ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมาคมนัก(หัด)เขียน >W<

    ลำดับตอนที่ #4 : [รู้จักตนเอง] คุณสมบัติการเป็นนักเขียน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 73
      1
      11 พ.ค. 55

     


     







    +++ Admin Rin talk +++

    ลองประเดิมด้วยนี่ก่อน คุณสมบัติการเป็นนักเขียน เชื่อว่าหลายๆอาจจะยังไม่รู้ที หรือไม่ก็คิดว่าตัวเองมีครบ แน่ใจเหรอ? เอาล่ะเราลองมาอ่านนี่ก่อน รับรองพวกเราจะเข้าใจเกี่ยวกับ นักเขียน และ การเขียนนิยาย มากขึ้น

    Credit : ไม่ชัวร์ว่าใคร(เห็นมีชื่อว่าแคนนี่โผล่มา) แต่เราเอามาจาก

     http://writer.dek-d.com/natami/story/viewlongc.php?id=615801&chapter=13

    ....

    แก้ไขนิดนึง

    Credit: 
    KennyHass

    (หาเครดิตเจอแล้ววุ้ย) 


      


    คุณสมบัติการเป็นนักเขียน


     

    มีคำถามพลั่งพลูออกมามากมาย อาจจะรวมถึงพวกคุณหรือเพื่อนๆในห้องเรียนนี้ก็ได้ แต่คำถามที่ถามกันบ่อยมากที่สุดก็คือ อยากเป็นนักเขียน ต้องทำอย่างไร?” ถ้าจะให้ตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ “เริ่มเขียนเสียแต่ตอนนี้ นั่นเป็นคำตอบที่ถูกต้องครับ แต่มันก็ยังไม่ใช่คำตอบทั้งหมดเสียทีเดียว การจะเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้น พวกคุณจะต้องค้นหาตัวเองก่อนว่าตัวเองมีคุณสมบัติเพียงพอหรือไม่ ซึ่งคุณสมบัติของการเป็นนักเขียนที่ดีมันมีดังนี้ครับ

     

    1. มีจินตนาการ : นัก เขียนจะต้องทำงานอยู่กับความคิดของตัวเองและร่ายออกมาเป็นตัวอักษรให้คน อื่นๆเข้าใจ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก เพราะจินตนาการเป็นเสมือนพรสวรรค์ขั้นที่หนึ่ง รองลงมาคือทักษะในการเขียน ไม่ต่างจากงานศิลปะ ถ้าผู้เขียนขาดจินตนาการ ก็จะมองไม่เห็นภาพของเนื้อเรื่อง พอมองไม่เห็นภาพ ก็จะถ่ายทอดออกมาได้ไม่ดี สุดท้ายคนอ่านก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ

     

     

    2. มีความอดทน : การ เขียนนิยาย ใช่ว่าเขียนแค่เดือนสองเดือนก็เสร็จ บางเรื่องใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะเสร็จ เหตุผลที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานขนาดนี้ก็เพราะต้องใช้เวลาในการตรวจทานและ แก้ไข ซึ่งน้อยมากๆถึงมากที่จะมีคนที่เขียนแล้วไม่ต้องกลับมานั่งแก้

     

    คุณเคนนี่คะ แต่ใครๆก็อยากจะเขียนนิยายให้เสร็จเร็วๆ เพื่อที่จะได้เอาไปให้คนอื่นอ่านต่อไวๆไม่ใช่เหรอคะ?”

     

    ตรง นี้แหล่ะครับคือปัญหาของนักเขียนมือใหม่ ซึ่งมักจะขาดคุณสมบัตินี้เกือบจะทุกคน เมื่อพยายามเร่งเขียนให้จบเรื่องหรือจบตอน ก็จะขาดในเรื่องของของการตรวจทานแก้คำผิด ซึ่งทำให้นิยายของคนนั้นดูไม่มีคุณภาพ ต้องขอบอกไว้เลยว่า ใครที่ยังติดนิสัยแบบนี้อยู่ ให้รีบแก้ไขตัวเองได้แล้ว น้อยคนนักที่จะเขียนครั้งเดียวแล้วออกมาดูดี ไม่ต้องแก้เลย ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับพวกคุณที่พึ่งจะเริ่มเขียนนิยายได้ไม่นาน

     

     

