

    1. การชกหมัดตรง แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

        1. หมัดตรงด้วยหมัดหน้า (หมัดแย๊ป) เป็นหมัดทีใช้แรงส่งจากหัวไหล่
          ขณะที่พุ่งหมัดออกไปให้บิดแขนเล็กน้อย โดยให้หมัดอยู่ในลักษณะ
          คว่ำหมัด แขนตึงและเกร็งแขน เมื่อหมัดถึงเป้าให้ดึงหมัดกลับมา
          ในทิศทางเดิม อย่าปล่อยแขนให้ห้อยลง ขณะชกหมัดต้องไม่ย่อมเข่า
          หรือก้มตัว ต้องพยายามยืดตัวให้สูงขึ้น

    1. หมัดตรงด้วยหมัดหลัง (หมัดตาม) เป็นหมัดที่มีความหนักหน่วง
      สามารถใช้พิชิตคู่ต่อสู้ได้ โดยปล่อยหมัดจากการกระแทกไหล่
      และ
      แขนไปข้างหน้า บิดแขนเล็กน้อยให้หมัดอยู่ในลักษณะคว่ำหมัดลง
      บิดลำตัวใช้แรงส่งจากลำตัวและสะโพกด้านที่ออกหมัดโน้มตัวส่งไป
      ข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมกับสะบัดสะโพกส่งตามไปข้างหน้า เมื่อหมัด
      ถึงเป้าหมายให้ชักหมัดกลับมาในทิศทางเดิม (ขณะชกหมัดต้อง
      ระมัดระวัง อย่าก้มตัวตามหมัดไปข้างหน้าเกินไป)

    การป้องกันหมัดตรง

    การป้องกันหมัดตรงมีหลายวิธีทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสหรือจังหวะที่ใช้

    1. การปัด ใช้เมื่อคู่ต่อสู้ชกหมัดตรง มาที่บริเวณหน้าสามารถ
    ใช้วิธีปัดด้วยมือหน้า หรือหมัดหน้าการปัดเมื่อคู่ชกมา เกือบถึงเป้าแล้วจึงค่อยปัด

    2. การปะทะ หรือบล๊อค โดยการยกแขนทั้งสองขึ้นบังบริเวณใบหน้าแล้วเกร็งแขนและคอ เพื่อปะทะหมัดคู่ต่อสู้ ต้องพยายามเก็บคางไม่ให้โดนหมัดเป็น
    อันขาด หรืออาจยกศอกหน้าขึ้นป้องกันก็ได้

    3. การโยกตัวหลบ เป็นวิธีป้องกันที่ทำได้ง่ายโดยการโยกตัวหลบ
    หรือผงะออกให้พ้นระยะหมัด การโยกนี้ใช้บริเวณเอวช่วยเมื่อ
    โยกพ้นแล้วจึงค่อยตอบโต้ด้วยอาวุธอื่น ๆ

    4. การย่อตัวหรือก้มต่ำ เป็นวิธีที่ต้องอาศัยความว่องไวในการย่อ
    ตัวหลบหมัดคู่ต่อสู้ให้ผ่านศีรษะไปขณะย่อหลบนั้นตาต้องมอง
    คู่ต่อสู้ตลอดเวลา


     

    1. การชกหมัดเหวี่ยงหรือหมัดสวิง

             เป็นหมัดที่ชกโดยใช้แรงเหวี่ยงส่งจากไหล่และลำตัวช่วยซึ่งจะเป็น
    การชกในบริเวณในบริเวณด้านข้าง มีเป้าหมายที่บริเวณกกหู ต้นคอ คาง
    ใบหน้า และบริเวณซี่โครง (ลำตัวด้านข้าง) ในขณะเหวี่ยงชกนั้นให้เกร็งหมัด และท่อนแขน

     


    การป้องกันการชกหมัดเหวี่ยง

    เนื่องจากหมัดนี้เป็นหมัดที่มาจากด้านข้าง ดังนั้นการป้องกันหมัดเหวี่ยง ที่บริเวณใบหน้าให้ยกแขนขึ้นรับ ถ้าเป็นบริเวณซี่โครงให้ลดแขนลงมา
    แนบลำตัว

     

    3 การชกหมัดเสย หรือหมัดสอยดาว หรือหมัดอัปเปอร์คัดเป็นหมัดที่ชกโดยมี
    ทิศทางของหมัดจากด้านล่างขึ้นบนโดยเปิดท่อนแขนหวายหมัดขึ้นเกร็งแขนและ
    กำหมัดให้แน่น ส่งหมัดด้วยแรงส่งจากเท้า บิดสะโพก และกระตุกไหล่ เป้าหมาย
    ของการชกอยู่ที่บริเวณปลายคางและลิ้นปี่   การชกจะทำได้ดีเมื่อใช้แรงส่งจาก
    เท้าหลังและกระตุกไหล่ในจังหวะที่สัมพันธ์กัน

