ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเรียนกระบี่กระบอง

    ลำดับตอนที่ #8 : ประวัติกระบี่กระบอง

    • อัปเดตล่าสุด 22 มี.ค. 54


    ประวัติกระบี่กระบอง ที่มาข้อมูล : ชมรมกระบี่กระบองโรงเรียนบดินทรเดชา



    คำปรารภของ อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา
     
    "อัน วิชากระบี่กระบองนี้ ข้าพเจ้ากล้าพูดได้อย่างเต็มปากโดยไม่มีความกระดากเลยแม่แต่น้อย ว่าเป็นกีฬาของไทยเราแท้ๆ เป็นน้ำพักน้ำแรงของบรรพบุรุษผู้เป็นนักรบที่กล้าหาญ ซึ่งได้ลงทุนลงแรงไว้ด้วยความเสียสละ อุตส่าห์บากบั่นหาทางที่จะอบรมให้มีเลือกเนิ้อเชิ้อชาติทหาร อันเป็นวีระกรรมประจำชาติของไทย ซึ่งมีมาแต่ไหนแต่ไร มิให้เสื่อมคลายหรือจืดจางลงไปได้ จึงได้อบรมสั่งสอนสืบเนื่องมาจนกระทั้งถึงพวกเราสมัยนี้ การที่ข้าพเจ้ากล้สยืนยันได้หนักแน่นขนาดนี้ ก็เพราะข้าพเจ้าไม่เคยเห็นกีฬาชนิดนี้ในต่างประเทศเลย จะเป็นทางตะวันตกหรือตะวันออกก็ตาม และถ้าเคยมีปรากฏในสมัยก่อนๆ มาบ้างแล้ว เชื่อแน่ว่าคงจะไม่สูญสิ้นพันธุ์เสียทีเดียว คงจะยังเหลือเป็นมรดกตกทอดเอาไว้ใหเแก่ชนชั้นหลังบ้างไม่มากก็น้อย แต่นี่ก็ไม่มีร่องรอยเอาเสียเลยจึงทำให้ภาคภูมิใจที่จะกล่าวได้ว่ากระบี่ กระบองของเราเป็นหนึ่งเดียวในโลก"
     
    กระบี่กระบอง จัดเป็นศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่มีความสำคัญอย่างสูงยิ่ง กระบี่กระบอง มีประวัติมายาวนาน ใช้ต่อสู้ปกบ้านป้องเมืองเรามาหลายครั้ง กษัตริย์ไทยในสมัยเก่าก่อนนั้น ก็ใช้ดาบ พลอง ง้าว ต่อสู้เพื่อป้องกันจากผู้รุกราณมากมาย จนปัจจุบัน กระบี่กระบองได้เป็นกีฬาไทยที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์เอาไว้เป็นอย่างมาก ยิ่งนับวันยิ่งหาดูได้ยากยิ่ง แต่ก็ยังมีหลายที่หลายสำนัก พยายามอนุรักษ์วิชากระบี่กระบองนี้เอาไว้ เพราะคนไทยปัจจุบันเห็นวิชากระบี่กระบองเป็นวิชาที่ดูโหดร้าย จึงไม่นิยมให้บุตรหลานมาเล่นกีฬากระบี่กระบอง จึงทำให้ค่อยหายไปจากคนไทยไป มีเพียงแค่การเรียนในหลักสูตรของมัธยมและมหาวิทยาลัยเท่านั้น

    ประวัติ กระบี่กระบอง
      
    เริ่ม ต้นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ ได้เคยเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยในอันที่จะ สั่งสอนในทางทฤษฎีเลย ฉะนั้น ศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้กันเสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทยเราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกันเป็นเวลานานมาแล้วด้วย เหมือนกัน หลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้นั้นคาดว่าคงมีแล้วในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสืออิเหนา ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า


    "เมื่อนั้น ท้าวหมันหยาปรีเปรมเกษมสันต์  
    เห็นอิเหนาเข้ามาบังคมคัล จึงปราศรัยไปพลันทันที
    ได้ยินระบือลือเล่า ว่าเจ้าชำนาญการกระบี่
    ท่าทางทำนองคล่องดี วันนี้จงรำให้น้าดู
    แล้วให้เสนากิดาหยัน จัดกันขึ้นตีทีละคู่  
    โล่ดั้งดาบเชลยมลายู จะได้ดูเล่นเป็นขวัญตา"


    ตามข้อความที่กล่าวนี้ย่อมจะชี้ให้เห็นว่า กระบี่กระบองคงเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนี้แล้ว

    ครั้น ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ท่านสุนทรภู่ได้แต่งเรื่องพระอภัยมณีกับศรีสุวรรณ สององค์พี่น้อง ทูลลาสมเด็จพระราชบิดาไปป่าเพื่อแสวงหาวิชาความรู้อันเป็นประเพณีนิยมจาก อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ซึ่งในที่สุดก็ได้พบเล่าเรียนกับอาจารย์ ผู้ซึ่งมีวิชาต่างกัน ดังปรากฏในข้อความตอนหนึ่งว่า