    3. มีความรับผิดชอบ : นัก เขียนเป็นงานที่ต้องทำกับตัวหนังสือและจินตนาการ บางครั้งการทำงานก็สนุกจนลืมกินข้าวกินปลา แต่บางทีก็น่าเบื่อจนอยากจะเลิกเขียนแล้วไปทำอย่างอื่น แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ ต้องรู้จักแบ่งเวลาระหว่างงานเขียนและกิจกรรมประจำวัน เช่น เรียนหนังสือ ช่วยงานบ้าน ทำการบ้าน หรือแม้แต่เวลาไปมีกุ๊กกิ๊กกับแฟน เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนกับงานทั้งสองด้าน

     

    อ้าว? แต่คุณบอกว่างานเขียนต้องใช้ความอดทนมากไม่ใช่เหรอคะ? ถ้าต้องให้แบ่งเวลาแล้วเมื่อไหร่จะเขียนเสร็จล่ะคะ?”

     

    ท่าทางคุณจะยึดติดกับการทำให้เสร็จเร็วๆจังเลยนะครับ... จะช้าหรือเร็วมันไม่สำคัญหรอก  แต่ อย่าลืมสิว่า คุณยังมีสถานภาพเป็นนักเรียนอยู่ ควรจะทุ่มเทให้กับการเรียนให้มาก การเขียนนิยายสำหรับคุณในตอนนี้ยังเป็นได้แค่งานอดิเรกเท่านั้น ไม่ได้จะพูดกีดกัน แต่จะบอกให้ฟังว่า ถ้าคุณจะยึดอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพหลักเลยนั้น คุณเตรียมใจที่จะต้องอดมื้อกินมื้อได้เลย เพราะงานเขียนมันไม่ใช่งานที่จีรังยั่งยืนซะทีเดียว ถ้าคุณไม่เก๋าจริง คุณไม่สามารถยืนอยู่บนเส้นด้ายแห่งวงการนักเขียนได้นานนักหรอก แม้แต่เจ.เค.โรลลิ่ง คนเขียนเรื่อง “แฮรี่พ็อตเตอร์” ยังต้องมีอาชีพเป็นครูสอนหนังสือ หรือแม้แต่แร็บบิท คนเขียนเรื่อง “หัวขโมยแห่งบารามอส” ที่พวกคุณคลั่งไคล้ก็ยังต้องมีอาชีพประจำของเขาเพื่อยังชีพเช่นเดียวกัน

     

    ชีวิต นักเขียนช่างแสนอาภัพมาก เพราะต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม และอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ถ้าคุณไม่โผล่หัวไปทำกิจกรรมอย่างอื่น รับรองได้เลย ถ้าไม่เป็นเอ๋อไปซะก่อน ก็คงจะกลายเป็นบุคคลที่โลกลืมอย่าง “คราก เค้นท์” อย่างแน่นอน

     

     

    4. ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา : ไม่ ว่าคุณจะมีพล็อตเรื่องดีแค่ไหน แต่หากขาดความรู้ที่จะนำมาใช้เขียนอ้างอิงประกอบ มันก็ไม่ต่างจากการสร้างบ้านโดยขาดการวัดสเกลนั่นเอง ดังนั้น สิ่งที่คุณควรจะทำก็คือ ควรจะศึกษาหาข้อมูลที่จำเป็นต่อเรื่องที่คุณจะเขียนให้มากที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ เช่น ถ้าคุณต้องการจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับนางสนมในพระราชวัง ก็ต้องไปหาสารคดีหรือบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวในพระราชวังมาอ่าน หรือถ้าคุณอยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับนางเอกที่เป็นแม่ครัว ก็ต้องไปหาตำราทำอาหารหรือดูทีวีที่มีรายการเกี่ยวกับทำอาหารมาดูอ้างอิง เป็นต้น

     

    แล้วถ้าจะเขียนเรื่องรักหวานแหววล่ะคะ? ต้องไปหาข้อมูลมาจากไหน?”

     

    อัน นี้พวกคุณน่าจะรู้กันดีอยู่แล้วล่ะมั้ง? เผลอๆน่าจะรู้ดีกว่าผมเสียด้วยซ้ำไป แต่ถ้าอยากจะได้ข้อมูลมากกว่านี้ก็ต้องไปศึกษาจากเรื่องเล่าของคนที่เคย( และ)มีความรัก ประกอบกับอ่านหนังสือพวกบทกวี บทความจากนิตยสารที่มีข้อคิดและปรัชญาเกี่ยวกับความรัก จะช่วยให้คุณมีทัศนคติเกี่ยวกับความรักเป็นของตัวเอง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนนิยายมากทีเดียว

     

    แล้วถ้าผมอยากจะศึกษาเกี่ยวกับสำนวนถ้อยคำภาษาที่ใช้ในการเขียน ผมจะไปหาข้อมูลจากไหนได้บ้างครับ?”