     

     

    การป้องกันหมัดเสย

    เนื่องจากหมัดเสยเป็นหมัดที่มีวิถีการชกจากด้านล่างขึ้นด้านบน ฉะนั้นการป้องกันจึงอาจใช้วิธี

    1. ไขว้แขนรับ เพื่อบังคางและใบหน้า
    2. โยกตัวหลบ จะต้องทำอย่างรวดเร็ว และให้พ้นวิถีของหมัด

     

     

    การใช้อาวุธเท้า

               เท้าเป็นอาวุธมวยไทยที่เกือบจะเรียกว่าเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของ
    ศิลปะมวยไทยการใช้เท้ามี 2 ลักษณะคือ การถีบและการเตะ

    1. การถีบ การถีบเป็นอาวุธมวยไทยที่ใช้เท้าทั้งซ้ายและขวาถีบคู่ต่อสู้
    ทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก และเป็นการสกัดกั้นการบุกของคู่ต่อสู้ได้ วิถีการถีบ
    นั้นให้ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้เกือบขนาน หรือกับพื้น งอเข่าเล็กน้อย
    พร้อมกับเหยียดขาออกไปให้สุดจนขาตึง ใช้บริเวณปลายเท้า หรือฝ่าปะทะ
    เป้าหมาย โดยใช้แรง
    ส่งจากการพุ่งขาไปข้างหน้าด้วยสะโพกและเท้าหลัง
    เป้าหมายที่ใช้ถีบคือต้นขา หน้าท้อง หน้าอก และใบหน้าแล้วแต่จังหวะและ
    โอกาส
     

     

     

    การป้องกันการถีบ

      1. การปัด ใช้เมื่อคู่ต่อสู้ถีบมาให้ใช้มือหน้าปัดขา คู่ต่อสู้ออกไปด้านข้างให้พ้นจากเป้าหมาย
      2. การจับยก ในขณะที่คู่ต่อสู้ถีบมาให้ใช้มือ ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างจับขาคู่ต่อสู้พร้อม
        ยกขึ้นให้สูงพร้อมยกขึ้นให้สูงและจับทุ่มลง
      3. การหลบฉาก เมื่อคู่ต่อสู้ถีบมาให้ถ่ายน้ำหนัก
        ตัวหลบฉากออกไปข้างใดข้างหนึ่ง

         



         

      2.การเตะตรง หรือเตะผ่าหมากเป็นการเตะ
      ขึ้นตรงๆ โดยเตะขึ้นไประหว่างแขนทั้งสองจาก
      ท่าตั้งท่า เหวี่ยงขาขึ้นตรงๆปลายเท้างุ้มลำตัวเอนไป
      ข้างหน้าเล็กน้อย เป้าหมายของการเตะคือ
      ผู้เตะสามารถเตะได้ทั้งเท้านำและเท้าตาม
       

         

        การป้องกันการเตะตรง

      การเตะตรงเป็นการเตะจากด้านล่างขึ้นตรงๆ ดังนั้นวิธีป้องที่ง่ายที่สุดคือการผงะออกให้พ้นระยะเท้า

         

         

      3. การเตะเฉียง เป็นการเตะที่ใช้บริเวณหลังเท้าและหน้าแข้ง
      เตะคู่ต่อสู้ในลักษณะเหวี่ยงขาเฉียงขึ้นไป โดยใช้แรงส่งจาก เท้าสะโพกโดยปกติจะเอนลำตัวไปทางด้านตรงข้ามกับเท้าที่ใช้เตะ เมื่อเตะไปแล้วจะต้องยกมืออยู่ในท่าของการตั้งท่าด้วยเป้าหมาย
      ของการเตะคือ บริเวณซี่โครงหรือก้านคอหรือกราม

         

         

        การป้องกันการเตะเฉียง

      1. ปิดด้วยศอกใช้ท่อนแขนและข้อศอกแนบติดลำตัว หรือชายโครงบริเวณก้านคอและใบหน้าพร้อมกับ เกร็งแขนรับขณะสัมผัสกับการเตะของคู่ต่อสู้

      2. ถอยให้พ้นระยะ เป็นวิธีที่ ทำได้สะดวก
      และรวดเร็วโดยการก้าวถอยหลังให้พ้นระยะของเท้า

