ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเรียนกระบี่กระบอง

    ลำดับตอนที่ #7 : วิธีเล่น

    • อัปเดตล่าสุด 22 มี.ค. 54


    วิธีเล่น 

    การ แสดงกระบี่กระบองมีธรรมเนียมดีอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีดนตรีประกอบซึ่งจะมีปี่ชวา กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง) ตัวเมีย (เสียงต่ำ) และฉิ่งจับจังหวะ เพราะไทยเป็นชาติรักดนตรีการเล่นหรือแสดงเฉยๆ จะรู้สึกเงียบเหงาขาดรสชาติหาความสนุกสนานได้ยาก นอกจากดนตรีจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้น แล้วยังช่วยให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิมมีกำลังใจในการต่อสู้เท่ากับเป็น เครื่องเร้าอารมณ์ปลุกใจให้กล้าหาญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเสียงกลองจะเป็นเสมือนเสียงหนุนหรือยุให้ผู้เล่นคิดจะสู้เรื่อย ๆ ไปโดยไม่คิดจะถอย มีแต่จะบุกติดตามเข้าไปด้วยความทรหดอดทน อีกประการหนึ่งการรำอาวุธก่อนต่อสู้นั้นถือว่าเป็นการดูเชิงและเป็นการทำให้ กล้ามเนื้อตื่นตัวลดความตื่นเต้นนั้นถ้าขาดดนตรีเสียแล้วจะรำได้อย่างไร

     

         

     

     ใน การบรรเลงต้องให้เหมาะกับอาวุธแต่ละชนิด ตามลักษะของเพลงไพเราะเหมาะสม การแสดงแต่ละครั้งจะบรรเลงแยกเป็นสามตอน ตอนแรกก่อนเริ่มแสดงถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาว่าต้องแสดงความเคารพ ครูบาอาจารย์ที่เรียกว่า พิธีไหว้ครู ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าจะนำดอกไม้ธูปเทียนขึ้นสักการะบูชากระบี่กระบอง ผู้แสดง ซึ่งตนถือว่าเป็นศิษย์จะยืนห้อมล้อมด้วยความเคารพ ขณะนั้นปี่กลองจะบรรเลงเพลงชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำไปกว่าจะเสร็จสิ้นพิธีตอนที่สองเมื่อไหว้ครูเสร็จก่อนแสดง ต้องมีโหมโรงก่อน เพลงที่ใช้มีหลายเพลง เช่นเพลงสารถี เยี่ยมวิมาน แขกโอด แขกไทรหรือเพลงสองชั้นอื่นๆ ตอนที่สามบรรเลงเพลงเฉพาะอย่าง ตามความเหมาะสม สมกับการต่อสู้ของแต่ละประเภท เช่น ดาบสองมือใช้เพลงจำปาทองเทศขอมทรงเครื่อง กระบี่ใช้เพลงกระบี่ลีลา ง้าวใช้เพลงขึ้นมา พลองใช้เพลงลงสรงหรือขึ้นพลับพลาส่วนการต่อสู้กันเป็นพวก (สามบาน.) ใช้เพลงฝรั่งรำเท้าหรือกราวนอกเป็นต้น

     

         

     

    ใน การรำของกระบี่กระบอง มีอยู่สองชนิด คือ รำอยู่กับที่ (ขึ้นพรหม) และรำเดินไปเดินมา ถ้าเป็นการเล่นกันฉันมิตรผู้รำต่างรำไปข้างหน้าสวนทางกันและหันหลังกลับมา ที่เดิม เรียกว่า รำสองเที่ยว การรำไปข้างหน้ามีทั้งแบบเดินสลับฟันปลา ถ้าเป็นการเล่นแข่งขันเอาจริงจัง การรำจะเคลื่อนไปข้างหน้าแต่จะไม่ล่วงล้ำเข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ การร่ายรำก่อนต่อสู้จริงนั้น นอกจากจะเป็นการกระตุ้นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ตื่นตัวแล้ว ยังเป็นโอกาสให้

    ผู้แสดงทั้งสองได้ดูท่าทีของกันและกันก่อนว่าจะใช้ไหวพริบเอาชนะคู่ต่อสู้ได้อย่างไร

     

        

     ทันที ที่เสียงปี่กลองดังขึ้นใหม่คู่ต่อจะถวายบังคมอย่างรวดเร็วและคำนับครูอีก ครั้งหนึ่งแล้วจึงเริ่ม เดินแปลงคือเดินเข้าหากันเป็นอารัมภบทในการต่อสู้อย่างจริงจัง การเดินแปลงนี้เป็นที่เข้าใจกันดีในวงการกระบี่กระบองว่า ยังไม่ตีกันรุนแรง แต่จะตีกันเพียงประปรายเล็กน้อยเพื่อหากำไร ทำนองลองเชิงก่อน แล้วจากกันไปด้วยดี ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาดุจกติกาของกระบี่กระบองทีเดียว

     

        

     การ ตีกระบี่กระบอง แบ่งออกเป็นการตีท่าหลัก และการตีท่าพลิกแพลง การตีท่าหลักยังแบ่งออกเป็นการตีท่ารุก และท่ารับตามเทคนิคหรือวิธีการ

    พื้น ฐาน ส่วนการตีท่าพลิกแพลงนับเป็นการตีกันจริง ๆ การตีท่าหลักบางทีเรียกว่า เป็นการหัดตีท่าลูกไม้ จะต้องฝึกปรือให้แม่นยำคล่องตัวเสียก่อน

    จึง จะไปถึงขั้นท่าพลิกแพลงได้ ความมุ่งหมายในการต่อสู้ของกระบี่กระบองมีสองประการคือ มุ่งทำลายปรปักษ์ให้พ่ายแพ้ไป และมุ่งที่จะรับรองป้องกันตัวมิให้ฝ่ายปรปักษ์ทำอันตรายตนได้ 


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×