     

    เป็น คำถามที่ดีมากครับ สำหรับโวหารนั้น ผมอยากจะให้พวกคุณได้ลองไปศึกษานิยายของคนอื่น โดยเฉพาะนิยายที่ขึ้นชื่อว่าภาษาสวยงาม สำนวนดี ขอให้อ่านมากๆ ยิ่งคุณอ่านมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีคำศัพท์ดีๆอยู่ในคลังสมองไว้เขียนมากขึ้น ซึ่งผมเองก็จะพยายามอ่านนิยายให้มากขึ้นเหมือนกัน เพราะส่วนตัวผมแล้วผมไม่ค่อยอ่านนิยายทนสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะนิยายที่ใช้ศัพท์สูง ซึ่งนั่นทำให้นิยายของผมไม่ค่อยเด่นในเรื่องของภาษาเท่าไหร่นัก

     

    5. เปิดใจยอมรับความคิดเห็นจากคนอื่นๆ : บาง ครั้งผู้เขียนอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่า นิยายของตนนั้นมีจุดเด่นหรือจุดด้อยตรงไหน ด้วยเหตุนี้ พวกคุณจึงต้องยอมรับในคำวิจารณ์ของผู้อ่าน แม้ว่ามันจะรุนแรงไปก็ตาม แต่ถ้านั่นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานิยายเรื่องต่อไป มันก็คุ้มแล้วที่จะยอมให้คนสับแหลก ดังนั้น ผู้เขียนจึงต้องยอมอดทน และยอมรับในทัศนคติเกี่ยวกับนิยายของที่มีต่อผู้อื่น 

     

    แล้วเราควรจะให้ใครเป็นผู้วิจารณ์นิยายของเราล่ะคะ?”

     

    จะ เป็นคนใกล้ตัวก็ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ก็ได้หมด แต่ผมอยากจะแนะนำว่า ควรจะหาผู้วิจารณ์ที่ไม่สนิทชิดเชื้อจนเกินไป โดยเฉพาะพ่อแม่ เนื่องจากความสนิทนี่แหล่ะ ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถวิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ เพราะพวกเขาเข้าใจว่าถ้าไปวิจารณ์ในจุดด้อย กลัวจะทำให้คุณเสียความรู้สึก แนะนำว่าควรจะเอานิยายไปโพสลงอินเตอร์เน็ตหรือไม่ก็ลองเอาไปให้อาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยได้ลองอ่านดู น่าจะช่วยพวกคุณได้




      

     

    เป็นไงบ้างเอ่ย? อ่านมาถึงนี้แล้วมีลูกศรปักแทงใจดำกี่ดอกกันแล้วเอ่ย? (ของเราเยอะมากแต่ละข้อนี่โดนไปเต็มๆ) อ่านมาแล้วก็ลองไปพัฒนากันดูนะ

     

    ปล. ไอ้บรรทัดสุดท้ายที่ว่าให้อาจารย์ภาษาไทยอ่านน่ะ ใครกล้าบ้างยกมือหน่อย =_=;;; (แค่เอาให้เพื่อนสนิทอ่านก็อายจนจะเอาหัวมุดแผ่นดินหนีไปดาวอังคารได้อยู่แล้ว นับประสาอะไรกับอาจารย์ภาษาไทย(นึกหน้าอาจารย์คนนั้นไว้)กันล่ะ)

     

    ปล.2 (เพิ่งนึกได้) เออเนอะ...แค่เราเอานิยายที่เราแต่ง(เขียนเขี่ยๆตามประสาไก่ญาติห่างๆของซิมซีมิ(?)ลงในสมุด)ไปให้เพื่อนอ่านยังอายซะขนาดนั้น แต่เรากลับเอามาลงเด็กดีให้ประชาชาติทั่วอาณาจักรได้ประจักษ์กันได้โดยไม่อาย (ไม่ได้หลอกด่านะ เพราะเราก็เป็น = =;;;) อืม...น่าแปลกจริงๆ... เพื่อนๆคิดว่าไงกันบ้าง?



        


     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×