      3. การยกเข่าป้องกัน เป็นวิธสีที่นิยมมากทีสุด โดยยกเข่าบิดออกไปด้านข้างเล็กน้อยทางด้านข้าง ที่คู่ข้างที่คู่ต่อสู้เตะมาซึ่งอาจเป็นทางด้านซ้ายหรือ ด้านขวาก็ ได้                                                                                                                              

      4. ชิงชกเป็นการป้องกันและโต้ตอบการรุก ของคู่ต่อสู้ โดยอาจจะชิงชกด้วยขวาตรง หรือซ้ายตรงแล้วแต่ความถนัด
      ของนักมวย

     

     

    4.การเตะตัด

    คือการเตะที่ใช้บริเวณขาท่อนล่าง (หน้าแข่ง) เตะตัดบริเวณลำตัวคู่ต่อสู้ โดยขณะเตะให้พับเข่าเล็กน้อย ก้มตัวพร้อมกับเหวี่ยงเท้าไปหาคู่ต่อสู้ บิดลำตัวตามพร้อมกับใช้น้ำหนักตัวช่วยลักษณะของเท้าที่เหวี่ยงออกไปนั้น
    จะทำมุมในลักษณะขนานกับพื้น

     



    การป้องกันการเตะตัด

      1. ป้องกันโดยหันเข่าด้านตรงกันข้ามรับ
      2. โดยการชิงถีบก่อน คือการใช้เท้าใดเท้าหนึ่ง
        ถีบบริเวณหน้าขาหรือลำตัวคู่ต่อสู้

     

     

    5.การเตะกลับหลัง หรือจระเข้ฟาดหาง

    เป็นการเตะที่เตะคู่ต่อสู้ด้วยเตะตัด หรือเตะเฉียงและเท้าไม่ถูกเป้าหมาย
    จากนั้นให้หมุนตัวไปตามทิศทางของแรงเหวี่ยงของเท้า พร้อมกับ ยกเท้า
    หลังขึ้นใช้บริเวณส้นเท้าเหวี่ยงใส่คู่ต่อสู้เป้าหมายบริเวรก้านคอหรือใบหน้า

     

    การป้องกันการเตะกลับหลัง

      1. การโยกตัวหลบ คือการโยกตัว หรือการผงะออกให้พ้นระยะของการเตะ
      2. โดยการชิงถีบ ในขณะที่คู่เตะจระเข้ฟาดหางการชิงถีบที่ลำตัวหรือหน้าขา
        คู่ต่อสู้ได้
      3. การยกแขนขึ้นกันพร้อมกับเกร็งแขนรับ

     

     

    การใช้อาวุธเข่า

            เข่าเป็นอาวุธมวยไทยที่มีความหนักหน่วงอีกทางหนึ่งจะใช้ใน
    โอกาสประชิดตัวและต้องใช้ความแข็งแรงสามารถปล้ำฟัดเหนี่ยวคู่ต่อสู้
    ลงมาเพื่อตีเข่าได้ การตีเข่ามีอยู่ 4 วิธี คือ.-

    เข่าโหน ช้เมื่อประชิดคู่ต่อสู้ โดยพยายามโน้มคอคู่ต่อสู้ลงมา
    พร้อมกับยกเข่าขึ้นตีตรง ๆ ที่บริเวณหน้าท้อง หรือใบหน้าคู่ต่อสู้
    ในขณะตีนั้นให้งุ้มปลายเท้าด้วย

     

     

    การป้องกันเข่าโหน

      1. การผลักในขณะที่คู่ต่อสู้โหนตัวจะโน้มลงตีเข่า ให้สอดมือ และแขนทั้งสอง พร้อมกับก้มหัวและผลักคู่ต่อสู้ออกไป
        ให้เสียหลัก
      2. การกอดเอวคู่ต่อสู้ ในขณะที่คู่ต่อสู้จับคอ พยายามโหน
        จะตีเข่าให้ย่อเข่าลงและกอดเอวคู่ต่อสู้ให้แน่น
      3. การเหวี่ยงให้ล้มในขณะที่คู่ต่อสู้ยกเข่าขึ้น ให้หาจังหวะ
        เหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้ล้มลง

     

    2. เข่าตี หรือเข่าตัด ใช้ในลักษณะคล้ายกับเข่าโหน แต่เป็นการโน้มคอ
    คู่ต่อสู้ แล้วเหวี่ยงไปทางด้านข้าง ตีด้วยเข่าซ้ายหรือขวาแล้วแต่โอกาส โดยยกเข่าขึ้นเหวี่ยงให้เกือบขนานพื้นและบิดสะโพก เอี้ยวตัวไปทางซ้าย
    หรือขวา ตีเข่าที่บริเวณด้านข้างลำตัว