    "สิบห้าวันดั้นเดินในไพรสณฑ์ ถึงตำบลบ้านหนึ่งใหญ่หนักหนา
    เรียกว่าบ้านจันตคามพราหมณ์พฤฒา มีทิศาปาโมกข์อยู่สองคน  
    อาจารย์หนึ่งชำนาญในการปี่ ทั้งดีดสีแสนเสนาะเพราะหนักหนา  
    ผู้ใดฟังวังเวงในวิญญา เคลิ้มนิทราลืมกายดังวายปราณ
    "

    ต่อ มาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง และเมื่อปีขาล พุทธศักราช 2409 ซึ่งเป็นปีที่กำหนดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็น สามเณรตามราชประเพณี ครั้นเมื่อพระองค์ทรงผนวชแล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่งพระองค์อย่างราชกุมาร ทรงเล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายที่ทรงกระบี่กระบองในครั้งนั้นคือ


    คู่ที่ 1 กระบี่กระบอง  
    เจ้าฟ้าตุรนตรัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์)
    พระองค์เจ้ากัมลาศเลอสรร (กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร)  

    คู่ที่ 2 พลอง
    พระองค์เจ้าคัดนางยุคล (กรมหลวงพิชิตปรีชากร)
    พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ (กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์)  

    คู่ที่ 3 ง้าว  
    พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ (กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)
    พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม)  

    คู่ที่ 4 ดาบ 2 มือ  
    พระองค์เจ้าอุนากรรณอนันตนรชัย
    พระองค์เจ้าชุมพลรัชสมโภช (กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์)  



    การ เล่นกระบี่กระบองเริ่มฟักตัวเป็นการใหญ่ในแผ่นดินนี้เอง เพราะตามปกติ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดกีฬาอะไร กีฬาชนิดนั้นก็ย่อมเจริญและเฟื่องฟู ประชาชนพลเมืองก็หันหน้ามาเอาใจใส่ตามไปด้วย ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเล่นกันแพร่หลายในงานสมโภชต่าง ๆ เช่น งานโกนจุก งานบวชนาค งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า ฯลฯ

     
     เนื่องจากสมเด็จพระ เจ้าลูกยาเธอ ในรัชกาลที่ 4 ทรงเล่นกระบี่กระบองเป็นกันหลายพระองค์เช่นนี้ เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะทรงกีฬาชนิดนี้เป็นใน ครั้งนั้นด้วยพระองค์เองด้วยเหมือนกัน เพราะตามหลักฐานปรากฏว่า พระองค์ได้เคยทรงศึกษาวิชามวยและวิชากระบี่กระบอง ฟันดาบกับหลวงพลโยธานุโยค ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเล่นเป็นนี้เองในรัชกาลของพระองค์ พระองค์จึงได้โปรดฯ ให้มีการตีกระบี่กระบองและชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนืองๆ พระองค์เสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดงและแข่งขันบ่อยๆ ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากในกรุง และอาจจะดูได้หลายครั้งในปีหนึ่งๆ สมัยนี้เป็นสมัยที่นิยมชมชอบกันมากที่สุด จึงทำให้กระบี่กระบองมีอยู่ดาษดื่น และมีมากคณะด้วยกัน

    ครั้นถึง รัชสมัยรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองชักจะลดน้อยลงไป ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงฝักใฝ่ในวิชานาฎศิลป์ และทรงเข้าพระทัยในศิลปะของวิชากระบี่กระบองก็ตาม แต่ก็ไม่ทรงโปรดปรานมากเท่ากับพระราชบิดาของพระองค์ ถึงกระนั้น ก็ยังมีการจัดกีฬาชนิดนี้ขึ้นถวายเพื่อถวายทอดพระเนตรบ้างเป็นครั้งคราว เช่น ในปีพุทธศักราช 2460 กับ 2462 กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในงานกรีฑาประจำปี ได้จัดการแสดงกระบี่กระบองขึ้นถวายทอดพระเนตรที่สนามหน้าสามัคยาจารย์สมาคม ในการแสดงทั้งสองครั้งนี้ ท่านอาจารย์ นาคเทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้แสดงถวายทั้งสองครั้ง ครั้งแรกแสดงง้าว ครั้งหลังแสดงพลอง ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ กระบี่กระบองชักน้อยลงไป แต่มวยเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่น สมัยที่มีการแข่งขันเก็บเงินค่าผ่านประตู เพื่อซื้ออาวุธให้เสือป่าที่สนามสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นต้น รู้สึกว่าสนุกสนานและครึกครื้นยิ่งอยู่พักหนึ่ง ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองก็ค่อยๆ หมดไปจนเกือบจะหาดูไม่ค่อยได้

    ท่านอาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเป็นผู้ที่รัก ใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านได้แลเห็นต่างชาติเขาภูมิใจในศิลปะประจำชาติของ เขา เช่น ชาติเยอรมันและญี่ปุ่น เขายกย่องวิชาฟันดาบและวิชายูโดของเขาว่าเป็นเลิศ พยายามสงวนและเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่โลกมากเพียงใด ก็ยิ่งทำให้ท่านบูชาวิชากระบี่กระบองของไทยไว้เหนือสิ่งใด ๆ มากขึ้นเพียงนั้น ในโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้เริ่มลองสั่งสอนนักเรียนพลศึกษากลางขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 ทดลองสอนอยู่ 1 ปี ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ.2479 นับแต่นั้นมาได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นเป็นลำดับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×