ดาวพลูโต - นิยาย ดาวพลูโต : Dek-D.com - Writer
×

    ดาวพลูโต

    เป็นการบันทึกโฉมหน้าใหม่ทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับดวงดาราบนท้องฟ้าในระบบสุริยจักรวาล น่าสนใจดีค่ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,277

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    12

    ผู้เข้าชมรวม


    1.27K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    2
    จำนวนตอน :  7 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  27 ส.ค. 49 / 09:58 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    สถาบันดาราศาสตร์เตรียมแถลงแพร่ข้อมูลลดชั้น พลูโต สัปดาห์หน้า
    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2549 13:58 น.

    ทันทีที่มติในที่ประชุมไอเอยูออกมา ทั่วโลกก็ต้องปรับเปลี่ยนความหมายของดาวเคราะห์กันใหม่หมด ทั้งหนังสือ ตำรา และตามนิทรรศการต่างๆ

    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

    ผู้เข้าประชุมในสมัชชาดาราศาศาสตร์สากลจะได้บัตรลงคะแนนสีเหลืองคนละ 1 ใบ เพื่อยกโหวตในหัวข้อต่างๆ


           ผอ.สถาบันดาราศาสตร์เผยเตรียมแถลงสัปดาห์หน้าถึงข้อมูลการจัดนิยามวัตถุบนท้องฟ้าใหม่ตามหลักสากล รวมถึงแนวทางการเผยแพร่ความรู้ใหม่ ทั้งระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์เหลือเพียง 8 ดวง พลูโต ที่หลุดออกจากชั้นและดาวอื่นๆ ที่ถูกจัดนิยามใหม่
           
           การประชุมของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Union's : IAU) ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเชกเพิ่งปิดฉากลงไปเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) พร้อมกับผลงานสะท้านวงการดาราศาสตร์ นั่นก็คือการตัดพลูโตออกจากความเป็น ดาวเคราะห์ และจัดให้ไปอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระแทน ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีสมาชิกไอเอยูจาก 75 ประเทศเข้าร่วม รวมถึงประเทศไทยด้วย
           
           รศ.บุญรักษา สุนทธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สวดช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ซึ่งเป็นผู้แทนไทยเดินทางร่วมประชุม เปิดเผยว่า ก่อนจะมีการตัดสินถึงสถานภาพของพลูโต ที่ประชุมมีคณะกรรมการนิยามดาวเคราะห์ (Planet Definition Committee : PDC) ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์ นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ ทั้งหมด 7 คน นำข้อสรุปคำว่า "ดาวเคราะห์" เสนอต่อที่ประชุมให้สมาชิกได้โหวต
           
           นิยามดาวเคราะห์ที่ลงมติเห็นด้วยนั้น คือต้องมีทรงกลม มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรสอดคล้องกับดาวเคราะห์อื่น ซึ่งถ้ามีวัตถุที่ใหญ่กว่าดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ ก็เข้าข่ายเป็นดาวเคราะห์ แต่ไม่น่าจะมีการค้นพบวัตถุที่ใหญ่ขนาดนั้นเพิ่มอีกแล้ว รศ.บุญรักษาอธิบาย และเมื่อนิยามความหมายของดาวเคราะห์ชัดเจนแล้ว ที่ประชุมจึงโหวตตัดสินว่าพลูโตไม่เข้าข่ายดาวเคราะห์
           
           เพราะพลูโตมีขนาดเล็ก ลักษณะการเป็นดาวเคราะห์ไม่ชัดเจน มีวงโคจรไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์อื่นๆ ที่ประชุมจึงโหวตให้อยู่ในประเภทของดาวเคราะห์แคระ ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ กล่าวและว่านอกจากนี้ยังมีการเสนอให้เรียก พลูโต ว่าเป็นดาวประเภท พลูตอน (pluton) ซึ่งก็มีการถกเถียงกันอยู่ แต่ที่ฝรั่งเศสก็เรียกดาวที่ค้นพบว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ว่าพลูตอนกันอยู่แล้ว นิยาม พลูตอน ให้กับพลูโตจึงตกไป
           
           รศ.บุญรักษาเล่าอีกว่า ท้ายที่สุดที่ประชุมได้ลงมติกำหนดนิยามวัตถุบนท้องฟ้าออกเป็น 3 ระดับคือ ดาวเคราะห์ (planets) ซึ่งก็คือ 8 ดวง (พุธ, ศุกร์, โลก, อังคาร, พฤหัส, เสาร์, ยูเรนัส และเนปจูน) อีกระดับลงมาคือ ดาวเคราะห์แคระ (dwarf planets) ที่มีขนาดเล็กกว่าดาวพุธ อย่างพลูโต และประเภทสุดท้ายคือ "วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ" (Small Solar System Bodies)
           
           ซีเรส (Ceres) ที่เคยเป็นดาวเคราะห์น้อย ก็จัดให้เป็นดาวเคราะห์แคระด้วย และต่อไปจะยกเลิกคำว่า ดาวเคราะห์น้อย (minor planets) ส่วนซีนา (2003 UB313) เซ็ดนา (2003 VB12) รวมถึงชารอน (Charon) จันทร์บริวารของพลูโตยังไม่มีการกำหนดประเภทชัดเจน ต้องมีการประชุมพิจารณากันต่อไป โดยเฉพาะชารอนต้องพิสูจน์ว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์หรือโคจรรอบพลูโตกันแน่ รศ.บุญรักษาอธิบาย
           
           ในวันสุดท้ายของการประชุมนั้น คือการโหวตรับหรือไม่รับในหัวข้อต่างๆ โดย ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์เล่าบรรยากาศในการโหวตว่า ผู้เข้าประชุมจะได้รับกระดาษสีเหลืองคนละใบเพื่อยกแสดงความเห็นด้วยในหัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนิยามดาวเคราะห์ รวมถึงสถานภาพของพลูโต
           
           ก่อนหน้านี้ก็มีการเก็งกันว่าน่าจะมีดาวเคราะห์มากกว่า 12 ดวงตามที่เป็นข่าว แต่ไม่มีการโหวตตกลงกันแต่อย่างใด รศ.บุญรักษากล่าว พร้อมที่ชี้ว่าการประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางจักรวาลครั้งใหญ่
           
           การประชุมสมัชชาดาราศาสตร์สากลนั้นจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 3 ปี ในส่วนของประเทศไทยมีผู้แทนเข้าร่วม 4 คน ซึ่งไทยเป็นสมาชิกไอเอยูอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมปีนี้พอดี ทำให้ผู้แทนจากไทย ได้เข้าร่วมนำเสนอผลการศึกษาวิจัย และมีร่วมโหวตตัดสินชะตาดาวพลูโตครั้งนี้ด้วย
           
           อย่างไรก็ดี ในส่วนการเผยแพร่นิยามใหม่ของดาวพลูโตและวัตถุบนท้องฟ้านั้น สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ และ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะแถลงรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า

    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น