     

    การป้องกันเข่าตี

      1. ชิงตีก่อน เข่าตีเป็นเข่าที่คู่ต่อสู้ต้องโน้มตัว
        และเหวี่ยงเข่าเพื่อตีดังนั้นจึงให้หาจังหวะชิง
        ตีเข่าก่อน
      2. ป้องกันด้วยขา ในจังหวะที่คู่ต่อสู้เหวี่ยงเข่า
        เพื่อตี ให้บิดตัวและยกขาด้านในด้านหนึ่ง ยันบริเวณโคนเข่าของคู่ต่อสู้ด้านที่ใช้ตีไว้
        แล้วผลักให้คู่ต่อสู้ล้มลง

     

     

    3.เข่าลอย ใช้เมื่อคู่ต่อสู้เสียหลักให้ยกเท้านำแล้วกระโดดขึ้นให้สูง
    พร้อมยกเข่าไปข้างหน้า ก่อนที่เท้านำจะตกพื้นให้กระตุกเท้า
    ตามขึ้นเข่าในขณะที่ตัวกำลังลอยอยู่  เป้าหมายคือบริเวณหน้าอกหรือคาง

     

     

    การป้องกันเข่าลอย

      1. ฉากหลบ ในขณะที่คู่ต่อสู้กระโดดมาให้บิดตัวหลบฉากออก
        ให้พ้นระยะ
      2. ชิงถีบ เป็นการยกเท้าชิงถีบก่อนที่คู่ต่อสู้จะถึงตัว
      3. ฉากเตะ คือการฉากออกไปด้านซ้ายหรือขวาแล้ว
        โต้ตอบด้วยการเตะ

         

      1. เข่าลา หรือเข่าเตะ มีลักษณะครึ่งเข่าครึ่งเตะ โดยมากใช้หลังจากการเตะไม่ได้ผล แล้วพับเข่า กระแทกคู่ต่อสู้เป้าหมายคือคางและยอดอก

       




      การป้องกันเข่าลา

                ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับการใช้อาวุธเข่าต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ที่ได้ผลดีคือ การผงะหรือยกเข่าปะทะไว้ การป้องกันเข่าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเข่าโหน เข่าตี เข่าลอย และเข่าลาก็ตามการป้องกันนั้นไม่ จำเพาะเจาะจงว่าจะใช้แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะอาจประยุกต์การป้องกัน จากแบบหนึ่งไปใช้กับอีกแบบหนึ่งได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโอกาสและจังหวะ

     

     

    การใช้อาวุธศอก

    ศอกเป็นอาวุธที่มีอันตรายมาก แบ่งตามลักษณะการใช้ศอกออกเป็น 4 วิธีคือ.-

    1.ศอกตี เป็นศอกที่ตีลักษณะเฉียงลง โดยยกศอกตีขนานไปกับข้างหู พับแขนให้ปลายหมัดเข้าหาลำตัว เขย่งปลายเท้าหลังขึ้นแล้วทิ้งน้ำหนักตัว
    ลงข้างหน้าในลักษณะฟันเฉียงลง

     

     

    2.ศอกงัด ใช้สกัดกั้นการรุกของคู่ต่อสู้โดยย่อตัวลงพับศอกงัดขึ้นในขณะที่สืบเท้า
    ประชิดคู่ต่อสู้
    ใช้แรงส่งจากเท้าและเข่า

     

     

    3.ศอกตัด ใช้ได้ดีเมื่อคู่ต่อสู้บุกเข้าหา ให้พันศอกส่งแรงจากหัวไหล่แล้วบิดตวัดศอก
    ในลักษณะแนวขนานพื้น

     

     

    4.ศอกกลับ เป็นศอกที่เหวี่ยงตัวหมุนไปด้านหลังแล้วกระชากศอกกลับ
    ในขณะที่หมุนตัวไปได้ครึ่งวงกลม

     

    การป้องกันการใช้ศอก

                 อวัยวะที่สามารถป้องกันศอกได้ทุกลักษณะคือท่อนแขนโดยการปิดป้อง
      ยันหรือกอดคู่ต่อสู้ นอกจากนั้นยังมีวิธีป้องกันตามโอกาสต่าง ๆ กัน คือ

      1. ไม่พยายามเข้าประชิดวงใน
      2. สกัดด้วยอาวุธยาว เช่น ถีบ เตะ หมัด
      3. หากต้องเข้าประชิดตัว ก็ให้ปิดหน้าให้รัดกุม

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×