คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติมวยไทย
ประวัติมวยไทย
มวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านานไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเกิดขึ้น เมื่อใด มวยไทยถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทย ยากที่ผู้อื่นจะเลียนแบบได้โดยง่ายประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อน บ้านหลายประเทศมีการต่อสู้กันอยู่เนืองๆการฝึกมวยไทยจึงนิยมกันในหมู่ทหารใน การสู้รบคนไทยพยายามหาวิธีที่จะมิให้คู่ต่อสู้ประชิดติดตัวมากเกินไป จึงคิดศิลปะป้องกันตัวที่ใช้เท้าเป็นอาวุธ ผสมเข้ากับการต่อสู้ด้วยดาบ เมื่อคู่ต่อสู่เสียหลักเพราะถูกถีบหรือเตะจึงค่อยฟันด้วยดาบ ต่อมาก็ได้คิดฝึกการถีบและเตะให้เป็นศิลปะสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวเป็นศิลปะ มวยไทยสำหรับใช้แสดงในเทศกาลต่าง ๆ ได้ มีการตั้งสำนักฝึกมวยไทยขึ้นหลายสำนักและพัฒนาท่าต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ สำหรับต่อสู้ป้องกันตัวและสู้รบกับข้าศึก
โดยเหตุที่ชาติไทยต้องผ่านการต่อสู้เพื่อผดุงความเป็นขาติมาในประวัติศาสตร์อันยาวนาน คนไทยจึงมีนิสัยนักสู้ และศิลปะมวยไทยก็เป็นเครื่องสะท้อนนิสัยความนักสู้ของคนไทยได้อย่างชัดเจน
ในนิทานพื้นเมืองอยุธยา ก็มีเรื่องราวเล่าเกี่ยวกับมวยไทย ในนิทานพื้นบ้านเรื่องศรีธนญชัย ซึ่งมีปฏิภาณเป็นเลิศ ครั้งหนึ่งได้มีชายฉกรรจ์ร่างกายแข้งแรงสมบูรณ์เข้ามาขอท้าชกมวยไทยกับอาสาสมัครของพระเจ้าแผ่นดินไทย ศรีธนญชัยเจ้าปัญญาได้ ขออาสาพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา จะทำการต่อสู้กับนักมวยที่ขอท้าชิงให้ได้ชัยชนะให้จงได้ โดยศรีธนญชัยได้จัดให้มีชายฉกรรจ์ที่ร่างสูงใหญ่มาแต่งตัวเป็นทารกให้นอนในเปลแล้วป่าวร้องให้คนมาดู นักมวยผู้ท้าชิงก็มาดูด้วย ศรีธนญชัยได้ส่งรนของตนปะปนไปกับนักมวยที่ท้าชิงแล้วออกข่าวว่า ทารกที่นอนเปลคือ นักมวยไทย ขณะนี้เป็นทารกอยู่ ชายผู้ท้าชิงตกใจเร่งหนีออกจากเมืองไป เพราะคิดว่าขนาดยังเป็นทากยังตัวใหญ่อย่างนี้ ถ้าโตขึ้นคงเป็นนักมวยยักษ์เป็นแน่
นักมวยไทยชื่อดังอีกคนหนึ่ง คือ พระยาพิชัยดาบหักในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศก่อนกรุงแตกมีคนไทยวัยหนุ่มชื่อ นายทองดี ฟันขาว เป็นผู้สนใจมวยไทย ได้เที่ยวฝึกมวยจากสำนักต่าง ๆ และแสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงโด่งดัง ในที่สุดได้ฝากตัวอยู่กับพระยาตาก ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นายทองดี ฟันขาว เป็นนักมวยไทยคนแรกที่นำเอาศิลปะมวยไทยผสมมวยจีนใช้ต่อสู้ ต่อมาได้เป็นหลวงพิชัยอาสาจมื่นไวยวรนารถ พระยาสีหราชเดโช ท่านนับว่าเป็นทหารเอกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสงครามกู้ชาติเป็นหน่วยกล้าตาย นำทัพลุยสู้ศึกจนดาบหักคามือ และรบต่อไปจนพม่าแตกพ่าย จนได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”
"คนไทยตัวเล็กแต่มีพิษร้ายรอบตัว หากมีเจ้านายดีที่ไหนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่เราได้" วันที่นายขนมต้มมีชัยชนะกีฬามวยกับพม่า ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม จึงถือว่าเป็นเกียรติประวัติของนักมวยไทย
ใน สมัยกรุงธนบุรีการฝึกมวยไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการสงครามโดยเฉพาะ เพราะเป็นยุคกู้ชาติและฟื้นฟูบ้านเมืองการฝึกมวยไทยในสมัยกรุงธนบุรีมีจุด มุ่งหมายเพื่อราชการทหารมีการฝึกหัดตามสำนักและตามบ้านในพระราชวัง และมีการแข่งขันกันมากในเทศกาล มีการชกแบบคาดเชือกคล้ายสมัยอยุธยาเหตุการณ์ที่เล่าขานเกี่ยวกับมวยไทยต้น สมัยรัตนโกสินทร์มีอีกเรื่อง คือ เมื่อ พ.ศ. 2331 มีเรือกำปั่นฝรั่งเศสเข้ามาถึงพระนคร มีฝรั่งสองพี่น้องเป็นนายกำปั่น คนน้องเป็นนักมวยมีฝีมือเที่ยวพนันชกชนะมาหลายครั้งแล้ว ได้เข้ามาท้าชกและได้มีการจัดให้ชกหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพรหะพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระอนุชาธิราช คือ พระบวรราชเจ้าพระสุรสิงหนาท นักมวยไทย คือ หมื่นผลาญ ในขณะที่ชกนักมวยไทยหลบหลีกไม่ให้ฝรั่งคู่ชกทำร้าย ฝรั่งผู้พี่ไม่พอใจลงมาช่วยผลักนักมวยไทยไม่ให้หนี สมเด็จพระอนุชาธิราชเห็นความไม่ชอบมาพากล จึงลงมาจากพลับพลา ยกพระบาทถีบล้มลง ชกอีกไม่ได้บ่าวไพร่ฝรั่งเข้ามาช่วยพาออกไป เมื่อเยียวยาวแล้วฝรั่งสองพี่น้องและพวกรับให้ล่ามมากราบเรียนพระยาพระคลัง ให้ช่วยกราบถวายบังคมลา แล้วรับแล่นเรือออกจากพระนครไป มวยไทยจึงเป็นที่เลื่องลือและเป็นที่คร้ามเกรงกันไปในนานาประเทศตั้งแต่นั้น มา
ความคิดเห็น